เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าครับ ว่าตัวเราเป็นคนเรียนรู้อะไรเร็วหรือไม่ …สิ่งพวกนี้จำเป็นสำหรับการเข้าทำงานใหม่ๆมากเลยครับ เพราะบริษัททุกที่คงไม่มีใครอยากได้คนเรียนรู้อะไรช้าเข้ามาทำงานหรอกครับ
เพราะนอกจากเราต้องเรียนรู้ระบบการทำงานใหม่ๆแล้ว เรายังต้องคิดต่อยอดหลังจากนั้นอีก หากคุณโดนสัมภาษณ์งาน สิ่งเหล่านี้คือเครื่องพิสูจน์เพื่อที่จะบอกเขาไปว่าคุณเป็นคนเรียนรู้เร็ว นั่นเองครับ
ไม่กลัวที่จะบอกว่า “ไม่รู้”
คนที่เรียนรู้เร็วยอมรับว่าเขาไม่ได้รู้ทุกเรื่องบนโลกใบนี้ เป็นคนเปิดใจเสมอ และเต็มใจที่จะตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการหรือสิ่งที่อยากรู้เพิ่มขึ้น ขณะที่บางคนไม่กล้าหรือลังเลที่จะแสดงความไม่รู้ของตัวเองออกมา
ใช้ “Pareto principle”
กฎของพาเรโตก็คือ 80:20 ทำผลลัพธ์ได้ 80% จากการลงมือทำเพียง 20% คนที่เรียนรู้เร็วใช้วิธีนี้เป็นพื้นฐานหลักในการทำงาน เพื่อ focus สิ่งที่ทำโดยเฉพาะงานที่ท้าทาย ที่สำคัญคือคนเหล่านี้ไม่ทำทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่จะเลือกทำสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นลำดับแรก
สามารถ “เห็นเป็นภาพ”
เมื่อต้องจัดการกับปัญหา คนที่เรียนรู้เร็วจะมองเห็นวิธีการในหลายมิติ และเลือกวิธีการที่ดีที่สุดจาก sense ทั้งหมดที่มี และใช้พลังใจเนี่ยแหละในการหากลยุทธ์ที่จะทำและเรียนรู้จากการกระทำนั้นๆ
ทำทุกอย่างให้ “ง่าย”
เป็นที่รู้กันว่าปัญหาที่ยาก…ต้องไม่แก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ยากกว่าเดิม Thomas Edison, Henry Ford and หรือแม้แต่ Steve Jobs ก็พูดเสมอว่าเรื่องที่ท้าทายทั้งหลายต้องจัดการด้วยวิธีการง่ายๆ
ลงมือทำ
หลังจากพูดจบแล้ว คนที่เรียนรู้เร็วก็ “ลงมือทำ” ในวันเดียวกัน เฉกเช่นการเรียนภาษา หากออกจากห้องเรียนแล้ว ไม่มีทางที่เราจะใช้ภาษาใหม่ได้เลยถ้าเราไม่พูด ไม่ว่าจะพูดผิดหรือถูกก็ตาม
ช่างเลือก
เราไม่มีทางจัดการกับปัญหาโดยปราศจาก “วิธีการ” หรือ “กลยุทธ์” ในการแก้ปัญหาได้ สิ่งสำคัญก็คือใช้เวลาในการ “เลือก” วิธีการที่คุ้มค่ากับผลลัพธ์มากที่สุด
ใช้ “Parkinson’s Law”
Tim Ferris ผู้เขียน The 4-Hour Work Week ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เราจะได้รับจาก Parkinson’s Law และ Pareto’s principle เพื่อบรรลุเป้าหมายและทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว
Pareto’s principle: ทำให้เราใช้เวลาของเราให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
Parkinson’s Law: หมายถึงการจำกัดเวลาในการเรียนรู้ของตนเอง…ซึ่งนั่นจะทำให้เราเลือกสิ่งที่สนใจมากที่สุด
เพราะการเรียนรู้เร็ว หมายถึงการจัดสรรเวลาที่เพียงพอในการเลือกเฉพาะสิ่งที่สำคัญที่สุดในหัวข้อนั้นๆ และทำให้เราไม่เสียเวลาไปกับส่วนที่ไม่สำคัญ
รู้ว่าตอนไหน…ควรหยุด
ถ้าบางอย่างไปไม่ได้เป็นไปตามแผนต้องรู้จักถอย…คนเรียนรู้เร็วพร้อมที่จะหยุดและไม่เดินหน้าต่อ เพราะเข้าใจกฎการลดลงของผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม (law of diminishing returns) หมายถึงทำเพิ่มขึ้นแต่ได้ output ลดลง และจะ focus เฉพาะผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นๆ
รู้ว่าควรเตรียมพร้อม สำหรับอนาคตอย่างไร
อาจจะเป็นสิ่งที่น่าเบื่อสำหรับคนเรียนรู้เร็วไปแล้วก็ได้…เพราะเขาสามารถที่จะประยุกต์สถานการณ์ต่างๆ กับแนวโน้มในอนาคตได้ โดยสามารถที่จะรู้ได้ว่าจะใช้เรื่องไหน จัดการกับอะไรในอนาคต
เข้าใจดีว่า “หลายคำถาม…ไม่มีคำตอบ”
บางครั้งเราอาจตั้งคำถามหรือหัวข้อที่ผิด แต่ที่น่าสนใจคือเราต้องรู้ว่าถ้าเรื่องที่เราพูดคุยมันซับซ้อน ไม่ง่าย หรือกระทบใครหลายคน ก็ต้องเข้าใจว่าอาจไม่มีคำตอบสำหรับเรื่องนั้น
อธิบายให้ “เด็กเข้าใจ” ได้
หลังจากสืบเสาะค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตัวเองแล้ว ต้องสามารถที่จะสื่อสารความคิดและความรู้ในเรื่องนั้นๆ ออกมาอย่างเข้าใจง่ายกระทั่งเด็กก็รู้เรื่อง
คิดบวก
คนเรียนรู้เร็วไม่แสดงทัศนคติเชิงลบออกมาอย่างแน่นอน เพราะเขารู้ว่าอะไรสำคัญกับเขาบ้าง การมองโลกในแง่บวกจะทำให้สามารถรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดฝันและความท้าทายต่างๆ ได้อย่างดี
รู้จักฟังความเห็นจาก “ผู้เชี่ยวชาญ”
เขารู้ดีว่ามีคนที่รู้ดีกว่าตัวเองในเรื่องต่างๆ เพราะไม่มีใครเรียนรู้มากมายกระทั่งเป็นผู้เชี่ยวชาญครอบจักรวาลหรอก
เท่านี้เพื่อนๆก็รู้แล้วล่ะครับ ว่าเราเป็นคนที่มีพัฒนาการ การเรียนรู้อะไรใหม่ๆได้เร็วหรือเปล่า เพื่อนสามารถนำเอาไปเขียนลงเรซูเม่ พร้อมระบุเหตุผลตามนี้ได้เลยนะครับ รับรองว่าต้องมีการพิจารณากันบ้างแหละครับ ขอให้โชคดีทุกคนครับ
ที่มา: sanook