ต้องยอมรับนะคะว่ามนุษย์อย่างเราต้องกินทุกวัน วันละ 3 มื้อด้วยสิ ฉะนั้นเราคงไม่คิดอะไรกันมากหรอกใช่มั้ยล่ะว่ามื้อนี่ต้องมีแคลอรี่เท่าไร อันไหนไม่ดีต่อสุขภาพเรา พอเราไม่คิดปุ๊บ พุงก็ออกมาปั๊บ ! วันนี้ทาง scholarship.in.th มีเคล็ดลับง่ายๆมาฝากให้เพื่อนได้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมการกินดูค่ะ
1. มื้อเย็นเท่านั้นที่หนักสุด
การปล่อยตัวเองให้บริโภคมื้อเย็นจำนวนมาก ทำให้มีแนวโน้มที่จะ มีแคลอรีสะสมในร่างกายได้มาก เนื่องจากไม่นานก็จะพักผ่อนแล้ว ร่างกายจึงไม่ได้นำพลังงานส่วนดังกล่าวมาใช้ แต่จะนำไปเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายในรูปไขมันแทน
2.มื้อหลักไม่สนใจ เน้นขนมจุบจิบระหว่างมื้อ
การกินขนมจุบจิบตลอดทั้งวัน ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินน้อยลง จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำหนักตัวเกิน อีกทั้งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้อีกด้วย
3.กินอาหารแบบเดิมบ่อยๆ
หากกินแค่ชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำๆ กันเป็นเวลานานๆ อาจได้แคลอรีเกิน และได้สารอาหารที่จำเป็นไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการได้
4. อดอาหารเพื่อลดน้ำหนักเพียงระยะเวลาสั้นๆ
สาวๆ จำนวนหนึ่งมักหักโหมลดน้ำหนักโดยเน้นควบคุมอาหาร และเข้มงวดกับการกินจำกัดเป็นช่วงๆ ส่วนใหญ่จะลดน้ำหนักได้สมใจในระยะสั้น แต่เมื่อกลับไปใช้ชีวิตปกติ น้ำหนักตัวขนาดเดิมก็จะกลับมาอีกอย่าง รวดเร็ว เรียกว่าอาการโยโย่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องและไม่ดีต่อสุขภาพ วิธีการที่เหมาะสมคือ การค่อยๆ ลดน้ำหนักลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ โดยการควบคุมอาหารลดปริมาณ แป้งและไขมัน ขณะเดียวกันก็ออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อที่จะ ช่วยในการเผาผลาญพลังงานด้วย ลดความอ้วนจึงจะเป็นไปอย่างเหมาะสมในที่สุด
5.กินแต่อาหารไขมันต่ำและปราศจากน้ำตาล
อาหารประเภทไขมันต่ำ (low-fat)และปราศจากน้ำตาล (sugar-free) ไม่ได้หมายความว่าอาหารนั้นจะมีแคลอรีน้อยกว่าอาหารปกติ ดังนั้นหากมีฉลากต้องอ่านอย่างละเอียด หากไม่มีฉลาก เราต้องคำนวณปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับในแต่ละวันเองนะคะ
source: eduzones