ทุนวิจัยร่วม DUO-Thailand ประจำปี 2010 เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับจุดมุ่งหมายที่เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ระหว่างประเทศไทย กับ สมาชิกประเทศในกลุ่มอาเซม (ASEM) ที่อยู่ในทวีปยุโรปเป็นหลัก
โครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ผู้รับทุนทั้งในระดับนักศึกษาและอาจารย์ ต้องจับคู่กันระหว่างนักศึกษา/อาจารย์ ของประเทศไทย กับนักศึกษา/อาจารย์ของจากประเทศในยุโรป ผ่านการประสานกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของทั้งประเทศไทย และยุโรป สำหรับคู่นักศึกษา หรือว่าคู่ของอาจารย์ ควรจะศึกษาหรือว่าสอนอยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน
สำหรับสาขาวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ ก็คือ? Alternative Energy, Biotechnology/Food Technology,? Business System Design, Health Sciences, Wood Technology, Information and Communication Technology, Logistics and Supply Chain Management,? Tourism and Hospitality Management.
ที่มาของโครงการ ASEM-DUO Fellowship Programme
โครงการดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียและยุโรป เมื่อปี 1999 โดยกลุ่ม ประเทศสมาชิก ตกลงที่จะก่อตั้ง ?ASEM scholarship programme? โดยมีจุดประสงค์หลักในเรื่องของการแลกเปลี่ยนทางด้านการศึกษา ระหว่างสถาบันทางการศึกษาของเอเชียกับยุโรป
จากความคิดริ เริ่มดังกล่าว ประเทศกลุ่มผู้นำ คือเกาหลีใต้, ฝรั่งเศส และสิงคโปร์ ก็เริ่มดำเนินการประชุมหาความร่วมมือขึ้นครั้งแรก ที่กรุงโซล เมื่อเดือนตุลาคม 2000 หลังจากนั้น ก็มีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนเมษายน 2001 โดยในครั้งนี้ ได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ จาก 16 ชาติสมาชิก (ยุคเริ่มต้น) มาร่วมกันหาข้อสรุปครั้งสุดท้าย ถึงข้อสรุปต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องทุนการศึกษาที่จะมอบให้กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก
ASEM เป็นชื่อย่อมาจาก Asia Europe Meeting เมื่อปี 1996 ที่กรุงเทพ เพื่อที่จะโปรโมตและทำความเข้าใจร่วมกันของประชาชน 2 ทวีป ที่ประกอบไปด้วย 15 ชาติสมาชิกจากยุโรป คือ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, อิตาลี, ไอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, โปรตุเกส, สเปน, สวีเดน และสหราชอาณาจักร และ 10 ชาติสมาชิกจากเอเชีย คือ บรูไน, จีน, เกาหลี, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย,ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ประเทศไทย และเวียดนาม
ก่อนหน้านี้ ประเทศในกลุ่มสมาชิกของ ASEM ร่วมมือกันในเรื่องของการเมือง, เศรษฐกิจ และการเงิน และวัฒนธรรม ส่วนโครงการทุนแลกเปลี่ยน The ASEM-DUO Fellowship คือกรอบความร่วมมือล่าสุด
ระยะเวลาการแลกเปลี่ยน
สำหรับนักศึกษา
ระยะเวลาของการแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษาทั้งคู่ คือ 1 เทอม (4 เดือน)
สำหรับอาจารย์
ระยะเวลาของการแลกเปลี่ยนสำหรับอาจารย์ทั้งคู่ คือ 1 เดือน
ประเภทของกิจกรรม
สำหรับนักศึกษา
– ต้องเรียนระดับปริญญาตรี มาแล้วอย่างน้อย 6 หน่วยกิต ในมหาวิทยาลัยในประเทศของตัวเอง และวิชาเอกหรือโทที่เรียนนั้น ควรจะเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เขียนในใบสมัครด้วย
– หัวข้อวิจัยที่นำเสนอ ต้องเป็นส่วนหนึ่งที่นำเสนอในใบสมัคร
สำหรับอาจารย์
– มีการบรรยาย สัมมนา
– ทำการวิจัยในหัวข้อที่ต้องการพัฒนาหลักสูตร และวิธีการสอน
– ต้องศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน ที่เข้าไปศึกษา เพื่อการพัฒนาความร่วมมือในอนาคตระหว่างมหาวิทยาลัย
จำนวนเงินของทุน
สำหรับนักศึกษา
– สำหรับนักศึกษาไทย ที่เดินทางไปศึกษาต่างประเทศ จะได้รับเงินทุนจำนวน 1,200 ยูโร? ขณะที่นักศึกษาจากยุโรป ที่เดินทางมาศึกษาในประเทศไทย จะได้รับเงินทุนสนับสนุน จำนวน 800 ยูโร
สำหรับอาจารย์
– สำหรับอาจารย์จากประเทศไทย ที่เดินทางไปศึกษาประเทศในยุโรป จะได้รับเงินทุนสนับสนุน จำนวน 3,600 ยูโร ขณะที่อาจารย์จากประเทศในยุโรป ที่เดินทางมาศึกษาในประเทศไทย จะได้เงินทุนสนับสนุน 2,400 ยูโร
หมายเหตุ
– ในกรณีที่นักศึกษาหรืออาจารย์ในโครงการแลกเปลี่ยน ไม่สามารถร่วมเต็มโปรแกรมของโครงการ มีความจำเป็นที่จะต้องกลับไปรายงานตัวต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายใน 15 วัน เพื่อให้มีการจัดการกับปัญหาที่เกิดก่อน
