ในการสมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกนั้น ทางมหาวิทยาลัยมักจะให้ผู้สมัครเขียน Essay หรืองบางที่อาจจะให้เขียน Proposal ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่มหาวิทยาลัยด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะให้เขียน Essay ซึ่ง Essay นี้ในแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะเรียกไม่เหมือนกัน มีตั้งแต่ Statement of Purpose, Personal Statement, Letter of Intent, Personal Narrative ในที่นี้เราขอเรียกว่า Statement of Purpose(SOP) ก็แล้วกัน
เราไปดูเทคนิคการเขียน Statement of Purpose (SOP) กันดีกว่าครับ
1.กำหนดเป้าหมาย…แล้วพุ่งชนมันซะ
เริ่มแรกเลยเนี่ยกำหนดเป้าหมายก่อนเลยครับ ว่าเราต้องการจะให้ SOP ของเราเป็นไปในทิศทางใด(ทิศทางที่ซึ่งคณะกรรมการน่าจะประทับใจในงานของเรา) โดยการกำหนดเป้าหมายของเรานี้จะต้องพยายามอย่าให้งานของเรายาวจนเกินไป ควรจะมีเนื้อหาที่กระชับ ใช้คำศัพท์ที่ชัดเจนอ่านเข้าใจได้ง่าย และที่สำคัญเราต้องแสดงศักยภาพ ความมั่งมั่นที่จะเข้าเรียนออกมาในงานชิ้นนี้จงได้
2.ลิสต์สิ่งที่คณะกรรมการอยากรู้ และสิ่งที่เราอยากจะนำเสนอตัวเอง
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการนำเสนอตัวเอง พร้อมทั้งตอบคำถามของคณะกรรมการครับ ใน SOP นั้น เราควรจะกำหนดการเขียนในสิ่งที่สำคัญกับการเรียนต่อ ความมุ่งมั่น ความตั้งใจของเราที่จะเรียนต่อ อาจจะรวมไปถึงศักยภาพของตัวเราเอง โดยเราอาจจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ และเขียนลงไปใน SOP เช่น
- วัตถุประสงค์ในการเรียนต่อ
- ทำไมต้องเป็นสาขาวิชานี้!? ทำไมต้องเป็นมหาวิทยาลัยนี้!?
- คุณคิดว่าจะเรียนไหวไหม!?
- คุณคาดหวังอะไรกับการเรียนสาขาวิชานี้!?
3.วางโครงสร้างให้ชัดเจน
อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ คือการวางโครงสร้างในงานของเรา โดยควรจะวางโครงสร้างให้มีเนื้อหาที่เรียบเรียงให้อ่านได้ง่าย เข้าใจง่าย และมีความกระชับชัดเจน ไม่พูดวกไปวนมา เช่น ในย่อหน้าแรกอาจจะพูดถึงสาเหตุหรือแรงจูงใจในการเลือกเรียนต่อ!? ย่อหน้าต่อมาเนี่ยอาจจะพูดถึงว่าทำไมเราถึงเลือกเรียนสาขาวิชานี้ มหาวิทยาลัยนี้ และเรามีความเข้าใจในหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรอย่างไรบ้าง!? ย่อหน้าถัดมาอาจจะบอกเล่าเรื่องราว ประวัติคร่าวๆของตัวเราเอง รวมไปถึงความฝัน และย่อหน้าสุดท้ายอาจจะย้ำไปว่าทำไมเราถึงอยากเรียนต่อ และอาจจะพูดถึงเป้าหมายของเราหลังจากจบการศึกษาพ่วงไปด้วยก็ได้
4.เขียนให้ตรงประเด็น
ข้อนี้แหล่ะครับที่หลายๆคนตกม้าตายกัน อาจเพราะใช้ภาษาที่ยากไป ใช้คำศัพท์ที่ยากไป และเรียบเรียงประโยคที่สลับซับซ้อนจนเกินไป จนเกิดข้อผิดพลาดเอง เช่น อาจจะใช้คำศัพท์ผิดกับรูปประโยค ผิดไวยกรณ์ เป็นต้น ดังนั้นการใช้ภาษาที่ง่าย กระชับได้ใจความ น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าครับ
วันนี้ขอลากันไปเพียงเท่านี้ก่อน แล้วกับมาพบกับวาไรตี้ดีๆอัพเดททุกวันกับ Scholarship.in.th กันนะครับ
ที่มา: oxbridge