สำหรับการศึกษาต่อ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ “วิทยานิพนธ์” หรือ “โครงการวิจัย” (Dissertation, Thesis หรือ Research Projects) ที่จำเป็นและสำคัญกับทุกสาขาวิชา เพราะเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา และเป็นข้อกำหนดบังคับเพื่อจบการศึกษา
วันนี้เราจึงมีข้อมูลดีๆ สำหรับการเขียนวิทยานิพนธ์จากหนังสือ Thesis Writing for Master’s and Ph.D. Program เขียนโดย Subhash Chandra Parija และ Vikram Kate สองผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านนี้มาอย่างยาวนาน มาดูกันว่า 10 ขั้นตอนเริ่มต้นเขียนวิทยานิพนธ์ให้ดูเป็นมืออาชีพนั้นเป็นอย่างไร :D
การเขียนวิทยานิพนธ์ให้ประสบความสำเร็จสามารถเริ่มได้ใน 10 ขั้นตอนแรก ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
– เลือกหัวข้อการวิจัยให้เหมาะสม
– เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาให้เหมาะสม
หัวข้อการวิจัยควรเป็นในประเด็นที่ผู้เรียนเชี่ยวชาญ และต้องเกี่ยวข้องกับฐานความรู้ที่มี และการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีความสำคัญเช่นกัน เพราะการวิจัยต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างมากจากอาจารย์ที่เข้าใจในหัวข้อนั้นๆ ผู้เรียนจึงต้องระบุหัวข้อที่เหมาะสมกับประสบการณ์ของอาจารย์ที่ปรึกษา
ขั้นตอนที่ 2
– ประเมินความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก, สิ่งที่จำเป็นพื้นฐาน และทรัพยากร
– พิจารณาขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย
งานวิจัยที่วางแผนไว้ควรได้รับการประเมินอยู่เสมอ เพราะหากทรัพยากรไม่เพียงพออาจทำให้เกิดความล่าช้าในการทำวิทยานิพนธ์ และหากไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการ ก็สามารถดำเนินการขอทุนสนับสนุนจากหน่วยงานให้ทุนที่เหมาะสมได้เช่นกัน
ขั้นตอนที่ 3
– เตรียมวัตถุประสงค์
– เขียนระเบียบการ
เพื่อระบุพื้นที่การวิจัยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือสิ่งสำคัญ วัตถุประสงค์จึงควรเฉพาะเจาะจง วัดผลได้ และบรรลุผลได้จริงภายในเวลาที่กำหนด จากนั้นจึงเริ่มเขียนระเบียนการ ออกแบบการศึกษาตามขั้นตอนปฏิบัติงานมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 4
– ขอพิจารณารับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
– ลงทะเบียนกับทะเบียนการทดลองทางคลินิก
ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย (Ethics Committee) ก่อนเริ่มการวิจัย และควรมีการปรับเปลี่ยนที่จำเป็นตามข้อเสนอแนะเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านจริยธรรมและกฎหมาย ทั้งในระหว่างและหลังการวิจัยเสร็จสิ้น
นอกจากนี้ การทดลองทางคลินิกทั้งหมดควรได้รับการลงทะเบียนในการลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิก และระบุการทดลองโดยใช้หมายเลข เพื่อใช้ในการนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ทุกรูปแบบ รวมถึงการนำเสนอในการประชุมและการตีพิมพ์
ขั้นตอนที่ 5
– ดำเนินการวิจัยตามการออกแบบการศึกษา
– สังเกตการณ์ และทำการศึกษาเชิงปฏิบัติการ
หลังจากผ่านการอนุมัติแล้ว การวิจัยควรดำเนินการตามรูปแบบการศึกษาที่เลือก และการศึกษาเชิงปฏิบัติการควรดำเนินการตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในระเบียบการ และควรได้รับความยินยอมที่จำเป็นจากผู้เข้าร่วมทั้งหมดก่อนการลงทะเบียน
ขั้นตอนที่ 6
– การรวบรวมข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล
– การวิเคราะห์ทางสถิติ
