ในช่วงก่อน กระแสยุค 90s ได้กลับมาฮิตกลายเป็นหัวข้อในวงสนทนาว่า “สมัยนั้น มีอะไรเจ๋งๆ บ้าง”
หลังจากนั้น ก็มีการขุดเอาความทรงจำก่อนที่ยุคอนาล็อกจะเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างในปัจจุบันออกมาเล่ากันอย่างสนุกสนาน เป็นการย้อนรำลึกถึงวันวานที่ชวนให้คิดถึง
เป็นไปได้มากว่ายังมีอีกหลายสิ่ง รวมถึง “เสียง” ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้ว่ามันเป้นของยอดฮิตในยุคที่คุณพ่อคุณแม่ยังเป็นวัยรุ่น ซึ่งวันนี้ เราจะพาคุณย้อนเวลากลับไปชมโฉมเจ้าสิ่งของเหล่านั้นกัน
1. เสียงของ Elwood Edwards
ย้อนกลับไปในปี 1998 เมื่อผู้ใช้ AOL เปิดบัญชีอีเมล พวกเขาจะได้ยินการแจ้งเตือนด้วยเสียงที่เป็นมิตร “คุณมีจดหมาย” และ “ลาก่อน” เมื่อออกจากระบบ
เสียงที่ใช้ทักทายซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นเสียงที่ถูกสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ แท้จริงแล้วเป็นเสียงของมนุษย์ในแบบฉบับของ Elwood Edwards
2.เสียงต่อหมายเลขฉุกเฉิน
ในสมัยนี้ การจะโทรหาใครสักคน เป็นเรื่องง่ายซะยิ่งกว่าง่าย เพียงแค่สั่งระบบสั่งการด้วยเสียงให้ติดต่อไปยังหมายเลขที่คุณบันทึกไว้ หรือแม้แต่จะโทรไลน์ วิดีโอคอล ก็สามารถทำได้
แต่ในสมัยก่อน คุณจำเป็นจะต้องจดรายชื่อเพื่อนไว้ในสมุดโทรศัพท์ส่วนตัว หรือถ้าหรูหราสุดๆ สำหรับยุคนั้น คือการที่โทรศัพท์มือถือสามารถตั้งปุ่มกดโทรฉุกเฉินได้นี่แหละ
3. เสียงเพลงในลิฟต์
สมัยก่อน การก้าวเข้าสู่ลิฟต์เป็นเหมือนการพักผ่อนอย่างหนึ่ง เนื่องจากจะมีลำโพงที่วางอยู่ในลิฟต์คอยเปิดเพลงที่มีชีวิตชีวาในยุคสมัยนั้นขับกล่อมผู้คน แต่ในสมัยนี้ ลิฟต์กลับเต็มไปด้วยความเงียบ มีเพียงเสียงประกาศชั้นเท่านั้นเอง
4. เสียงเพจเจอร์
ในปี 1964 Motorola ได้เปิดตัวเครื่อง ” Pageboy pager” โดยมีวัตถุประงสงค์ทางการเเพทย์เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน หากอยู่ในระยะที่สามารถรับสัญญาณได้
แรกเริ่มเดิมที เพจเจอร์จะมีเสียงโทนเดียวเพื่อเร่งให้แพทย์กลับไปที่แผนกฉุกเฉิน ก่อนที่ภายหลังจะถูกพัฒนาให้มีเสียงอื่นๆ จนอาจเรียนได้ว่าเป็นรหัสเฉพาะของโซน ICU
5. เสียงเครื่องวัดความดัน
เครื่องวัดความดันที่หลายคนคุ้นหน้า อาจเป็นเครื่องที่เเพียงแค่เอาแถบผ้ามาพันเเขนแล้วกดปุ่ม เครื่องก็สามารถทำงานได้เองอย่างอัตโนมัติ
แต่เครื่องวัดความดันที่พ่อแม่ของเราคุ้นชินนั้น เป็นแบบที่มีลูกบอลเอาไว้บีบ เพื่อใช้เป็นระบบแมนนวลในการทดสอบความดันของร่างกาย
6. เสียงโทรศัพท์เมื่อสายไม่ว่าง
ปัจจุบันนอกจากตามสำนักงานแล้ว คงไม่มีบ้านไหนใช้โทรศัพท์บ้านอีกต่อไป นั่นหมายความว่า ความน่าหงุดหงิดใจกับเสียงโทรศัพท์ที่ต่อไม่ติด หรือสายไม่ว่าง (ที่บางครั้งเกิดจากการต่ออินเทอร์เน็ตเอาไว้) ก็จะกลายเป็นเพียงความทรงจำในทุกวันนี้
