สำนักจัดอันดับ มหาวิทยาลัย โลก ‘Quacquarelli Symonds’ หรือ ‘QS’ จากประเทศอังกฤษ ได้ทำการจัดอันดับ มหาวิทยาลัย ที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2016 (QS World University Rankings by Subject 2016 ) ออกมาแล้ว
เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับวงการการศึกษาไทย ที่ มหาวิทยาลัย และสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยไทยนั้น ได้ติดอันดับมากขึ้นจากปีที่แล้ว ว่าแต่จะมีมหาวิทยาลัยไหน สาขาวิชาใดบ้างที่ติดอันดับระดับโลกไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ
เกณฑ์การตัดสินประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
1. Academic reputation ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจของ QS Global Academic Survey ในปี 2015 จำนวน 85,062 ผลสำรวจ จากนักวิชาการทั่วโลก
2. Employer reputation ชื่อเสียงจากนายจ้าง จากการสำรวจผ่าน QS Global Employer Survey ในปี 2015 จำนวน 41,910 ผลสำรวจ จากผู้ประกอบการหรือผู้จ้างงานทั่วโลก
3. Research citations per paper จำนวนงานวิจัยที่ถูกนำไปใช้อ้างถึง จากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์กว่า 17.3 ล้านฉบับ จากฐานข้อมูลของ Scopus/Elsevier
นอกจากนี้ยังจัดแบ่งสาขาวิชาทั้งหมดออกเป็นกลุ่มๆ โดยมีทั้งหมด 5 กลุ่ม รายละเอียดมีดังนี้คือ
1.กลุ่ม Arts & Humanities (ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์) ประกอบด้วย 6 สาขาวิชา
1.1 Art & Design, 1.2 English Language & Literature, 1.3 History, 1.4 Linguistics
1.5 Modern Languages, 1.6 Philosophy
2.กลุ่ม Engineering & Technology (วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี) ประกอบด้วย 6 สาขาวิชา
2.1 Architecture, 2.2 Chemical Engineering, 2.3 CiviI & Structural Engineering Computer Science, 2.4 Electrical & Electronic Engineering, 2.5 Mechanical, 2.6 Aeronautical & Manufacturing Engineering
3.กลุ่ม Life Sciences & Medicine (วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์) ประกอบด้วย 7 สาขาวิชา คือ
3.1 Agriculture & Forestry, 3.2 Biological Sciences, 3.3 Dentistry , 3.4 Medicine , 3.5 Pharmacy & Pharmacology, 3.6 Psychology, 3.7 Veterinary Science
4.กลุ่ม Natural Sciences (วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ) ประกอบด้วย 7 สาขาวิชา คือ
4.1 Physics & Astronomy, 4.2 Mathematics, 4.3 Environmental Sciences, 4.4 Earth & Marine Sciences , 4.5 Chemistry, 4.6 Materials Sciences, 4.7 Geography
5.กลุ่ม Social Sciences (สังคมศาสตร์) ประกอบด้วย 10 สาขาวิชา คือ
5.1 Accounting & Finance, 5.2 Business & Management, 5.3 Communication & Media Studies, 5.4 Development Studies, 5.5 Economics & Econometrics, 5.6 Education, 5.7 Law, 5.8 Politics & International Studies, 5.9 Sociology, 5.10 Statistics
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ติดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกอยู่ที่อับดับ 243 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย มีสาขาวิชาติดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกถึง 18 สาขาวิชา คือ
อันดับ 51-100 จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาภาษาสมัยใหม่ (Modern Languages)
2.สาขาวิชา Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี)
3.สาขาวิชา Architecture (สถาปัตยกรรมศาสตร์)
อันดับ 101-150 จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา Linguistics (ภาษาศาสตร์)
2.สาขาวิชา Pharmacy & Pharmacology (เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา)
3.สาขาวิชา Environmental Sciences (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
4.สาขาวิชา Materials Sciences (วัสดุศาสตร์)
5.สาขาวิชา Business & Management (บริหารธุรกิจและการจัดการ)
อันดับ 151-200 จำนวน 7 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา CiviI & Structural Engineering (วิศวกรรมโยธา)
2.สาขาวิชา Electrical & Electronic Engineering (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
3.สาขาวิชา Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering (วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมการบิน วิศวกรรมการผลิต)
4. สาขาวิชา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) ,
5.สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์) ,สาขาวิชา Chemistry (เคมี) , สาขาวิชา Accounting & Finance (บัญชีและการเงิน)
อันดับ 201-250 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
อันดับ 301-400 จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา Mathematics (คณิตศาสตร์)
2.สาขาวิชา Physics & Astronomy (ฟิสิกส์และดาราศาสตร์)
2. มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับ 5 สาขาวิชา
อันดับ 51-100 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์)
อันดับ 101-150 จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
2. สาขาวิชา Pharmacy & Pharmacology (เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา)
อันดับ 201-250 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา Modern Languages (ภาษาร่วมสมัย)
อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา Chemistry (เคมี)
3. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ติดอันดับ 4 สาขาวิชา
อันดับ 151-200 จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่
1.สาขาวิชา CiviI & Structural Engineering (วิศวกรรมโยธา)
2. สาขาวิชา Environmental Sciences (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
อันดับ 251-300 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
สาขาวิชา Electrical & Electronic Engineering (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
สาขาวิชา Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดอันดับ 4 สาขาวิชา
อันดับ 51-100 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์)
อันดับ 151-200 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์)
อันดับ 251-300 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Modern Languages (ภาษาร่วมสมัย)
อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดอันดับ 2 สาขาวิชา
อันดับ 151-200 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Business & Management (บริหารธุรกิจและการจัดการ)
อันดับ 201-300 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Modern Languages (ภาษาร่วมสมัย)
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดอันดับ 2 สาขาวิชา
อันดับ 39 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
สาขาวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์)
อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
สาขาวิชา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)
7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ติดอันดับ 2 สาขาวิชา
อันดับ 151-200 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
สาขาวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์)
อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่
สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์)
8.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ติดอันดับ 1 สาขาวิชา
อันดับ 251-300 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Electrical & Electronic Engineering (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับ 1 สาขาวิชา
อันดับ 251-300 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Electrical & Electronic Engineering (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
10. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดอันดับ 1 สาขาวิชา
อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์)
มีมหาวิทยาลัยใครติดบ้างยกมือขึ้น อิอิ เห็นมั้ยครับว่าประเทศไทยก็เก่งไม่เบา ไม่แพ้ชาติใดในโลกเลยนะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก P-Dome.com,www.pantip.com/topic/33595606,Topunivercity.com,campus-star ด้วยนะคร้าบ