– สำหรับในเรื่องของจำนวนเงินทุนสนับสนุน นั้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาของกระทรวงการคลังของประเทศไทย
คุณสมบัติของผู้สมัคร
สำหรับนักศึกษาไทย
– กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือว่าจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน ภายใต้การรับรองของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในประเทศไทย
– สัญชาติไทย
– เกรดเฉลี่ยอย่างน้อย 2.75 สำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และเกรดเฉลี่ย 3.25 สำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว
– มีความสามารถในการใช้ภาษาของประเทศที่จะไปศึกษา อยู่ในขั้นดีมาก
– มีคะแนน TOEFL อย่างน้อย 213 (ฐานจากคอมพิวเตอร์) หรือ 550 (จากกระดาษคำตอบ)
– หรือคะแนน IELTS อย่างน้อย 6.0
– หรือคะแนนสอบทางภาษาต่างประเทศจากทางมหาวิทยาลัย? มีค่าเท่ากับผลสอบของ TOEFL หรือ IELTS
– ไม่ได้อยู่ในช่วงที่รอทุนการศึกษาจากที่อื่นอยู่
– ต้องสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้
– ส่งผลงานหรือใบประเมินผลจากทางมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ ส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายใน 60 วัน หลังจากเสร็จสิ้นโปรแกรม
สำหรับอาจารย์
– ยังคงเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในการรับรองของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
– สัญชาติไทย
– อายุไม่เกิน 55 ปี
– มีความสามารถในการพูด เขียน ภาษาอังกฤษ หรือภาษาประเทศที่ต้องการไปศึกษา ในขั้นดีมาก
– มีรายละเอียดของแผนงานที่จะเข้าโปรแกรม
– ต้องสามารถเข้าร่วมโครงการจนจบโปรแกรม
– ไม่ได้อยู่ในช่วงที่กำลังรอรับทุนการศึกษาจากที่อื่นอยู่
– ส่งรายงานให้กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภายใน 60 วัน หลังจากเสร็จสิ้นโปรแกรม
ใบสมัครขอรับทุนต้องเขียนด้วยภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยหลักฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
สำหรับนักศึกษา
– สำเนาใบระเบียนการศึกษา หรือด้วยสถิติการเรียน
– สำเนาใบรับรองจากมหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่
– สำเนาใบพาสปอร์ต
– สำเนาของใบรายงานสถิติโครงการ DUO-Thailand
– สำเนาใบคะแนนของ TOEFL, IELTS รวมไปถึงบททดสอบทางภาษาจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด
สำหรับอาจารย์
– สำเนาใบรับรองจากมหาวิทยาลัยต้นสังกัด
– สำเนาใบพาสปอร์ต
– รายละเอียดของโครงการงานสำหรับโครงการแลกเปลี่ยน
การจ่ายทุนการศึกษา
สำหรับ ผู้ได้รับทุน DUO-Thailand จะได้รับเงินทุนการศึกษาผ่านทาวสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อนที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศ หลังจากก็จะมีการโอนหน้าที่ดังกล่าวไปให้กับสถานศึกษา ที่นักศึกษาหรือว่าอาจารย์ต้องไปเข้าร่วมโครงการ
เงินทุนการศึกษาที่ได้รับ ไม่มีข้อจำกัดในการใช้ทุนแต่อย่างใด คือ ผู้รับทุนสามารถใช้ในเรื่องของค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายประจำวัน หรือว่าท่องเที่ยวก็ได้
ใบสมัครขอทุนของทุกท่านจะเป็นใบยืนยันสถานภาพของท่านไว้จนจบโครงการ อาทิ นักศึกษา ที่อยู่ในระหว่างศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อกลับมาแล้ว ก็จะยังอยู่ในสถานะภาพเดิม
วันรับสมัคร
สำหรับผู้สนใจ ต้องการสมัครขอรับทุน สามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ ASEM-DUO Fellow Program (www.asemduo.com) หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ (www.inter.mua.go.th) ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2552?? โดยใบสมัครที่สมัครหลังจากวันที่ 31 ตุลาคม? ถือว่าสละสิทธิ์ หรือทางไปรษณีย์ ก็สามารถส่งไปที่
ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
328 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพ ฯ
10400
โทร. 0-2354-5500-19 ต่อ 744,750 และ 752
ทางมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทยและในยุโรป ให้สิทธิการรับสมัครแก่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมกับนี้ ผู้สมัครควรจะสมัครเป็นคู่เลย คือ ระหว่างนักศึกษาไทยกับนักศึกษาจากยุโรป หรือว่าอาจารย์จากประเทศไทยกับอาจารย์จากประเทศในทวีปยุโรปแต่ช่วง เวลาของการเข้าสู่โครงของคู่นักศึกษา หรือว่าคู่อาจารย์ ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
thank you