ขาสั่นพั่บๆ มือไม้อยู่ไม่นิ่ง เสียงก็กระเส่าเจือด้วยความตื่นเต้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อต้องจับไมค์พูดต่อหน้าสาธารณชน ความมั่นใจหล่นหายไปฉับพลัน ลืมทุกอย่างในโพย แม้จะฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีก็ตาม…
ถ้าอย่างนั้น เอาเคล็ดลับดังต่อไปนี้ไปใช้แก้ไขเมื่อต้องไปยืนพูดหน้าชั้นหรือต่อหน้าที่ประชุมดู เผื่อจะช่วยให้ผลงานดีขึ้น
เคล็ดลับก่อนขึ้นเวที
1. รู้จักผู้ฟังก่อน
ก่อนจะเริ่มกล่าวสุนทรพจน์ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงคือเราจะส่งสาส์นถึงใคร ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับกลุ่มผู้ฟังของคนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากพูดในองค์กรให้คำนึงว่าใครคือผู้ฟัง ระดับประสบการณ์เป็นอย่างไร และถ้าหากผู้ฟังอยู่ในระดับเริ่มต้น คุณก็จะใช้ภาษาอื่นในการสื่อสาร ทั้งนี้จึงจำเป็นต้องรู้ถึงความแตกต่าง
2. ฝึกฝน
ยิ่งฝึกมากยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าไหร่คุณยิ่งมั่นใจมากขึ้นเท่านั้น ผู้พูดมืออาชีพไม่ใช่เพราะเชี่ยวชาญโดยกำเนิด หากแต่พวกเขาผ่านการเตรียมตัวและปรับปรุงเทคนิคมาแล้วทั้งสิ้น
3. จัดระเบียบเนื้อหา
หากไม่จัดระเบียบเนื้อหาให้ดี จะทำให้คุณหลงประเด็นได้ง่ายมาก Katherine Burik ผู้ก่อตั้ง Doctor Interview กล่าว “ฉันจะเริ่มต้นวางแผนด้วยความตั้งใจ อะไรคือประเด็นสำคัญที่ต้องการให้แก่ผู้ชม จากนั้นก็จะคิดจากมุมมองของผู้ชม วางกรอบการพูดทั้งหมด (มีอะไรสำหรับเราบ้าง?) และสร้างกรอบหลักของคุณ และคุณจะมีการพูดที่ดี”
4. กำจัดความกลัวของการถูกปฏิเสธ
“จะเกิดอะไรขึ้นถ้าฉันถูกโห่ ถูกเบื่อหน่าย? จะทำอย่างไรถ้าเกิดสำลักคำพูด? ลืมคำพูดของตัวเอง?” เหล่านี้ต่างเป็นความคิดที่วิ่งวนอยู่ในหัวก่อนที่จะขึ้นไปพูดเสียอีก
วิธีแก้ปัญหาคือการคิดบวก ซึ่งจะทำให้รู้สึกดีโดยอัตโนมัติเนื่องจากคุณจะรู้สึกตื่นเต้นมากกว่าวิตก ซึ่งเป็นวิธีกำจัดความกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. โฟกัสที่รูปแบบ
ขณะที่คุณพูดให้เน้นที่จังหวะและการไหลลื่น สิ่งสำคัญคือปฏิบัติตามขั้นตอนการนำเสนอที่เราเตรียมมา และเช็กเรื่องการหยุดเว้นระยะเพื่อดูปฏิกริยาจากสิ่งที่พูดไป
6. มองดูตัวเองในกระจก
เทคนิคการฝึกซ้อมหน้ากระจกเป็นวิธีที่นักพูดที่มีชื่อเสียงจำนวนมากนิยมใช้กัน และเมื่อคุณใช้วิธีนี้ให้จดบันทึกการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทางของมือ การเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อดูว่าต้องปรับปรุงอะไรบ้าง
7. บันทึกน้ำเสียง
การบันทึกเสียงตัวเองจะทำให้สังเกตว่าต้องปรับปรุงน้ำเสียงอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องตรวจสอบเวลาจะช้าหรือนานอย่างไรเพื่อที่คุณจะแก้ไขได้ทัน
8. ลมหายใจ
เมื่อโฟกัสที่การหายใจน้ำเสียงของคุณจะฟังดูผ่อนคลายและมั่นใจมากขึ้น การหายใจเข้าและออกช้าๆ เป็นการปล่อยออกซิเจนไปยังสมองเพื่อให้กระบวนการคิดสมเหตุสมผลมากขึ้น
แต่เมื่อใดที่ท้องหิวโซ ออกซิเจนในสมองจะเข้าสู่โหมดโจมตีอัตโนมัติโดยจำกัดความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนและทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวายใจ
9. ออกกำลังกายเบาๆ
การออกกำลังกายก่อนการพูดจะช่วยลดระดับคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ทำให้คุณรู้สึกไม่ค่อยรู้สึกเครียดและโฟกัสได้มากขึ้น
10. เข้าคอร์สเรียน
หากต้องการประสบความสำเร็จหรือเอาชนะปัญหาการพูดในที่สาธารณะจริงๆ ให้ลองมองหาคอร์สเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ดู ซึ่งคอร์สการพูดนี้จะช่วยสอนวิธีการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถช่วยให้คุณเอาชนะความกลัวได้
