ในภาษาอังกฤษนั้น คำว่า ฉันไม่รู้ ไม่ได้มีแค่คำว่า ‘I don’t know’ เพียงเท่านั้น แต่ยังมีคำที่ใช้แทนคำนี้อีกเพียบ
เพื่อนๆคนไหนที่รู้สึกว่าตัวเองใช้ I don’t know บ่อยเกินไป.. ท่านผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปใช้คำเหล่านี้ได้ค่ะ
1. I have no idea. ฉันไม่มีไอเดียเลย ไม่รู้จริงๆ
A: What time does the movie start?’
B: I have no idea.
เอ: หนังเริ่มกี่โมงหรอ?
บี: เราไม่รู้อะ
2. I’m not sure. ฉันไม่แน่ใจ
A: Do you know where is John’s new house?
B: I’m not sure.
เอ: เธอรู้ไหมว่าบ้านใหม่ของจอห์นอยู่ไหน?
บี: เราไม่แน่ใจอะ
3. Your guess is as good as mine. ประมาณว่า ฉันก็ได้แต่เดาพอๆกะเธอ
A: Do you think we will be able to book the restaurant for Friday?
B: Your guess is as good as mine.
เอ: เธอคิดว่าเราจะจองโต๊ะอาหารวันศุกร์ได้ไหม
บี: ฉันก็เดาๆเอาเหมือนเธออะ
4. Not as far as I know. เท่าที่รู้ก็ไม่นะ
A: Has Tom sold his Toyota? I haven’t seen him driving it for a long time.
B: Not as far as I know
เอ: ทอมขายโตโยต้าของเขายัง? ฉันไม่เห็นเขาขับรถคันนั้นมานานละ
บี: เท่าที่รู้ก็ไม่นะ
5. Beats me! ฉันยอมแพ้ ฉันไม่รู้
A: Why did he do such a stupid thing?
B: It beats me.
เอ: ทำไมเขาทำอะไรโง่ๆยังไงฮะ?
บี: ไม่รู้อะ ฉันยอมแพ้เลย
6. Don’t ask me! ไม่ต้องมาถามฉันเลย ฉันไม่รู้
A: How much does it cost to open a coffee shop?
B: Don’t ask me!
เอ: ถ้าจะเปิดร้านกาแฟต้องใช้เงินเท่าไหร่หรอ?
บี: อย่ามาถามฉันเลย ไม่รู้อะ
7. I’m not sure I’m the best person to answer that . ไม่แน่ใจว่าควรจะให้คำตอบได้หรือเปล่า
A: Do you think I could come to Peter’s birthday party?
B: Hmm…I’m not sure I’m the best person to answer that.
เอ: I’m not Sure I’m the best person to answer that
บี: ฮืมมม…. เราไม่แน่ใจอะ เราว่าเราไม่ควรให้คำตอบเธอได้อะ
8. That’s exactly what I’m seeking to answer . ไม่รู้เลย นั่นแหละคือสิ่งที่ฉันกำลังหาคำตอบอยู่
A: Will we get to see Jessie tonight?
B: That’s exactly what I’m seeking to answer
เอ: พวกเราจะได้เจอเจสซี่ปะ?
บี: ไม่รู้เลยอะ นั้นแหละคือสิ่งที่ฉันกำลังหาคำตอบอยู่
9. I’ve been wondering that, too. ไม่รู้สิ ฉันก็กำลังสงสัยอยู่เหมือนกันเลย
A: Why is the traffic so bad today?
B: I’ve been wondering that, too.
เอ: ทำไมวันนี้รถติดจัง?
บี: ไม่รู้สิ ฉันก็กำลังสงสัยอยู่เหมือนกันเลย
10. Who knows? จะรู้ได้ยังไงล่ะ
A: What is Ben’s favorite color?
B: Who knows?!
เอ: รู้มั้ยว่าเบนชอบสีอะไร
บี: ใครจะไปรู้ล่ะ !?
ยิ่งเราใช้บ่อยเท่าไรก็จะยิ่งทำให้เราสามารถใช้ได้เป็นธรรมชาติมากขึ้นนะคะ การเลือกใช้ศัพท์ที่หลากหลายจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่เพิ่มขึ้นในการใช้ภาษาอังกฤษของเราอีกด้วยค่ะ
source: campus-star