เรื่องราวต่อไปที่ทาง ScholarShip.in.th นำมาบอกเล่าให้เพื่อนๆ ได้ฟังในวันนี้เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ไม่แน่นะครับว่าในอนาคตอาจพลิกโฉมโลกใบนี้กันเลยทีเดียว จะเป็นอะไรนั้นมาดูกันเลย
สำหรับออกซิเจน นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสัตว์ทุกๆ ประเภทในโลกเลยก็ว่าได้นะครับ ซึ่งแหล่งผลติตออกซิเจนที่ว่านี้ก็คือต้นไม้นี่เองครับ แต่ที่สลดใจมากก็คือการตัดไม้ทำลายป่าที่เห็นกันเป็นประจำและนับวันนับวันยิ่งลดลงไปอีกด้วย
แต่ถ้าทางเราจะบอกเพื่อนๆ ว่าตอนนี้เราสามารถผลิตใบไม้ประดิษฐ์ได้แล้วล่ะ!! ไปพูดที่ไหนใครจะเชื่อ แต่จริงๆ ครับว่ามีคนทำได้แล้ว เอแต่จะเป็นใครที่ไหนกันน้าาา…
Julian Melchiorri นักศึกษาปริญญาโทจาก RCA สามารถพัฒนา Silk Leaf ใบไม้ประดิษฐ์ที่สามารถสังเคราะห์แสงและผลิตออกซิเจนเองได้ ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะการสำรวจอวกาศ ซึ่งจะช่วยให้เราบินสำรวจอวกาศได้ไกลขึ้นกว่าเดิมโดยไม่จำเป็นต้องแบกถัง ออกซิเจนจำนวนมากๆ นั่นเอง
สำหรับโปรเจคนี้ชื่อ Innovation Design Engineering course ภายใต้ความร่วมมือกับห้องทดลองด้านเส้นไหมของ Tufts University ครับ
สำหรับใบไม้ประดิษฐ์นี้จะประกอบไปด้วยคลอโรพลาสต์ที่นำมาจากเซลล์ของพืช ต่อจากนั้นก็นำไปทำให้ลอยตัวอยู่ในวัสดุสารสกัดโปรตีนจากเส้นไหม (silk protein) ซึ่งมีโมเลกุลที่ค่อนข้างเสถียรเมื่อวัสดุนี้สัมผัสกับน้ำและแสงอาทิตย์ก็จะเปลี่ยนสองอย่างนี้ให้กลายเป็นออกซิเจนเหมือนใบไม้จากธรรมชาตินั่นเอง
สิ่งนี้ก็อเป็นวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนออกซิเจนในยานอวกาศ เพราะต้นไม้ไม่สามารถเติบโตได้ในสภาวะไร้น้ำหนัก ขอแค่มีใบไม้ประดิษฐ์ น้ำ และแสงอาทิตย์ก็สามารถผลิตออกซิเจนได้แล้วจึงทำให้เราใช้ชีวิตในอวกาศได้นานขึ้นนั่นเอง
นอกจากจะใช้ในยานอวกาศแล้ว มันยังสามารถนำมาดัดแปลงใช้กับเมืองหรือตกแต่งอาคารเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้มากขึ้นได้อีกด้วยนะครับ เป็นประโยชน์จริงๆ
ไว้เรามาพบกับสาระดีๆ แบบนี้กันได้ใหม่กับทาง ScholarShip.in.th นะครับ
Source: Variety.Thaiza