ใครจะไปคาดคิดกันหล่ะครับ ว่าสิ่งมีชีวิตอย่างเราๆหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ล้วนเกิดมาจากสิ่งเล็กๆที่เรียกว่า เซลล์กันทั้งนั้น ซึ่งผู้ไขความกระจ่างเหล่านี้ก็คงหนีไม่พ้นนักชีววิทยา ที่คอยศึกษาสิ่งเล็กๆเหล่านี้ ดังนั้นในวันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกับ 7 นักชีววิทยา ผู้ซึ่งได้กลายมาเป็นตำนานระดับโลก
1.ชาร์ลส์ ดาร์วิน
เขาได้ทำการล่องทะเลไปกับเรือหลวงบีเกิล ในปี 1831 ทำให้เขาได้พบกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และเขาก็จดบันทึกเอาไว้ในสิ่งที่เขาสนใจ จนทำให้เขามุ่งมั่นที่จะค้นหาคำตอบในสิ่งนั้น ตัวอย่างสิ่งที่คาใจ เช่น
ทำไมหมู่เกาะเล็ก ๆ อย่างกาลาปากอสจึงมีนกจาบปีกอ่อนหลายชนิด
แมลงสามารถพรางตัวให้มีรูปร่างและสีสันกลมกลืนกับใบไม้ที่มันเกาะอยู่ได้อย่างไร
ทำไมฟอสซิลของสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จึงดูคล้ายสัตว์ยุคปัจจุบันอย่างตัวนิ่ม
จนในปี 1859 ดาร์วินก็ตีพิมพ์คำตอบที่ค้นพบออกมาเป็นหนังสือชื่อ กำเนิดแห่งชีวิต (The Origin of Species) โดยเขียนถึงทฤษฎีวิวัฒนาการผ่านการคัดสรรตามธรรมชาติของเขาว่า เราพอจะกล่าวได้หรือไม่ว่า สัตว์ชนิดหนึ่งที่มีข้อได้เปรียบเหนือสัตว์อื่น ๆ แม้เพียงเล็กน้อย จะมีโอกาสรอดมากกว่าและสืบทอดวงศ์วานต่อไปได้ หรือหากมีลักษณะแปรผันใด ๆ ในตัว ซึ่งเป็นอันตรายต่อพวกพ้องแม้เพียงน้อยนิดก็จะถูกกำจัดไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2.เกรกอร์ เมนเดล
นับได้ว่าเป็นนักชีววิทยาที่เคยถูกลืมไปชั่วขณะ เนื่องจากผลงานของเขานั้นถูกยอมรับหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้วถึง 16 ปี โดยสิ่งที่เขาทิ้งไว้ให้กับมวลมนุษยชาติก็คือ กฎแห่งพันธุกรรม จากการศึกษาค้นคว้าในสวนหลังอารามของเขา โดยอาศัยเพียงพลั่วทำสวนบวกกับความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์
โดยค้นพบว่าการถ่ายทอดลักษณะเด่นและด้อยไปสู่ลูกหลานมีอัตราส่วนเป็น 3 : 1 ทำให้เมนเดลตั้งเป็นทฤษฎีใหม่ว่า ลักษณะที่สามารถถ่ายอดทางพันธุกรรมนั้นจะถูกส่งผ่านไปสู่ลูกหลานอย่างเป็นระบบด้วยปัจจัยที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่ายีนนั่นเอง
3.หลุยส์ ปาสเตอร์
หลุยส์ ปาสเตอร์มีผลงานเด่นๆอยู่ 3 อย่าง อันได้แก่
จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย ซึ่งทำให้เขาพัฒนาผลงานได้อีก 2 ผลงานคือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และวิธีพาสเจอร์ไรซ์
วิธีการพาสเจอร์ไรซ์ คือกระบวนการทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดเพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น สำหรับนมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อนี้จะมีคุณค่าสารอาหารเกือบเท่ากับน้ำนมก่อนผ่านการฆ่าเชื้อ
วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า : เป็นโรคที่ทำให้คนตายไปพอสมควรและจากการพบวัคซีนนี้ทำให้ค้นพบวัคซียรักษาโรค อีกมากมายเช่น อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมาก
4.เจมส์ ดี. วัตสัน
ปี 1951 วัตสัน ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาเอกในอังกฤษ ได้ร่วมมือกับนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ฟรานซิส คริก เพื่อหาคำตอบให้กับปมปริศนาสำคัญในวงการชีววิทยา นั่นคือ โครงสร้างโมเลกุลของสารดีเอ็นเอ
ทั้งคู่ใช้เวลาเพียงปีครึ่งในการสร้างภาพจำลองโครงสร้างดีเอ็นเอสามมิติจนสำเร็จโดยอิงการศึกษาของมอริซ วิลกินส์ ภาพดีเอ็นเอจากเครื่องเอกซเรย์ เมื่อปี 1952 ของโรซาลินด์ แฟรงคลินจากคิงส์คอลเลจโครงสร้างเกลียวคู่ (Double Helix) แสดงถึงกลไกที่ดีเอ็นเอของเซลล์ใช้ในการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมและส่งผ่านไปสู่ลูกหลาน แนวคิดดังกล่าวจุดประกายยุคทองของวงการชีววิทยาระดับโมเลกุล ซึ่งทำให้มนุษย์หันมาสนใจการจัดการกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของตนเองในที่สุด
5.โทมัส มอร์แกน
โทมัส มอร์แกน ใช้เวลาเกือบ 20 ปีศึกษาค้นคว้าอยู่ใน ห้องแมลงหวี่ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งเต็มไปด้วยขวดบรรจุแมลงหวี่ Drosophila และเป็นห้องที่เขาได้สร้างสรรค์แนวคิดอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับพันธุศาสตร์ในภายหลัง โดยมอร์แกนได้ศึกษาต่อยอดจากแนวคิดของเมนเดลเกี่ยวกับการสืบทอดทางพันธุกรรม หนังสือของมอร์แกนซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1926 โดยใช้ชื่อว่า ทฤษฏีเกี่ยวกับยีน (The Theory of Gene)
6.อันทอน วัน เลเวนฮุก
อันทอน วัน เลเวนฮุก เขียนบันทึกไว้เมื่อปี 1676 ว่า ในสายตาข้าพเจ้า ไม่มีอะไรน่ามองยิ่งไปกว่าสิ่งมีชีวิตนับพันที่อยู่ในน้ำแค่หยดเดียวนี้อีกแล้ว เนื่องจากการค้นพบโปรโตซัว และ แบคทีเรีย นอกจากนี้เขายังประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์และเลนส์แบบต่าง ๆ ไว้มากมาย
แล้วเราจะมาพบกับวาไรตี้ดีๆ จากรอบโลก อัพเดททุกๆวัน กับ ScholarShip.in.th กันนะครับผม
ที่มา: Mthai