สวัสดีจ้าเพื่อนๆ ชาว ScholarShip.in.th วันนี้เราก็มีเกร็ดเรื่องความความรู้รอบตัวจากทั่วโลก มาฝากเพื่อนๆ กันอีกแล้วนะจ๊ะ สำหรับเรื่องนี้เป้นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนจ้า รายละเอียดจะเป้นยังไงมาชมกันเลย
สำหรับการเรียนและการศึกษานั้น นับว่าเป็นการวางรากฐานของชีวิตเลยก็ว่าได้ การศึกษาจึงมีความสำคัญต่อชีวิตอย่างมาก ถ้าได้รับการศึกษามาไม่ได้ ก็เปรียบเหมือนรากฐานของสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง และพร้อมจะล้มได้อยู่ทุกเมื่อนั่นเอง
แต่เราก็ต้องยอมรับว่า คนส่วนมากโดยเฉพาะเด็กๆ มักจะมีอาการเบื่อการเรียนกัน อะไรกันที่ทำให้เด็กๆ ถึงเบื่อการเรียน!? เรามาดูกันเลยดีกว่า
ดร.เจ.ที.ฟิชเชอร์ อดีตบดีจิตแพทย์ของอเมริกา เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคำพูดที่ว่า การเริ่มเรียนเร็วไม่ได้มีผลอะไรกับเด็กๆ มากเท่าไรนัก เด็กส่วนมากจะเริ่มเรียนกันเมื่ออายุราวๆ 5 – 6 ปี แต่ ดร. คนนี้แหล่ะ เริ่มเรียนตอนอายุ 13 ปี!! เลยทีเดียว
แต่กระนั้น ปัจจัยนี้ก็ไม่ได้ขัดขวางให้ ดร.เจ.ที.ฟิชเชอร์ ประสบความสำเร็จในชีวิตแต่อย่างใดเลยครับ ซึ่งแน่นอนว่าข้อความนี้อาจจะขัดใจเพื่อนๆ หลายคนพอสมควร เพราะความเชื่อที่ว่า วัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ จึงไม่สมควรให้อยู่เฉยๆ ควรส่งไปเรียนที่โรงเรียนเหมือนกับเด็กอื่นๆ
แต่คำพูดของ ดร.เจ.ที.ฟิชเชอร์นั้น สอดคล้องกับนักวิชาการและนักจิตวิทยาหลายท่าน เช่น เดวิด เอลไคด์, เมเรดิช โรบินสัน และ ดร.วิลเลี่ยม โรห์เวอร์ ซึ่งเห็นว่า เด็กอายุน้อยที่เข้าเรียนตอนที่ยังไม่พร้อมจะทำให้มีผลเสียมากกว่าผลดี พวกเขามีโอกาสสูงที่จะสอบตกเรียนซ้ำชั้น หรือเลิกเรียนกลางคันก่อนจะจบการศึกษาเลยทีเดียว
ระบบการศึกษาของไทยกำหนดให้เด็กเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีรูปแบบและเนื้อหาเดียวกันหมด ซึ่งเป็นระบบที่บั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ของเด็กลงไปเรื่อยๆ โดยที่ทุกคนไม่รู้ตัว เพราะว่าแต่ละหลักสูตรไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเด็กที่มีลักษณะและความสามารถต่างกัน แต่เป้นรูปแบบเดียวกันหมด
อีกทั้งการที่พ่อแม่คอยเคี่ยวเข็ญให้ลูกไปโรงเรียนโดยที่เขายังไม่พร้อมนั้น นอกจากจะทำให้ลูกเครียด และขาดความมั่นใจในตัวเองแล้ว เมื่อโตขึ้นมาเขาอาจจะเบื่อการศึกษาและไม่อยากไปเรียนหนังสือเลยก็เป็นได้!!
หากเด็กๆ อยากไปเรียนหนังสือเองโดยที่ไม่มีใครมาบังคับ หรือได้ไปโรงเรียนในช่วงที่เวลาที่เขาพร้อมเรียนรู้จริงๆ ก็คงจะดีไม่น้อยเลยว่ามั้ยล่ะ
การศึกษาที่จะสำเร็จผลอย่างสูงที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น อุปกรณ์การศึกษาที่ดี ความเก่งของอาจารย์ หรือความดังของสถาบันแต่อย่างใด แต่อยู่ที่ความสนใจและความพร้อมของเด็กๆ ต่างหาก!!!
เหมือนคำที่ขงจื๊อ ปราชญ์แห่งยุคได้กล่าวไว้ว่า “ศิษย์ขยัน ย่อมไม่ต้องพึ่งพาอาจารย์” ดังนั้นเมื่อเด็กมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ และความสนใจที่เต็มเปี่ยม การศึกษาที่ประสบความสำเร็จ ย่อมรออยู่ไม่ไกลแน่นอนครับ :)