ทุกครั้งที่มองหาวิธีทำอย่างไรให้เรียนเก่งขึ้น ก็มักเจอคำแนะนำที่เหมือนๆ กัน และไม่มีอะไรแปลกใหม่ เช่น ทำตารางติวหนังสือ ทบทวนบ่อยๆ หรือนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
แต่ในบทความนี้ เรามีเคล็ดลับการเรียนที่มีประสิทธิภาพช่วยให้การเรียนบรรลุเป้าหมาย และเรียนดีกว่าเพื่อนร่วมชั้นอีกด้วย
1. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ และสร้างเป็นมุมมองของตัวเอง
โดยทั่วไป นักเรียนมักมองหาโน๊ตดีๆ ที่เชื่อถือได้ ทั้งจากเพื่อนร่วมชั้น หนังสือ หรือแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดี แต่จะดีกว่านี้หากเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง (หนังสือ การนำเสนอ วีดิโอ เป็นต้น) แล้วทำการรวบรวมเนื้อหาเข้าด้วยกันโดยสร้างเนื้อหาใจความด้วยตัวคุณเอง
ซึ่งการทำเช่นนี้ คุณจะมั่นใจได้ว่าเนื้อหาสาระมันไม่คงที่ แต่ปรับปรุงได้ต่อเรื่อยๆ และเมื่อพบข้อมูลใหม่ๆ ที่น่าสนใจก็ใส่เพิ่มลงไป ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจถึงประเด็นต่างๆ ได้ลึกยิ่งขึ้น
2. วัดผลความก้าวหน้าตั้งแต่วันแรก
วิธีนี้อาจไม่ดูแปลกใหม่อะไร แต่การวัดผลประเมินผลตัวเอง ทำให้เราเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน รวมไปถึงพัฒนาการ และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระหว่างเรียน
3. เรียนรู้ด้วยความฉลาดทางอารมณ์
ในหลายกรณี สิ่งที่ทำให้นักเรียนโดดเด่นไม่ใช่ความฉลาดทางวิชาการซะทีเดียว แต่เป็นความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งความฉลาดทางอารมณ์เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรักษาแรงจูงใจ และรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียด
จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน (EQ) เป็นตัวทำนายความสำเร็จที่ดีกว่าความฉลาดทางสติปัญญา (IQ)
ดังนั้น อย่ามองว่าการเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวสอบ เพราะนี่จะเป็นการเน้นไปที่การสอบ แทนที่จะเป็นการแสวงหาความรู้
ซึ่งหากคุณเน้นไปที่การเรียนรู้แทนการตะบี้ตะบันยัดเยียด ความรู้ความเข้าใจ และการประหวัดนึกถึงข้อมูลที่ผ่านมาจะดีกว่ามาก
4. อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
นักเรียนตัวท๊อปๆ ของห้องไม่ได้สนใจว่าคนคนนั้นจะทำอะไรบ้าง แต่พวกเขาโฟกัสไปที่เป้าหมาย และความต้องการที่แท้จริง การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ มีแต่สร้างความกดดัน ยับยั้งทั้งแรงจูงใจ และความคิดสร้างสรรค์
5. หลีกเลี่ยงการใช้ทางลัด
สิ่งสำคัญคือประสบการณ์เรียนรู้ส่วนบุคคล แม้รู้ดีว่าคุณสามารถหาคำตอบของแบบฝึกหัดได้จากอินเทอร์เน็ต หรือเพื่อนร่วมชั้นที่พร้อมจะให้ลอกการบ้าน แน่นอนว่าเราสามารถขอความช่วยเหลือจากคนอื่นได้ แต่ควรวางเป้าหมายการเรียนรู้ส่วนบุคคลไว้เป็นอันดับแรกเสมอ หาหนทางเรียนรู้ และหาคำตอบด้วยตัวเอง
6. พูดคุยกับผู้อื่น
ในขณะที่ควรมีเป้าหมายการเรียนรู้ส่วนบุคคล แต่การศึกษาเล่าเรียนก็สามารถเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันได้ ทั้งนี้มีหลายวิธีในการสื่อสาร หรือให้ความรู้ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครู หรือเพื่อนร่วมชั้น ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราได้แนวคิดและแบ่งปันมุมมองร่วมกัน
ที่มา: www.goconqr.com