การรวบรวมข้อมูลเป็นส่วนสำคัญที่สุดเนื่องจากผลการศึกษาขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม มีวิธีการมากมายสำหรับการจัดเก็บข้อมูลรวมถึงการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์และการพิมพ์ สำหรับอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แอปพลิเคชั่นจัดเก็บข้อมูลอย่าง REDCap, EpiData, EpiInfo เป็นต้น
การวิเคราะห์ทางสถิติให้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือและมีความหมายจากข้อมูลดิบขนาดใหญ่ซึ่งกลุ่มเป้าหมายควรเข้าใจได้ง่ายขึ้น รวมถึงการแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบทั้งตาราง, ตัวเลข, แผนภูมิ และไดอะแกรม เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 7
– การจัดโครงสร้างผลการวิจัยวิทยานิพนธ์
– การเขียนวิทยานิพนธ์
การเขียนผลการวิจัยเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำวิทยานิพนธ์ควรมีเนื้อหาที่ละเอียด เช่น หน้าแรกควรมีรายละเอียดของนักศึกษา, ชื่อสถาบันการศึกษา หรือคำแนะนำ ควบคู่ไปกับการรับรองผลงานต้นฉบับของนักศึกษา เป็นต้น
นอกจากนี้ เนื้อหาหลักของวิทยานิพนธ์ควรเรียงลำดับตามมาตรฐาน ดังนี้ Abstract, Introduction, Review of literature, Aim and objective, Materials and methods, Results, Discussion, Summary and Conclusion
ส่วนสุดท้ายในภาคผนวก ควรมีเนื้อหาอื่นๆ เช่น tables, figures, necessary certificates, ethics committee certificate, institute review board certificates, consent form, patient information sheet, master data chart และอื่นๆ อีกมากมาย
ขั้นตอนที่ 8
– แก้ไขเนื้อหาวิทยานิพนธ์
– แก้ไขภาษา / หลีกเลี่ยงความคลุมเครือในการนำเสนอข้อมูล
การแก้ไขเนื้อหาวิทยานิพนธ์จะทำให้ง่ายขึ้นสำหรับผู้วิจารณ์และกลุ่มเป้าหมายในการเข้าใจแนวคิดข้องวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษก็อาจต้องการรับความช่วยเหลือในการขัดเกลาและแก้ไขภาษาให้สมเหตุสมผล ในส่วนนี้ยังมีความสำคัญหากต้องพิมพ์งานวิจัยในระดับนานาชาติ
ขั้นตอนที่ 9
– ตรวจสอบการลอกเลียนแบบ
– ลิขสิทธิ์, การรับทราบ, การเปิดเผยข้อมูลและความขัดแย้งทางผลประโยชน์
การตรวจจับการลอกเลียนแบบอาจนำไปสู่การปฏิเสธงานวิจัย และการลงโทษด้วยการขึ้นบัญชีดำในเครือข่ายสิ่งพิมพ์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของงานวิจัยที่เขียนอย่างเคร่งครัด
ในทำนองเดียวกัน ควรตรวจสอบลิขสิทธิ์เมื่อใช้รูปถ่าย, ตาราง หรือแผนผังต่างๆ ฯลฯ จากแหล่งข้อมูลที่ และควรได้รับการชี้แจงจากผู้จัดพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง และควรได้รับอนุญาตที่จำเป็นก่อนส่งงานวิจัย
การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและการประกาศผลประโยชน์ทับซ้อนกลายเป็นข้อบังคับในปัจจุบันเมื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่งานวิจัย
ขั้นตอนที่ 10
– เผยแพร่งานวิจัยในวารสารที่เหมาะสม
– นำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุม
ผลลัพธ์ใดๆ หรือการค้นพบโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่เป็นบวกหรือลบควรนำเสนอในการประชุมและตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาตรฐานเพื่อให้เข้าถึงประชากรเป้าหมาย และข้อจำกัดของงานวิจัยไม่ใช่ข้อจำกัดในการตีพิมพ์
การนำเสนอในการประชุมและเผยแพร่ผลงานวิจัยยังนำมาซึ่งการยอมรับสำหรับนักวิจัย และเพิ่มโอกาสได้คำเชิญจากหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุน เพื่อดำเนินงานวิจัยขั้นสูงในสาขาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
หากสนใจเนื้อหาเพิ่มเติมสามารถดูเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอกทุกคนนะ :)