หนังสือเรียนมานะ มานี ปีติ และชูใจ เป็นหนังสือเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ที่นิยมใช้ในช่วงประมาณ ปี พศ. 2521-2537 หรือบางโรงเรียนอาจยังใช้อยู่หลังจากนั้น ซึ่งหนังสือนี้เป็นตำนานของการหัดพูดภาษาไทยของคนไทยยุคนี้หลายๆคนเลยก็ว่าได้ ซึ่งเนื้อหาเป็นนิทานที่สอดแทรกความรู้มากมายไม่น่าเบื่อ เพื่อนๆอาจจะเห็นว่าวันนี้เว็บไซต์ Google ได้เปลี่ยนรูปแบบอีกแล้ว ให้แก่ตำนานนี้โดยเฉพาะเลย มานะ มานี ปิติ ชูใจ
อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ
ถือเป็นหนังสือเรียนเล่มแรกที่ทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาไทย เริ่มจากการใช้คำสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความในการเรียนภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นการสะกดคำ การอ่านออกเสียง บวกกับเรื่องราวที่สนุกสนานของมานะ มานี ปิติ ชูใจ
เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ บทเรียนก็มีการพัฒนาเนื้อหามากขึ้น ถึงแม้หนังสือเรียนบทนี้จะหายไปแล้ว แต่หลายคนก็ยังคงจดจำเรื่องราวน่ารัก ความรู้ของบทเรียนในตำนานนี้ได้ขึ้นใจอยู่ดี บางที่ได้นำรูปภาพมานะ มานี ปิติ ชูใจ มาทำใหม่ เพิ่มข้อความสอนใจ ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้รู้กัน เป็นต้น
ที่มาของหนังสือแบบเรียน
มานะ มานี ปิติ ชูใจ เป็นชุดแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษาในชั้นประถมปีที่ 1-6
รวมทั้งสิ้น 12 เล่ม ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยระหว่างปี พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2537?เขียนโดยรัชนี ศรีไพรวรรณ และใช้รูปภาพประกอบกับเนื้อหาโดยเขียนภาพประกอบโดย 3 คือ เตรียม ชาชุมพร นักวาดการ์ตูนและนิยายภาพชื่อดังแห่งชัยพฤกษ์การ์ตูน, โอม รัชเวช และปฐม พัวพิมล
กระทรวงศึกษาธิการมีความต้องการเปลี่ยนหลักสูตรแบบเรียนภาษาไทยใหม่
โดยตั้งเงื่อนไขว่า ต้องให้เด็ก ๆ อ่านแล้วรู้สึกสนุก ติดใจ อยากเรียนภาษาไทย เมื่อเขียนเสร็จได้นำมาปรับปรุงและทดลองใช้จนแน่ใจว่า เรื่องราวเนื้อหา ที่เด็กอ่านนับล้านคน เป็นเรื่องที่ดี บริสุทธิ์ ไม่เป็นพิษเป็นภัย ในแต่ละชั้นเรียนจะได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ เพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษา
โดยในตอนที่เป็นแบบเรียนภาษาไทยยังไม่มีชื่อ แต่รัชนี ศรีไพรวรรณ ผู้เขียนแบบเรียน เล่าว่า
ก็มีคนเรียกเล่น ๆ ว่าเรื่อง “ตำนานเด็กดี” แบบเรียนนี้ใช้เวลาเขียนนานกว่า 4 ปี มุ่งหมายสอนให้ความรู้ทางภาษาทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยจำนวนคำ เริ่มตั้งแต่ชั้น ป. 1 กำหนดคำไว้ 150 คำ และเพิ่มขึ้นเป็นพัน ๆ คำ เมื่อเลื่อนชั้นปี จนมาถึงปี 2537 ก็ถูกถอดออกจากแบบเรียนเพราะเนื้อหาในหนังสือเรียนไม่ทันยุคทันสมัย
อาจารย์รัชนี ผู้สร้างหนังสือเรียนในตำนาน มานะ มานี ปิติ ชูใจ
โดยอาจารย์รัชนี กล่าวว่า แบบเรียนนี้ได้พัฒนามาจากแบบเรียนแบบเก่าที่ล้าสมัย (ในขณะนั้น) อาจารย์ก็เลยแทรกทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนไว้ใที่เดียวกันซึ่งแบบเรียนเก่านั้นไม่มี .. ตอนเริ่มเขียนแบบเรียนภาษาไทยนี้ อาจารย์รัชนี ก็ดูว่า
เด็กชอบอะไร นั่นก็คือ สัตว์เลี้ยง ก็เลยเขียนเนื้อหาโดยมีตัวละคร มานะ มานี เป็นพี่น้องกัน มีเจ้าโตเป็นสัตว์เลี้ยงขึ้นมา ต่อมาก็มีนกแก้ว , ชูใจ – แมว(สัตว์เลี้ยง), วีระ – เจ้าจ๋อ(ลิง), ปิติ – เจ้าแก่(ม้า)
ต่อมาก็ดูมาวิจัยต่างๆ เด็กเริ่มพูดตัวอักษร พยัญชนะตัวไหนได้ก่อน นั่นก็คือ ตัว ม.ม้า – มะ มา ซึ่งเกือบจะทุกชาติเลยที่เริ่มออกเสียงได้แบบนี้ อีกทั้งเด็กจะออกสระเสียงยาว เสียงสั้นจะออกไม่ได้ ถ้าได้ย้อนกลับไปดูบทเรียนเล่มแรกๆจะเห็นได้ว่ามีแต่สระเสียงยางทั้วนั้นเลย ^^
แบบเรียนเล่มต่อมาคือ “ทางช้างเผือก”
ตัวละครยังคงเป็นตัวเดิม แต่มีเรื่องราวที่เปลี่ยนไป โตขึ้นทั้งความคิด ความอ่าน รวมถึงจินตนาการต่างๆของเด็ก อาจารย์ก็ดูว่าทำไมเด็กถึงชอบอ่านแฮรรี่ พอตเตอร์ ก็เลยสร้างเรื่องราวที่คล้ายกัน มีสายรุ้ง จินตนาการ ทำให้เด็กได้สร้างจินตนาการ
ขอบคุณบทความดีๆโดย mThai นะครับ