7. เสียงเครื่องล่อแมลง
เจ้าสิ่งนี้เคยได้รับความนิยมอย่างมากในยุค 80 และ 90 เครื่องล่อแมลงที่ใช้แสงอัลตราไวโอเลตในการล่อให้แมลงเข้ามา พร้อมมีเสียงเปรี้ยะๆ ที่ทำให้รู้ว่าเจ้าสัตว์ร้ายได้ถูกสังหารแล้ว
8. เสียงเปิดคอมพิวเตอร์
ที่สุดของความคลาสสิค กับเสียงเปิดคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการ ที่ใครก็ตามหากเคยผ่าน “ห้องซาวน์แล็ป” จะต้องคุ้นเคยเป็นอย่างดี
9. เสียงเปลี่ยนแผ่น CD
ก่อนที่จะมีแอปฟังเพลง ผู้คนมักดาวโหลดเพลงที่ชอบแล้วใส่ไว้ใน CD พร้อมพกพาเครื่องฟังเพลงอย่างซาวอะเบาท์ และเจ้าเสียงเปลี่ยนแผ่นนี่แหละ ที่จะทำให้คุณได้รู้ว่า ลิสต์เพลงได้สิ้นสุดแล้ว
10. เสียงเครื่องเหลาดินสอ
มียุคหนึ่งที่เครื่องเหลาดินสอ กลายเป็นแฟชั่นเครื่องเขียนที่เด็กนักเรียนจะสรรหามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงที่สวยงาม แปลกใหม่ เต็มไปด้วยสีสัน โดยเฉพาะยามเมื่อใช้มือหมุนค่อยๆ เหลาดินสอจนแหลม ได้ยินเมื่อไหร่ ก็ชวนให้คิดถึงห้องเรียนยามเด็กเมื่อนั้น
11. เสียงเปลี่ยนช่องทีวี
สมัยก่อนทีวีมีช่องมาตรฐานอยู่เพียงไม่กี่ช่อง และไม่มีรีโมทคอนโทรล หากคุณอยากจะเปลี่ยนช่อง จะต้องลุกไปกดที่ปุ่มข้างทีวี หรือแม้แต่ขยับเสาสัญญาณเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนขึ้น
12. “กรุณาคืนหนังสือภายในสองสัปดาห์”
เสียงของบรรณารักษ์ท่าทางดุแต่ความจริงแล้วใจดี อาจทำให้นักเรียนในยุคนั้นพากันขยาดห้องสมุด แต่เสียงร้องเตือน “กรุณาคืนหนังสือภายในสองสัปดาห์” พร้อมการปั๊มประทับวันที่ที่ด้านหลังของหนังสือ เป็นอะไรที่ชวนให้รำลึกถึงวัยเด็กมากจริงๆ
13. เสียงเครื่องแฟกซ์
เช่นเดียวกับโทรศัพท์บ้าน แฟกซ์เองก็เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในสำนักงานเช่นกัน ซึ่งเสียงปี๊บๆ ขณะที่ส่งและรับนั้น เคยถูกใช้เป็นเสียงแบคกราวน์เพื่อจำลองสถานการณ์ในสำนักงานด้วย
14. เสียงกล้องฟิล์ม
กล้องฟิล์มสมัยก่อนจะต้องมีการหมุนแป้นเพื่อเลื่อนฟิล์มก่อนที่จะถ่ายภาพใบถัดไป นับเป็นหนึ่งในเสียงสุดคลาสสิค ที่ในปัจจุบันยังมีหลายคนคิดถึงอยู่
15. เสียงนาฬิกาปลุก
ปัจจุบันคงไม่มีใครใช้นาฬิกาเหล่านี้อีกแล้ว เนื่องจากมีฟังก์ชันในโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถใช้ตั้งปลุกได้แบบอัตโนมัติ แถมยังเลื่อนได้ด้วย แต่เจ้าเสียงกริ่งที่น่าหนวกหูนี่แหละ ที่คอยปลุกให้ผู้คนในยุค 90s ให้ตื่นขึ้นในทุกๆ เช้า
เสียงเหล่านี้อาจกลายเป็นตัวแทน “ภาพจำ” ที่ผู้คนใช้เชื่อมโยงถึงวิถีชีวิตในอดีต วันหนึ่งข้างหน้า เราเองก็อาจมีเสียงที่เป็น “ภาพจำ” ของวันนี้เช่นเดียวกัน :)
ที่มา: rd.com