มีใบสมัครเป็นร้อยเป็นพันใบที่ต้องผ่านมือของคณะกรรมตรวจสอบการรับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ Personal Statement หรือหนังสือแนะนำตัวของเราดูโดดเด่น
โดยหนึ่งในนั้นควรประกอบด้วยความสำเร็จทางวิชาการสัก 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 30 เปอร์เซ็นต์ควรเป็นเรื่องของกิจกรรมนอกหลักสูตร ซึ่ง 3 ประเด็นหลักๆ ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรโฟกัสเป็นพิเศษ
การอ่านเพิ่มเติม
สิ่งแรกที่ต้องทำคือแสดงให้เห็นถึงความสนใจที่นอกเหนือจากสิ่งที่ได้เรียนในโรงเรียน โดยวิธีการที่ดีที่สุดของการแสดงออกถึงความสงสัยใคร่รู้คือการอ่านบทความออนไลน์ ซึ่งมีให้เห็นบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ ควรอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เลือกเรียน และศึกษาถึงมุมมองที่ได้รับจากการอ่าน เช่น เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กล่าวไว้
ความร่วมมือและการมีส่วนร่วม
เช่น เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ หรืองานนิทรรศการ รวมไปถึงประเด็นอื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจ หากอยากเรียนภาษาต่างประเทศ ก็โบยบินพาตัวเองไปยังประเทศนั้นๆ หรือพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมของคนที่พูดภาษานั้น หากจะเรียนด้านสถาปัตยกรรม ก็ควรไปเยี่ยมชมอาคารสถานที่ที่เป็นแลนมาร์กสำคัญต่างๆ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสนใจอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงสิ่งที่บอกเล่าให้คณะกรรมการฟังเท่านั้น และการเข้าฟังการบรรยายในหัวในข้อที่อยู่ในความสนใจก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยดูโดดเด่นขึ้น
การพัฒนาตนเอง
มหาวิทยาลัยต้องการทราบว่าผู้สมัครเป็นนักพัฒนาตนเอง เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากน้อยแค่ไหน วิธีที่แนะนำ เช่น ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรออนไลน์พร้อมมีเกียรติบัตรรับรองหลังจบการศึกษา ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าตัวผู้สมัครจริงจังกับการเรียนรู้มากแค่ไหน หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อพิสูจน์ความสามารถของตัวเอง
สถาบันอุดมศึกษาต้องการทราบถึงความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงของผู้สมัคร ดังนั้น หากเป็นไปได้ควรหาหนทางในการมีส่วนร่วมในสาขาวิชาที่คุณเลือกเรียน เพื่อเปิดโอกาสในการเรียนรู้ รวมไปถึงเข้าใจถึงการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ที่มา: timeshighereducation