11. ทำการสำรวจ
ทำการสำรวจตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่คุณจะพูด เพราะยิ่งรอบรู้กว้างขวางมากเท่าไหร่ยิ่งมั่นใจในหัวข้อที่จะพูดมากขึ้นเท่านั้น
เคล็ดลับระหว่างการพูด
12. มองหาเพื่อนคู่ชีวิต
บางคนมักสร้างตัวแทนสมมติขึ้นเมื่อต้องขึ้นเวที ยกตัวอย่าง บียอนเซ่ มีตัวแทนที่เรียกว่า Sasha Fierce ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบุคลิกของเธอสำหรับไว้ทำการแสดง โดย Sasha เป็นผู้หญิงที่กล้าหาญ ปราศจากความกลัว ซึ่งคุณสามารถเอาวีธีนี้ไปใช้ได้โดยการสร้างอีกหนึ่งตัวละครของคุณขึ้นมาสำหรับไว้พูดในที่สาธารณะ
13. ใช้เทคนิค KISS
KISS หรือ “Keep it simple stupid” เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันในหมู่ผู้เชี่ยวชาญจากทุกอุตสาหกรรม เมื่อใดก็ตามที่คุณกำลังเตรียมตัวสำหรับการนำเสนอ ให้ใช้คำสั่งนี้เพื่อให้ทุกอย่างกระชับและน่าฟัง
14. ระวังเรื่องภาษากาย
ให้ความสำคัญกับภาษากาย ยืนตัวตรงไม่ห่อไหล่ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ สบตากับผู้ฟังเมื่อคุณสนทนากับพวกเขา
15. แสดงออกถึงความชอบ
เพื่อให้คนซื้อในสิ่งที่คุณต้องการขาย ฉะนั้นก็ต้องแสดงออกถึงความหลงใหลชอบพอในสิ่งนั้น ซึ่งควรจะปลดปล่อยความจริงใจในอารมณ์เมื่อสื่อสารกับผู้ฟังหากต้องการให้พวกเขาเชื่อในตัวคุณ
16. หลีกเลี่ยงการพูดไว
เมื่อพูดไวเกินไปผู้ชมจะหลงทาง และคิดไปว่าคุณไม่แน่ใจในสิ่งที่พูด ดังนั้นคือเป็นสิ่งสำคัญที่จะปรับความเร็วในการพูดให้ช้าลง พร้อมกับหยุดพักชั่วคราวด้วย
17. เริ่มต้นด้วยดี
30 วินาทีแรกของการกล่าวสุนทรพจน์คือส่วนที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอ ซึ่งเป็นเวลาที่คุณจะได้สร้างสัมพันธ์และดึงความสนใจในตัวผู้ฟัง วิทยากรที่ดีหลายคนเริ่มต้นด้วยเรื่องส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับผู้ฟัง
18. รอยยิ้ม
การยิ้มตลอดการนำเสนอจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกยินดีตามไปด้วย รอยยิ้มยังทำให้คุณรู้สึกสงบและผ่อนคลายมากกว่าเดิม รวมทั้งทำให้คุณมีเวลาอีกสักนิดเพื่อรวบรวมความคิด
19. มีส่วนร่วมกับผู้ชม
ผู้พูดหลายคนทำพลาดในการพูดกับผู้ชมมากกว่าเพื่อผู้ชมของพวกเขา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้คำพูดของคุณลื่นไหลได้เช่นเดียวกับการนั่งสนทนากับผู้ฟัง
20. ทำสไลด์
การมีสไลด์นำเสนอมาด้วยถือเป็นอาวุธคู่กายที่ทำให้คุณจดจำประเด็นที่หลงทางได้ โดยสมาคม American Speech-Language-Hearing แนะนำว่า ให้ใช้เครื่องหมายวรรคตอนโดยใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยในสำเนาเนื้อหา และหลีกเลี่ยงการใช้คำ 8 คำต่อ 1 บรรทัดหรือ 8 คำต่อ 1 สไลด์
21. ไม่ต้องขอโทษ
เมื่อทำผิดไม่จำเป็นต้องขอโทษในระหว่างการพูดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นไปได้ว่าผู้ชมอาจไม่ทันสังเกตเห็น
22. เปลี่ยนความกระวนกระวายให้เป็นพลังด้านบวก
การเปลี่ยนความกังวลให้เป็นความตื่นเต้นจะก่อให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ ดังนั้นเมื่อคุณขึ้นไปบนเวทีอีกครั้งให้บอกตัวเองว่าคุณรู้สึกตื่นเต้นมากแค่ไหน “เมื่อคุณทำเช่นนี้ มันจะมีผลกระทบมหัศจรรย์จริงๆ กับการช่วยให้คุณเปลี่ยนทัศนคติต่อสิ่งที่กำลังจะทำ” Simon Sinek ผู้ที่เข้าร่วมการ TED Talk กล่าว
23. จบให้ไวเสมอ
เพราะเวลามีค่าคุณจึงต้องให้ความสำคัญ อย่างน้อยก็จบก่อนสักห้านาทีเร็วกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังมีโอกาสพักเบรคได้เร็วขึ้นก่อนจะเข้าสู่งานประจำวันของพวกเขา
ที่มา www.careeraddict.com