กำแพงเบอร์ลินสร้างขึ้นเมื่อปี 1961 เพื่อกั้นพรมแดนระหว่างตะวันออกกับตะวันตกของเบอร์ลิน สร้างโดยสหภาพโซเวียตที่ปกครองในส่วนตะวันออกของเมือง เป็นการปิดกั้นจากกฟาสซิตส์ตะวันตก และเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวตะวันออกหนีไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
แนวรั้วลวดหนามนี้ คือการแบ่งกั้นนี้เป็นการพรากทั้งครอบครัวและสิทธิมนุษยชน ทำให้ประชากรเบอร์ลินตะวันออกติดอยู่ภายในดินแดนของสหภาพโซเวียต กำแพงนี้มีความสูงที่ 12 ฟุต และกว้าง 4 ฟุต
อีกทั้งยังมีระบบป้องกันความปลอดภัยล้อมรอบที่เรียกกันว่า “ลานแห่งความตาย” เนื่องจากผู้คนเกือบ 100 รายที่ถูกสังหารหลังพยายามข้ามกับดักระเบิดและกับดักปืนกล
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 บางส่วนของกำแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทำลายลงโดยพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันตะวันออก และพลเมืองจากฝั่งตะวันออกสามารถนข้ามฝั่งไปเมื่อใดก็ได้ตามใจปรารถนา
ทหารเยอรมันตั้งท่ากีดกันชาวเบอร์ลินตะวันตกที่เฝ้ารอต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก ที่ป้อมยามรักษาการณ์ “ด่านชาร์ลี” ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989
เมื่อนาฬิกาตีบอกเวลาเที่ยงคืน ทุกจุดของด่านถูกบังคับให้เปิดออก
ชาวเบอร์ลินต่างถือค้อนและสิ่วเพื่อทำการทุบกำแพง
ชาวเบอร์ลินทั้งจากฝั่งตะวันออกและตะวันตกต่างกู่ร้องเฉลิมฉลองที่สามารถปีนข้ามกำแพง ณ ประตูบรันเดินบวร์ค
ในอดีตที่ผ่านมา พวกเขาหลายคนต่างพยายามที่จะข้ามเส้นแบ่งนี้ บ้างก็หันไปพึ่งการขุดอุโมงค์ บ้างก็กระโดดออกจากอาคารที่เส้นชายแดน จนเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ชาวเยอรมันตะวันตกสามารถปีนไปอยู่บนยอดกำแพงเบอร์ลินได้อย่างเสรี
ชาวเยอรมันตะวันตกฉลองในขณะที่พวกเขาสามารถปีนข้ามกำแพงเบอร์ลินที่ประตูบรันเดินบวร์ค
ในวันรุ่งขึ้นของวันที่ 10 พฤศจิกายน ชาวเยอรมันตะวันตกต่างปรบมือดีใจที่ชาวเบอร์ลินตะวันออกสามารถเดินทางผ่านด่านชาร์ลีได้แล้ว
ผู้คนมากมายที่ร่วมเฉลิมฉลองให้การต้อนรับขับสู้ที่ชาวเยอรมันตะวันออกและชาวเบอร์ลินตะวันตกผ่านด่านมาแล้ว
ขาวเบอร์ลินตะวันตกยังคงยืนอยู่เหนือกำแพงเบอร์ลิน ณ ประตูบรันเดินบวร์ค ของวันที่ 10 พฤศจิกายน
ทหารที่ชายแดนตะวันออกเบอร์ลิน ยืนมองคลื่นมวลชนนับพันอยู่บนยอดของกำแพงเบอร์ลิน ที่ประตูบรันเดินบวร์ค ในวันที่ 11 พฤศจิกายน
ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ไม่มีค้อนเล็กๆ ที่คอยกระเทาะกำแพงอีกต่อไป แต่คือการทุบทำลายด้วยรถเครนและรถแทรกเตอร์ของชาวเยอรมันตะวันออกแทน ณ Potsdamer Platz
ชาวเบอร์ลินตะวันออกข้ามฟากมาพบกับชาวเบอร์ลินตะวันตกที่ Potsdamer Platz หลังจากกำแพงเบอร์ลินพังทลายลงมาที่ด่าน ของวันที่ 12 พฤศจิกายน
ประชาชนกว่า 2 ล้านคนจากเบอร์ลินตะวันออกที่มาเยี่ยมชาวเบอร์ลินตะวันตกในช่วงสุดสัปดาห์
ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลินถูกขนขึ้นรถบรรทุกที่ Potsdamer Platz
ประชาชนพันกว่าคนพากันเดินไปยังกำแพงเบอร์ลินระหว่าง Potsdamer Platz และประตูบรันเดินบวร์ค ในวันที่ 18 พฤศจิกายน
ทว่าวันต่อมา ประขาชนก็ยังอยากมีส่วนร่วมในการทำลาย เหมือนสาวน้อยชาวเยอรมันตะวันตกคนนี้ที่ทำการทุบกำแพงเบอร์ลินในวันที่ 19 พฤศจิกายน
ส่วนอื่นๆ ของกำแพงเบอร์ลินถูกรื้อถอนออกโดยชาวเยอรมันตะวันออก ใกล้กับประตูบรันเดินบวร์ค ในวันที่ 22 ธันวาคม
ธงนี้มีความหมายว่า “เอกภาพ” โบกสะบัดพัดไหวขณะที่ชาวเยอรมันข้ามผ่านชายแดนที่ถูกเปิดใหม่ ในวันที่ 22 ธันวาคม
ต่อมาในปี 1990 ชาวพลเมืองยังคงต้องการชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลินไว้เป็นของตัวเอง เหมือนกับชายคนนี้ที่กำลังทุบกำแพงที่ด่านชาร์ลี ในวันที่ 2 มิถุนายน ปี 1990
ที่มา businessinsider.com