เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้กันโดยทั่วไป ดังนั้นภาษาอื่นๆ จากทั่วโลกจึงมีการยืมคำภาษาอังกฤษไปใช้บ้าง โดยปกติแล้วความหมายจะไม่เปลี่ยนไป แต่ในบางครั้งจะเกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้นมาเลย มีลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษ ทว่าเจ้าของภาษายังไม่เคยใช้มาก่อน
1. Skinship
มาจากประเทศเกาหลี คือการสัมผัสเนื้อตัวกัน แต่มีความไม่ธรรมดาตรงที่แฝงความหมายลึกซึ้ง หรือการแสดงออกของคนรัก
2. Bodybag
มาจากประเทศเยอรมัน หากฟังดูผิวเผินเหมือนจะแปลว่าถุงเก็บศพ แต่จริงๆ แล้วในความหมายนี้คือกระเป๋าสะพายหลัง
3. Salary man & OL
เป็นคำที่มาจากญี่ปุ่น ใช้สำหรับพนักงานกินเงินเดือนทั่วไป ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าใช้เฉพาะกับเพศชายเท่านั้นหรือไม่ แต่สำหรับคำว่า OL จะหมายถึงพนักงานหญิง
4. Brushing
มาจากชาวปารีส โดย brushing จะหมายถึงการเสริมสวย
5. Face control
ใช้กันในรัสเซีย คำนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาใบหน้าแต่อย่างใด ลองคิดถึงบอดี้การ์ดหน้าบาร์หรือไนท์คลับ ซึ่งจะมีหน้าที่ควบคุมคนที่เข้าไปในงาน
สำหรับ face control จะคอยกันไม่ให้คนขี้เหร่เข้าไปในปาร์ตี้ โดยคนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้างานจะได้รับประโยคอธิบายกลับมาว่า “คืนนี้เป็นปาร์ตี้ส่วนตัว” ซึ่งเคยมีบทความตีพิมพ์แนะนำการผ่านด่าน face control ว่าให้แต่งตัวให้ดูดี ล้ำหน้าแฟชั่นสักหน่อย
6. Afterhour
เป็นศัพท์ที่อยู่ในงานปาร์ตี้เช่นกัน มาจากประเทศเยอรมนี เอ่ยถึงประมาณว่าอยู่ร่วมงานจนเกือบจะเช้า ซึ่งปาร์ตี้ดึกดื่น หลังเวลาทำการเช่นนี้เป็นสัญญาณแห่งความทรหดอดทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหมู่วัยรุ่น
7. Farmer pants
ในฮังการีผู้คนจะสวมใส่ farmer pants เป็นกางเกงยีนส์คลาสสิกสีน้ำเงิน ซึ่งคำนี้ในภาษาฮังการีนำมาสู่กางเกงยีนส์ที่เก่าแก่เป็นรากเหง้านิยามของงานหนักและงานที่ทำให้เปื้อนสกปรก
8. Talk balk
ในภาษาฮีบรูมีหน้าที่เป็นคำนาม หมายถึงการตอบกลับใดๆ ทางออนไลน์ เช่น โพสต์ บล็อก หรือฟีดโซเชียลมีเดีย
9. Funsports
ใช้กันในเยอรมนี funsports เป็นคำศัพท์ที่อธิบายถึงกีฬาสองประเภทคือจานร่อนและสเกตบอร์ด
10. Tutor
ไม่ได้แปลว่าการกวดวิชาอย่างที่คิด ในอิตาลี Tutor เป็นคำแสลง กล่าวถึงกล้องตรวจจับการจราจร เช่น เมื่อคุณขับรถฝ่าไฟแดง Tutor จะสามารถจับภาพคุณเพื่อเรียกค่าปรับได้
ที่มา www.dictionary.com