สำหรับข่าวคราวในแวดวงการศึกษาบ้านเราช่วงนี้ ประเด็นร้อยก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ใช่มั้ยล่ะ ซึ่งวันนี้ทาง SchlarShip.in.th ก็อยากนำเสนอเรื่องนี้กันซักหน่อยเพราะเกี่ยวกับทุนเหมือนกัน
มีสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยก็ว่าได้ กล่าวคือ ทาง กยศ. ได้ให้เงินกู้ยืม 4,500,000 ราย มีผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 3,000,000 ราย ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและปลอดหนี้ 900,000 ราย และผู้กู้ชำระปิดบัญชีแล้วกว่า 300,000 ราย และให้โอกาสผ่อนปรนการชำระหนี้ ทั้งสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วจะมีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
โดยต้องผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี และสามารถขอผ่อนผันการชำระหนี้ หากไม่มีรายได้หรือมีรายได้น้อยหรือเป็นผู้ประสบภัยพิบัติจาก ภัยธรรมชาติหรือเหตุจลาจล ใจดีแบบสุดๆ
แต่ล่าสุด นางฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนกยศ. ได้เปิดเผยว่า “ปัจจุบันกองทุนมีผู้กู้ยืมทั่วประเทศที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจำนวนกว่า 4.5 ล้านราย ประกอบด้วย สำหรับการติดตามหนี้กับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้ กองทุนมีเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ผ่อนปรนมาก เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จริง ๆ
กล่าวคือ เมื่อผู้กู้ยืม หากผู้กู้ทำสัญญากู้ยืมจำนวน 100,000 บาท งวดแรกผ่อนชำระเงินต้นเพียง 1,500 บาทต่อปีโดยไม่มีดอกเบี้ย งวดถัดไปผ่อนชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี หากผู้กู้ยืมยังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้เนื่องจาก็ยังสามารถขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
แต่ทั้งนี้ก็สามารถพบได้ว่า สาเหตุสำคัญของผู้ที่ไม่มาชำระหนี้ ลำดับแรกคือ ไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน ถัดมาคือ มีเงิน มีงานทำ แต่ตั้งใจไม่มาชำระหนี้ ซึ่งสถิติสาขาที่มีผู้ค้างชำระมากที่สุดคือ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ อยู่ที่ประมาณ 72% โดยกลุ่มสาธารณสุข พยาบาล 57% และกลุ่มแพทย์ 51% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อย
โดยจำนวนผู้กู้ กรอ.ตั้งแต่ปี 2549 มีทั้งหมด 345,100 ราย ใช้งบประมาณรวม 18,074 ล้านบาท ครบกำหนดชำระ 267,184 ราย เป็นเงิน 10,318 ล้านบาท ค้างชำระ 190,700 ราย เป็นเงิน 7,243 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากมายมหาศาลเลยก็ว่าได้
แต่หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจมากๆ และมองข้ามไม่ได้เลยนั่นก็คือ “อาชีพแพทย์และพยาบาล” ซึ่งมีงานทำแน่นอน แต่กลับไม่ยอมชำระหนี้!!! อันนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันนะว่าจะต้องมีวิธีจัดการกันแบบไหนล่ะเนี่ย -*-
หลักๆ แล้วในเรื่องนี้ คิดว่าวิธีแก้ปัญหานอกจากสร้างวินัยและจิตสำนึกให้แต่ละคนแล้ว ยังต้องดูระบบติดตามหนี้ ที่จะต้องมีความเข้มข้นมากขึ้นด้วย ไม่งั้นเรื่องนี้ก็คงเป็นปัญหาเรื้อรังไปเรื่อยๆ อ่ะเนาะ
Source: Teenee