สมัยนี้ใครๆก็เล่นเฟสบุ๊ค เพื่อเอาไว้ติดต่อคนที่รู้จัก หากเรารู้จักใช้เฟสบุ๊คอย่างมีประสิทธิภาพ เราก็จะได้ประโยชน์มากมาย แต่ก็มีหลายคนที่ใช้เฟสบุ๊คจนเกิดโทษ ซึ่งการติดเฟสบุ๊คก็ทำให้เกิดโทษแก่ตัวเราเช่นกันค่ะ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล ค้นพบ 5 เหตุผลที่บ่งบอกว่าคนคนนั้นเสพติดการเล่นเฟซบุ๊ก ด้วยการให้อาสามัครเลิกเล่นเฟซบุ๊กเป็นเวลา 3 เดือน และนักวิจัยติดตามผลพบว่ามีอาสาสมัครจำนวนหนึ่งแอบกลับไปเปิดเฟซบุ๊กเล่น
นี่คือเหตุผลที่พวกเขากลับไปเล่นเฟซบุ๊กอีกทั้งๆที่สัญญาว่าจะเลิกเล่นเป็นเวลา 3 เดือน
1. ใช้เฟซบุ๊กเป็นที่กำหนดภาพลักษณ์ของตัวเอง คิดว่าคนอื่นจะเชื่อในสิ่งที่ได้เห็นในเฟซบุ๊ก ทำให้พวกเขาขาดเฟซบุ๊กไม่ได้
2. ใช้โซเชียลมีเดียเฟซบุ๊กเพียงอย่างเดียว ไม่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างอื่น เช่น ทวิตเตอร์ คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มผิดสัญญาแล้วกลับเล่นเฟซบุ๊กก่อนกำหนด
3. ยิ่งคิดว่าเฟซบุ๊กเป็นสิ่งเสพติด คนคนนั้นก็มีโอกาสกลับไปเล่นเฟซบุ๊กได้มากกว่าคนอื่นๆ
4. ใช้เฟซบุ๊กเป็นที่ระบายอารมณ์ โดยเฉพาะวันไหนที่อารมณ์ไม่ดี เฟซบุ๊กจะเหมือนห้องน้ำดีๆ ไว้ให้คอยระบายทุกสิ่งทุกอย่าง
5. คอยกังวลกับข้อมูลตัวเองที่อยู่ในเฟซบุ๊กจะถูกขโมยไปหรือถูกสอดแนม ถ้าหากคำตอบคือไม่กังวลกับเรื่องนี้เลย พวกเขาจะมีความอยากออนเฟซบุ๊กอยู่เสมอ
หลายๆคนก็เสียการเรียนไปเพราะการเล่น Facebook ซึ่งเราไม่ค่อยยอมรับกัน แต่ถ้ามองดีๆแล้ว หากไม่มี Facebook ให้ติด คนเหล่านี้หรือแม้แต่ตัวเราเอง อาจจะมีเวลามาพัฒนาตัวเองด้านอื่นๆ ตั้งใจทำสิ่งที่ควรทำมากกว่าก็ได้นะคะ
source: sanook