เรื่องราวดีๆ ต่อไปที่ทาง ScholarShip.in.th นำมาฝากเพื่อนๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลวิธีการพัฒนาตนเองกันอีกแล้วครับ รายละเอียดจะเกี่ยวกับอะไร เรามาชมไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าจ้า
ใครๆ ก็อยากมีความจำที่ดีกันทั้งนั้นแหละใช่มั้ยครับ โดยเฉพาะเพื่อนๆ หรือน้องๆ ที่เป้นนักเรียนมัธยมหรือนักศึกษากันอยู่ เพราะว่าถ้าความจำดีก็จะสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ หรือบทเรียนต่างๆ ได้ดีนั่นเอง และแน่นอนครับ คะแนนสูงอย่างแน่นอน
และวันนี้ทางเราจึงจะมานำเสนอเกี่ยวกับ 7 กลวิธีการเพิ่มความจำให้แก่เพื่อนๆ ครับ จะมีอะไรบ้างเรามาชมกันเลยดีกว่านะ
1. พยายามนึกถึงเรื่องราวเก่าๆ ความทรงจำเก่าๆ (ที่ดีๆ นะจ๊ะ)
การพยายามนึกถึงเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น เอ…เมื่อวานนี้เรากินข้าวกับอะไร หรือว่าเมื่อวานนี้เราเรียนบทเรียนอะไรไปบ้าง (ย้ำ ห้ามใช้ตัวช่วยหรือคนช่วยใบ้นะจ้ะ)
2. พยายามเชื่อมต่อสิ่งที่เรียนรู้ได้ใหม่ๆ กับสิ่งเก่าๆ ที่รู้อยู่แล้ว
พยายามแปลงความรู้ใหม่ๆ ให้เป็นสำนวนที่เข้าใจง่ายของตนเอง และพยายามเชื่อมต่อเข้ากับไอเดียเก่าๆ ของตนเอง เช่น วันนี้เราเรียนฟิสิกส์เกี่ยวกับการถ่ายเทของความร้อน ต่อมาเมื่อเราไปทานกาแฟ แล้วเราหยิบแก้วกาแฟร้อนขึ้นมา ก็พยายามนึกถึงบทเรียนเกี่ยวกับความร้อนที่เรียนไปนั่นเอง
3. พยาบามบูรณาการความรู้ชนิดหนึ่งกับความรู้แขนงอื่นๆ
การพยายามเชื่อมโยงความรู้และบูรณาการเข้าด้วยกัน จะทำให้เราเก่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความจำอีกด้วย เช่น คนที่เล่นบาสเก็ตบอล ก็สามารถใช้เทคนิคที่ตนได้จากการเล่นบาส เพื่อไปเล่นกีฬาอื่นเช่น ฟุตบอล ในการเป็นผู้รักษาประตูได้ ซึ่งก็คล้ายๆ กับเทคนิคการดึงความทรงจำสิ่งที่รู้อยู่แล้วออกมานั่นเอง ไม่พอนะครับจะทำให้ทำสิ่งนั้นๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วยแหละ
4. พยายามคาดเดาถึงคำตอบของสิ่งต่างๆ
การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะการคาดเดาคำตอบไว้ล่วงหน้านั้น จะทำให้เราจดจำสิ่งนั้นๆ ได้ดีกว่าการที่มีคนมาสอนและบอกคำตอบนั้นนั่นเอง
5. ประเมินสิ่งที่เกิดขึ้น
เช่นการประเมินงานวิจัย หรืองานกลุ่ม เราก็จะเกิดคำถามในใจของตัวเองว่า เอ…อะไรคือจุดแข็ง จุดอ่อน หรือว่าไปแก้ไขที่จุดไหนได้บ้าง? ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ดว่า ถ้าเราทบทวนบทเรียนและเขียนสรุปคร่าวๆ ตอนกลับบ้านจะช่วยเพิ่มความทรงจำมากกว่า 23 เปอเซ็นต์เลยทีเดียว
6. การใช้อักษรย่อ หรือวลี ในการจดจำสิ่งต่างๆ
เป็นกลวิธีที่นิยมกันมากครับสำหรับการใช้อักษรย่อต่างๆ เหล่านี้ อีกอย่างนะครับลองจดโน๊ตโดยใช้ตัวอักษรสีต่างๆ กันในแต่ละส่วน จะทำให้เพิ่มความทรงจำขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ
7. การรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น
เคยมั้ยว่าพอเพื่อนมาบอกถึงความผิดพลาดของตนเองแล้วก็เกิดคำว่า เอ้ออ…รู้งี้เรา…ก็ดีนะ ซึ่งแน่นอนครับว่าจะช่วยเหลือเราทั้งเรื่องของการทบทวน การฟื้นความจำ เพราะฉะนั้นลองตั้งคำถามต่างๆ กับงานของตนเอง หรือถามเพื่อนๆ ก็ได้ แค่เท่านี้เราก็สามารถที่จะพบข้อผิดพลาดในงานของเราได้แล้วล่ะ
Source: BusinessInsider