ในแต่ละภาษาก็มีเรื่องราวสนุกๆ และน่าสนใจที่แตกต่างกัน วันนี้เราจึงมีข้อเท็จจริง 6 ข้อน่ารู้ สำหรับใครที่กำลังเรียนหรือสนใจจะเรียนภาษาเยอรมัน
ทั้ง 6 ข้อนั้นจะสนุกแค่ไหนก็ไปดูกันด้านล่างได้เลย ^^’
#1 ภาษาเยอรมันไม่ได้ใช้ในประเทศเยอรมนีเท่านั้น
ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่พูดกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในสหภาพยุโรป เรียกว่านำทั้งภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส หรือแม้แต่กระทั่งภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นภาษาราชการในประเทศเยอรมนี, ออสเตรีย และลิกเตนสไตน์ และเป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก เรียกได้ว่าภาษาเยอรมันอยู่ในอันดับที่ 11 ในภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในโลก
#2 ภาษาเยอรมันมีสามเพศ
ในภาษาโรมานซ์หลายๆ คำนามจะมีทั้งเพศชาย และเพศหญิง ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องยากสำหรับเจ้าของภาษาและนักเรียนทั่วไป แต่สำหรับภาษาเยอรมันก็ยิ่งก้าวไปอีกขั้นหนุ่ง เพราะนอกจากเพศชายและหญิงแล้ว คำนามสามารถไม่มีเพศได้ด้วย ซึ่งเพศของคำนามนั้นจะถูกกำหนดโดยไวยากรณ์เท่านั้น เช่น “Das Mädchen” คำนี้เป็นคำนามไม่มีเพศ แม้จะมีความหมายว่า ‘หญิงสาว’ ก็ตาม
#3 ตัวอักษรตัวแรกของคำนามทั้งหมดจะใช้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
ในภาษาเยอรมันคำนามตัวแรกทั้งหมดจะใช้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษที่จะใช้เพียงคำเฉพาะ หรือ I เท่านั้น เพราะกฎนี้ไม่เพียงแต่ใช้กับชื่อที่เหมาะสมแต่มันถูกใช้แบบไม่มีข้อยกเว้น
#4 ภาษาเยอรมันมีอักษรเฉพาะ
ภาษาเยอรมันใช้อักษรละติน อย่างไรก็ตามมีพยัญชนะเพิ่มเติมที่โดดเด่นเช่น ß เรียกว่า “Eszett” ตัวอักษรนี้จะไม่เคยถูกใช้อยู่ในตัวอักษรเริ่มต้นของคำ หรือตามหลังสระเสียงยาวและคำควบกล้ำ และมันจะถูกใช้ในรูปของ double-s เท่านั้น
#5 คำที่มีเฉพาะในภาษาเยอรมัน
คำศัพท์บางคำไม่มีในภาษาอื่น ตัวอย่างเช่น “fremdschämen” หมายถึงความละอายใจกับสิ่งที่คนอื่นทำ และ “Fernweh” แปลว่า farsickness หรือโหยหาสถานที่ห่างไกล โดยเฉพาะที่ที่ยังไม่เคยไป เป็นคำตรงกันข้ามกับ “Heimweh” ที่แปลว่า ‘homesick’ หรือคิดถึงบ้าน
#6 คำภาษาเยอรมันที่ยาวที่สุด
ภาษาเยอรมันเป็นที่รู้จักสำหรับคำที่ยาวไม่รู้จบ หนึ่งในคำศัพท์คำนั้นคือ “Grundstücksverkehrsgenehmigungszuständigkeitsübertragungsverordnung” แปลว่า ‘ระเบียบว่าด้วยการมอบอำนาจเกี่ยวกับการอนุญาตการขนส่งทางบก’
คำสร้างใหม่นี้มาจากสำนวนภาษาของเอกสารทางการ ทั้งนี้แม้อาจจะดูยาวแต่ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่นำคำศัพท์ต่างๆ มาต่อกันจนเกิดเป็นคำใหม่ได้ เช่นคำว่า ‘Staubsauger’ (เครื่องดูดฝุ่น) เป็นคำที่มีคำศัพท์สองคำรวมกันอย่าง ‘dust’ และ ‘sucking’
ในแต่ละภาษาก็มีลักษณะเด่นที่น่ารู้และน่าสนใจแตกต่างกันออกไป แต่เชื่อว่าไม่ว่าจะเลือกเรียนภาษาไหนๆ ก็สามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในอนาคตได้อยู่ดี ^^’
ที่มา: deutschland