น้องๆและเพื่อนๆคนไหนที่กำลังจะไปศึกษาต่อต่างประเทศเร็วๆนี้ หรือมีแพลนกำลังอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ เคยคิดไว้มั้ยคะว่าเราจะเจอสภาพแวดล้อมแบบไหน ที่สำคัญ เจออาจารย์ที่ปรึกษาแบบไหน ที่จะทำให้การเรียนเรารุ่งหรือร่วง มาดูลักษณะอาจารย์ที่เราจะได้เจอกันเถอะ
ห้องเรียนเมืองนอกไม่เหมือนเมืองไทย อาจารย์เมืองนอกก็มีแนวคิดและวิธีการอะไรหลายๆ อย่างที่ต่างจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเมืองไทย โดยเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษา มารู้จักประเภทของอาจารย์ที่ปรึกษา หรือที่เราเรียกว่า ซุปเปอร์ไวเซอร์
1. อาจารย์ “ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก”
น้องๆ อาจจะดีใจในตอนแรกเมื่อรู้ว่าอาจารย์ที่ปรึกษาของเรานั้นเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้เขียนหนังสือเรียนที่เราใช้ แต่อย่าลืมว่าชื่อเสียงของอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้นย่อมมีการประชุมสัมมนาระดับโลกตามมา บางครั้งอาจารย์อาจจะต้องไปให้สัมภาษณ์วารสารวิชาการหรือหนังสือพิมพ์ จนไม่มีเวลาจะมาช่วยดูวิทยานิพนธ์ให้เราเลยก็ได้ กลายเป็นว่าเราเจออาจารย์ในทีวีบ่อยกว่าในออฟฟิศของมหาวิทยาลัยซะอีก เฮ่ออออ เอาเป็นว่าก่อนกลับก็อย่าลืมขอลายเซ็นแกมาประดับหนังสือเรียนไว้ซักหน่อยละกันนะ
2. อาจารย์ “ล่องหน”
ในขณะที่การหายตัวของอาจารย์ “ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก” นั้นมีเหตุผล แต่อาจารย์ “ล่องหน” นี้กลับหายตัวไปเฉยๆ โดยที่เราอาจจะเห็นแกนั่งดื่มกาแฟในห้องพักอาจารย์ตลอดเวลา แต่พออยากจะขอนัดหมายล่วงหน้าเพื่อคุยงานแกกลับบอกว่าแกยุ่งมาก มาก มาก จนไม่มีเวลาให้ (ถ้าแกตอบอีเมลน่ะนะ) จนกระทั่งเราเริ่มจะมองไม่เห็นความหวังที่จะได้พบหน้าท่านอีกต่อไป และบางครั้งเราอาจไม่มั่นใจว่าอาจารย์คนนี้ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า เพราะไม่เคยมีใครได้พบหน้าแกเลย
3. อาจารย์ “เจ้าเสน่ห์”
ถ้าเคยอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นประมาณว่านักเรียนแอบชอบอาจารย์ อาจารย์เหล่านี้ก็ประมาณนี้เลย ทั้งฉลาด หลักแหลม และดูดี และมีความสามารถอย่างสุดแสนในหัวข้อวิจัยของเรา อันนี้ต้องเตือนนักศึกษาไม่ว่าจะหนุ่มสาว หากอาจารย์ของคุณตีตัวสนิทเกินจำเป็น สบตาคุณบ่อย หรือกระทั่งถูกเนื้อต้องตัว ขอให้ระวังตัวเองให้ดีเพราะทั้งคุณและอาจารย์อาจมีความผิดทั้งคู่ได้ (และไม่มีอะไรรับประกันซักหน่อยว่าเค้าจะทำแบบนี้กับคุณคนเดียว)
4. อาจารย์ “นักฆ่า”
อาจารย์กลุ่มนี้ทั้งน่ารักและแสนดี ให้ Feedback ที่เป็นประโยชน์กับคุณและอาจจะเคยชนแก้วกับคุณในงานเลี้ยงของแผนก ทำให้คุณคิดว่าเกรดที่คุณฝันไว้ไม่ลอยไปไหนแน่ๆ แต่พอเข้าไปเช็คในระบบฝันก็สลาย กลายเป็นว่าเค้าให้เราแค่ “พอผ่าน” โดยที่เราไม่รู้เลยว่าเราทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ถ้าเจอแบบนี้ก็ขมขื่นนิดนึงเพราะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าต้องรอดูผลเวลาเกรดออกเท่านั้น
5. อาจารย์ที่ปรึกษา “สมบูรณ์แบบ”
หายากที่สุดในกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมด เป็นเหมือนนินจาที่เรารู้ว่าน่าจะมีอยู่แต่ไม่เคยเห็นซักที เป็นอาจารย์ที่นัดหมายเราเป็นประจำ ให้ Feedback ที่ดี และชงชาให้เมื่อเราเข้าไปหาแกในออฟฟิศ และให้เกรดเราตามที่เราคาดหวังไว้ว่าจะได้ ซึ่งเอาจริงๆ นะ ถ้าใครได้อาจารย์ที่ปรึกษาแบบนี้ถือว่าโชคดีสุดๆ เพราะจะช่วยให้การเรียนของเราสบายขึ้นอีกเยอะ (แต่ส่วนมากเรามักจะได้ยินจากเพื่อนของเพื่อนเรามากกว่าว่าเค้าได้ที่ปรึกษาแบบนี้ ไม่ใช่ตัวเราเองหรอก)
ถ้าเพื่อนๆได้เจออาจารย์เหล่านี้ต้องรู้จักปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับนิสัยการสอนของอาจารย์นะคะ ถึงจะเรียกว่าอยู่เป็น หากเพื่อนๆปรับตัวได้แล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าเกรดดีๆจะหลุดลอยไปไหนนะคะ ^^
source: eduzones