หลายๆ คนอาจติดนิสัยเขียนผิดเป็นประจำ อาจจะเป็นเพราะความไม่รู้หรือเพราะความไม่รอบคอบอะไรก็แล้วแต่ แต่ความผิดพลาดในการสะกดคำหรือการใช้ไวยากรณ์นั้นอาจส่งผลต่อผู้รับ และทำให้ความประทับใจแรกนั้นพังทลายไปอย่างสิ้นเชิง
โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการเขียนอีเมลฝึกงาน สมัครงาน หรือติดต่อในบริษัท การพิมพ์ผิดพลาด หรือการใช้ไวยากรณ์ผิดพลาดนั้นไม่ควรเกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย มาดูกันดีกว่าว่า 6 หลักไวยากรณ์ที่ควรระวังอย่าใช้ผิดนั้นมีอะไรบ้าง!
#1 Fewer vs. Less
– ใช้ Fewer เมื่อสามารถนับจำนวนสิ่งที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ได้ เช่น “Fewer than the required number of people passed the test.”
– ใช้ Less เมื่ออธิบายแนวคิดที่จับต้องไม่ได้ เช่น เวลา เช่น “It took me less time to complete the paper.”
#2 Which vs. That
– ใช้ Which เมื่อสามารถลบ Which ออกได้โดยไม่เปลี่ยนความหมายของประโยค
– ใช้ That เมื่อไม่สามารถลบออกโดยไม่เปลี่ยนความหมายของประโยค ให้ใช้ That
– ถ้าวลีหรือประโยคถูกชดเชยด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) สามารถใช้ Which แทนได้
– หากในประโยคไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) ก็สามารถใช้ That ในประโยคนั้นได้
#3 Into vs. In to
– Into มักแสดงถึงการบ่งบอกการเคลื่อนไหว เช่น “I walked into the office twenty minutes late.”
– ส่วน In to นั้นสามารถใช้ได้หลายรูปแบบ และมักไม่มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว เช่น “I was called in to go over the reports.”
#4 Like vs. Such as
– Like มักจะถูกใช้ในประโยคสนทนาหรือคำพูดที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ
– Like มักจะใช้เปรียบเทียบสองสิ่งที่เหมือนกัน เช่น “My stupid dog barks like every other dog.”
– Such as จะถูกใช้เพื่อยกตัวอย่าง เช่น “My stupid dog has many annoying qualities, such as his tendency to bark loudly late in the night.”
#5 Me vs. I
– Me เป็นคำสรรพนามที่ถูกกระทำ เช่น “Cookie Monster loves me.”
– I เป็นคำสรรพนามที่เป็นผู้กระทำ เช่น “I love cake.”
#6 Advise vs. Advice
– To advise (ลงท้ายด้วย s) เป็นคำกริยา หมายถึงให้คำแนะนำ
– Advice (ลงท้ายด้วย c) เป็นคำนาม หมายถึงการแนะนำ
– *ทริคการจำ* Advisors advise
คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจนำไปสู่การพัฒนาทางด้านภาษาที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต! หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะ 🙂
ที่มา: thelanguagenerds