ด่านแรกของความประทับใจในการสมัครงาน ก็คือเรซูเม่นั่นเอง เป็นใบเบิกทางแรกที่ฝ่ายบุคคลจะเรียกคุณไปสัมภาษณ์งานหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่ใช่แค่กระดาษแผ่นเดียวที่ขีดๆ เขียนๆ ประวัติส่วนตัวเพียงให้มีส่ง
แต่เป็นกระดาษใบเดียวที่มีค่า สามารถตัดสินว่าชะตาชีวิตว่าคุณจะได้ไปต่อหรือไม่ มาดูสิว่าเราจะสร้างความประทับใจแรกเจอได้นี้อย่างไร
1. HR ไม่ชอบให้มีช่องโหว่ในเรซูเม่
Cynthia Shapiro อดีตผู้บริหารทรัพยากรบุคคลและผู้เขียนเรื่อง 50 Secrets Your Company Doesn’t Want You to Know กล่าวว่า “เมื่อคุณว่างงานมากกว่า 6 เดือน คุณก็จะถูกพิจารณาว่าเป็นคนตกงาน ซึ่งทางเราต่างคิดว่าคุณถูกบริษัทอื่นๆ มองข้ามมาแล้ว ดังนั้นเราก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้กับคุณอีกแล้ว”
2. อยู่ที่ระบบเครือข่ายของคุณด้วย
ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลในสถานดูแลสุขภาพ กล่าวว่า “เมื่อพูดถึงการหางาน มันไม่สำคัญว่าคุณรู้จักใคร ไม่สำคัญว่าเรซูเม่สวยงามแค่ไหน หรือประสบการณ์ทำงานของคุณดีอย่างไร แต่มันอยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้คน”
3. ให้คนอื่นที่ไม่ใช่ HR ดูเรซูเม่ของคุณด้วย
“หากคุณกำลังมองหางานจากบริษัทนั้นอยู่ ให้หลีกเลี่ยงการเข้าหา HR โดยตรง แต่จงมองหาใครสักคนที่คุณรู้จักในบริษัทนั้น หรือเข้าหาผู้จัดการที่จะทำการจ้างงานโดยตรง ให้เขาช่วยตรวจสอบดูเรซูเม่ของคุณ” จากคำแนะนำของ Shauna Moerke ผู้ดูแลระบบทรัพยากรบุคคลใน Alabama ซึ่งเป็นผู้โพสต์บล็อกที่ hrminion.com
4. ให้โฟกัสที่เรซูเม่มากกว่าจดหมายแนะนำตัว
“บางคนคิดว่า HR จะอ่านจดหมายแนะนำตัว แต่สำหรับฉันไม่อ่านมากว่า 11 ปีแล้ว” ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่ให้บริการทางการเงิน กล่าวไว้
5. ที่อยู่อีเมล์ก็สำคัญ
“เราจะตัดสินคุณตามที่อยู่อีเมล์ที่ให้มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นชื่อที่ไม่เหมาะสม เช่น [email protected] หรือ [email protected]” Rich DeMatteo ที่ปรึกษาการสรรหาบุคลากรในฟิลาเดลเฟีย
6. วันทำงาน
ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่บริษัทขนาดกลางใน รัฐนอร์ทแคโรไลนา กล่าวว่า “หากคุณอยู่ในยุค 50 หรือ 60 อย่าใส่ปีที่จบการศึกษาในเรซูเม่”
7. ประวัติการทำงาน
ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทบริการทางการเงินกล่าว “มีความเชื่อหนึ่งที่บอกว่า ข้อมูลทั้งหมดในเรซูเม่ควรอยู่ในหน้าเดียว ดังนั้นคนสมัครงานจึงส่งมาแบบตัวอักษรขนาดเล็ก ซึ่งไม่มีใครอ่านหรอก”
8. ควรรู้ว่าต้องตัดทอนตรงไหน
Sharlyn Lauby ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลใน Fort Lauderdale ที่รัฐฟลอริดา กล่าวว่า “ฉันอ่านเรซูเม่จากล่างขึ้นบนเสมอ ฉันไม่มีปัญหากับเรซูเม่สองหน้าหรอก แต่ถ้าสามหน้าเมื่อไหร่ก็ผลักออกทันที”
9. คีย์เวิร์ด
Chris Ferdinandi ผู้เชี่ยวชาญด้าน HR ใน Boston กล่าวว่า “ส่วนมากเราสแกนผู้สมัครจากคีย์เวิร์ดในเรซูเม่ เคล็ดลับที่เรซูเม่จะผ่านเข้าระบบ คือดึงจากคีย์เวิร์ดในคำอธิบายงาน ยิ่งมีการจับคู่มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่เรซูเม่ของคุณจะเข้าตามากเท่านั้น”
10. เอาความสวยแต่พอดี
“เรซูเม่ไม่จำเป็นต้องมีสีสันโดดเด่น เมื่อฉันเห็นสีเล็กๆ น้อยๆ ฉันโอเคนะ และเมื่อใดที่เห็นสีสันเยอะแยะมันเวียนหัว” Rich DeMatteo กล่าว
11. การพิมพ์ผิดเราก็ไม่มองข้าม
Laszlo Bock อดีตรองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการบุคลากรของ Google เขียนใน LinkedIn เผยว่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้จุด การเว้นวรรค การเคาะ นายจ้างจะคิดว่าผู้สมัครมีความล้มเหลว ไม่รอบคอบในเรื่องคุณภาพงาน
12. ว่าด้วยเรื่องของคำอธิบายรายละเอียดงาน
“คุณคงไม่ต้องการที่จะเอาส่วนสำคัญไปไว้ที่ด้านล่างหน้ากระดาษของแผ่นที่สองหรอก ซึ่งควรเอาไปวางไว้ในตำแหน่งด้านบน หรือทำตัวหนาๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ระบุไว้ในคำอธิบายว่า ‘ไม่จำเป็นต้องมี แต่ก็ต้องการ’ เพราะองค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้คุณแซงหน้าผู้สมัคร” ผู้จัดการฝ่ายจ้างงาน Sean McGinnis เขียนไว้ใน mutchergirl.com
13. ใช้อีเมล์ให้เกิดผล
“การวอล์คอินเข้ามาในบริษัทและหย่อนเรซูเม่ฝากไว้ จะไม่ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ดีอีกต่อไป ซึ่งมันเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากกว่า” Rich DeMatteo กล่าว
14. เขียนจุดมุ่งหมายในอาชีพให้ดีๆ
Bruce A. Hurwitz ผู้สรรหาผู้บริหารและที่ปรึกษาด้านอาชีพกับ Hurwitz Strategic Staffing Ltd แนะนำว่า ถ้ารายการจุดมุ่งหมายในอาชีพแสดงชื่อบุคคลที่กำลังสมัครอยู่ ผู้รับจะคิดว่าผู้สมัครเปลี่ยนแปลงข้อมูลของตนเองสำหรับการสมัครในแต่ละงาน ซึ่งครั้ง HR ก็ไม่ติดใจอะไร แต่ HR บางคนจะคิดว่าคุณไม่ได้ต้องการงานนี้จริงๆ
ที่มา www.rd.com