ในฐานะคนหางาน หากเห็นประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งที่ต้องการ เชื่อว่าหลายคนต้องตาลุกวาว เตรียมอัปเดตเรซูเม่และส่งใบสมัครก่อนปิดรับสมัครอย่างแน่นอน!
แต่ใครจะรู้บ้างล่ะว่าในฐานะของบริษัทหรือองค์กรที่เปิดรับสมัครพนักงานใหม่ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการอะไรบ้างในการประกาศรับสมัครพนักงาน? หากคุณคือคนหนึ่งที่สงสัย วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณ กับ 4 ขั้นตอนกระบวนการจ้างงานที่คุณไม่มีทางรู้มาก่อน ดังนี้
#1 คุณไม่มีทางรู้ว่าตำแหน่งที่ต้องการจะว่างเมื่อไหร่
เหตุผลที่บริษัทรับสมัครงานในตำแหน่งนั้นๆ อาจมีหลายเหตุผล เช่น พนักงานต้องการลาออก, หัวหน้าอาจต้องการไล่พนักงาน, เซ็นต์สัญญาเริ่มโปรเจกต์ใหม่กับลูกค้า, มีเงินทุนเพียงพอ หรือ CEO ต้องการความเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และมันไม่สามารถคาดเดาได้
#2 คุณไม่มีทางรู้ว่าบริษัทจะเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งนั้นหรือไม่
กระบวนการจ้างงานนั้นแตกต่างกันไปในทุกองค์กร บางองค์กรอาจไม่โพสต์เปิดรับสมัครงานในที่สาธารณะ บางองค์กรอาจอาศัยการประชาสัมพันธ์ปากเปล่าหรือจากการอ้างอิงของพนักงาน เป็นต้น
#3 หมายความว่าอย่างไรเมื่อองค์กรประกาศรับสมัครงาน?
แน่นอนว่ามันคือการเปิดโอกาสให้คุณได้สมัครงาน แต่สำหรับทางองค์กรมันอาจหมายความว่า
– องค์กรมีผู้สมัครที่ต้องการและวิธีเดียวที่จะทำให้ได้รับเข้าในระบบคือการเปิดรับสมัครงาน
– บริษัทโพสต์ตำแหน่งเพื่อให้พวกเขาสามารถรวบรวมประวัติย่อของผู้สมัครสำหรับอนาคต
– บริษัทเริ่มสัมภาษณ์งานแต่ตัดสินใจที่จะไปในทิศทางอื่นแทน
จะเห็นได้ว่าการโพสต์เปิดรับสมัครงานจากทางบริษัทนั้นไม่ได้หมายความถึงการว่าจ้างงานอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแต่ละองค์กรด้วยเช่นกัน
#4 องค์กรคัดเลือกผู้สมัครอย่างไร?
แน่นอนว่าเมื่อตำแหน่งงานถูกโพสต์ ผู้สมัครต้องเริ่มส่งเรซูเม่อย่างแน่นอน และขั้นตอนต่อไปคือการเลือกประวัติย่อที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งงาน แต่สิ่งที่ผู้สมัครอาจไม่รู้นั้นก็คือ
– บางบริษัทอาจใช้ระบบ ATS เพื่อค้นหาคีย์เวิร์ดที่สำคัญสำหรับตำแหน่งงาน เพราะฉะนั้นคุณไม่รู้เลยว่าเรซูเม่ที่คุณเตรียมมาอย่างดีนั้นจะมีคำคีย์เวิร์ดตามที่บริษัทตั้งไว้หรือไม่
– ไม่ว่าจะเป็นผู้สรรหาหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ที่กำลังทำการตรวจคัดกรองนั้นรู้เพียงพอเกี่ยวกับตำแหน่งที่จะสามารถระบุผู้สมัครที่มีศักยภาพได้หรือไม่
จะเห็นได้ว่าแต่ละองค์กรนั้นก็มีปัจจัยหลายอย่างในการเปิดรับสมัครพนักงาน เมื่อรู้แบบนี้แล้วก็ควรเตรียมตัวให้พร้อม และพร้อมกับมือกับทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม!
ที่มา: careerpivot