สำหรับบทความนี้ที่เรานำมาฝากเพื่อนๆ ชาว ScholarShip.in.th เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาการมีสมาธิสั้นในเด็กๆ จ้า แต่ไม่ได้กำหนดเฉพาะเด็กๆ เท่านั้นสำหรับโรคนี้ เชื่อว่าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่หลายๆ คนก็มีอาการนี้เฉกเช่นกัน
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญมากๆ ครับเพราะว่าหลายๆ คนอาจจะไม่เข้าใจอาการนี้จริง และไปตัดสินผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ว่าเป็นโรคนี้นั่นเอง สำหรับกรณีนี้เป็นกรณีที่ศึกษาในเด็กนะครับ ว่าแล้วก็มาชมกันเลยดีกว่า
เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะไม่สามารถทำอะไรให้เสร็จสมบูรณ์ได้ ต่อให้เป็นงานที่ง่ายที่สุดก็ตาม ซึ่งปกติเด็กเล็กมักมีสมาธิสั้นกว่าเด็กโตอยู่แล้ว
แต่เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น จะเริ่มคิดถึงงานถัดไปก่อนที่จะเริ่มทำงานแรกเสียอีก!! เด็กๆ เหล่านี้นั้นจะไม่สามารถอยู่เฉยๆ ได้เลยเช่น การนั่งฟังนิทาน การอ่านหนังสือ หรือการช่วยพ่อแม้ทำงานเล็กๆ น้อยๆ เช่นการพับผ้า
เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นจะทำตามคำสั่งหรือประมวลข้อมูลได้ลำบากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน อาการที่เห็นได้ชัดคือเด็กเหล่านี้มักจะพูดตลอดเวลา ไม่จำเป็นว่าต้องมีเรื่องที่จะพูด แต่ขอให้ได้พูดเท่านั้น แต่ไม่เกี่ยวกับเด็กๆ ที่มักมีข้อสงสัยแล้วถามบ่อยๆ นะครับ เพียงแต่จะพูดทุกสิ่งที่เข้ามาในหัว และพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ
อีกอาการหนึ่งของเด็กที่เป็นโรคนี้คือ เขาจะเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่นขยุกขยิก กระโดดไปมาซึ่งจะไม่เกี่ยวกับเด็กๆ ที่กำลังจะออกไปเที่ยวข้างนอกแล้วมีอาการนี้กันนะจ๊ะ เพราะในเวลานั้นเด็กปกติก็จะมีอาการนี้เช่นกัน
เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักมีความคิดสร้างสรรค์และช่างจินตนาการ สมองของเขาจะหลั่งไหลความคิดมาตลอดเวลา และอยากทำนู่นทำนี่ไปซะทุกอย่าง อีกทั้งยังมักเป็นพวกที่คิดเรื่องราวประหลาด ๆ มาเล่าให้คุณฟังได้เสมอ
และเมื่อเริ่มโตขึ้น เขาจะสามารถทำหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันได้ เช่นฟังคุณพูดไปพร้อม ๆ กับการจดจ่ออยู่กับงานอื่น (เอ..เริ่มไม่แน่ใจแล้วว่าอาจเป็นประโยชน์กับตัวเองแล้วก็ได้นะครับอาการนี้)
ในส่วนของการวินิจฉัยของแพทย์นั้น ไม่ว่าอาการของเด็กจะชัดเจนแค่ไหน ก็ไม่ควรตัดสินว่าเด็กมีอาการนี้ เพราะว่ามีเด็กจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นแต่ถูกจัดว่าเป็น ซึ่งเด็กบางคนแค่อยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็นเท่านั้น!! จึงควรต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นระยะยาวก่อนนะครับ
มาถึงวิธีการรักษาบ้างนะครับ เรื่องง่ายๆ ที่สามารถทำได้ในบ้านก็เช่น การทำให้บรรยากาศบ้านสงบขึ้น งดกิจกรรมอึกทึกครึกโครมเสียงดัง งดอาหารแปรรูปที่มีสีผสมอาหารและสารเคมี อาหารขยะทั้งหลาย ซึ่งควรเพิ่มอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์มากขึ้น
การหากิจกรรมอื่นๆ ที่ฝึกสมาธิให้เด็กก็ช่วยได้เช่น การเล่นหมากรุก ต่อจิ๊กซอว์ และควรจะให้รางวัลเด็กๆ เมื่อทำกิจกรรมเห่านี้จนเสร็จสิ้น แต่ในส่วนของการใช้ยาเข้าบำบัดนั้น ควรเลือกเป็นวิธีสุดท้ายเท่านั้นนะครับ
Source: TheAsianParent