หากใครกำลังหางานแต่ไม่รู้จักเว็บไซต์ LinkedIn ก็ถือว่าพลาดแล้ว!! ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ หรือนักศึกษาจบใหม่ LinkedIn ถือเป็นเครือข่ายแวดวงการงานสุดมืออาชีพ
เพราะการหางานไม่ใช่แค่การอัปโหลด CV หรือกรอกรายละเอียดบางอย่างเท่านั้น ยังมีบริษัทหลายแห่งได้ค้นหาบุคคลและเรียกสัมภาษณ์ผ่านทางเครือข่ายอย่าง LinkedIn หากใครยังไม่มีบัญชีในเว็บไซต์นี้แล้วล่ะก็ สมัครได้ง่ายๆ จาก 7 วิธีนี้เลย!
#1 อย่ามัวรีรอ สมัครสมาชิกและหางานทันที!
อย่ารอช้าในการสมัคร LinkedIn ใครที่อยากได้งานไวๆ ก็สามารถสมัครได้ตั้งแต่อยู่ที่มหาวิทยาลัย เพราะนอกจากจะหางานได้แล้วยังสามารถหาสถานที่ฝึกงานได้ด้วย องค์กรบน LinkedIn อาจกำลังมองหาผู้สำเร็จการศึกษาที่มีทักษะเฉพาะทางที่คุณมีก็ได้! ลงทะเบียนและกรอกข้อมูลโปรไฟล์ของคุณทันทีที่คุณอ่านโพสต์นี้จบ
#2 ความเป็นส่วนตัวไม่ใช่ประเด็น อัปโหลดรูปภาพของตัวเองซะ!
โปรดจำไว้ว่า LinkedIn เป็นเครือข่ายมืออาชีพ และควรอัปโหลดรูปภาพของคุณบนโปรไฟล์ และอย่าปล่อยให้ว่างไว้ อีกทั้งควรเลือกรูปภาพที่แสดงความเป็นมืออาชีพ มีความเป็นทางการในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน
#3 ขายประสบการณ์ของคุณ!
คุณควรแสดงประสบการณ์ สิ่งที่เคยทำในองค์กรต่างๆ ไว้ให้ชัดเจน รวมถึงรวบรวมข้อมูลสรุปว่างานและความรับผิดชอบของคุณที่เคยผ่านมาคืออะไร เพราะมันจะไม่มีประโยชน์เลยหากเพียงแสดงว่าคุณเคยทำงานใน บริษัทชั้นนำ แต่ไม่ได้อธิบายถึงสิ่งที่คุณเคยทำที่นั่น เพราะฉะนั้น กรอกเลย!
#4 เคล็ดลับง่ายๆ จัดรูปแบบ URL โปรไฟล์ของคุณ!
เป็นหนึ่งในเคล็ดลับยอดนิยมที่สามารถทำได้ง่ายๆ โดยโปรไฟล์สาธารณะใน LinkedIn จะเป็นดังนี้ www.linkedin.com/pub/XXXXXXXXXX/40/9a0/854 ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเพื่อระบุตัวตนของตนเองและทำให้จำง่ายขึ้นได้ เช่น www.linkedin.com/in/faizanpatankar
เปลี่ยนได้ง่ายๆ โดยไปที่หน้าโปรไฟล์ของคุณและเลือก “แก้ไขโปรไฟล์” จากส่วน “โปรไฟล์” บนแถบเมนูหลักที่ด้านบน -> ไปที่ลิงก์ถัดจาก “โปรไฟล์สาธารณะ” ในช่องด้านหน้า -> คลิก “แก้ไข” เพื่อแก้ไข URL -> ไปที่ช่อง “URL โปรไฟล์สาธารณะของคุณ” ในแผงด้านขวามือของหน้า -> คลิกที่ “กำหนด URL โปรไฟล์สาธารณะของคุณเอง” จำเป็นสำหรับคนหางานสุดๆ
#5 เข้าร่วมกลุ่มสนทนา ปราศัย เวิร์กชอบต่างๆ
เมื่อคุณอัปเดตโปรไฟล์ของคุณแล้วก็ถึงเวลาเข้าร่วมกลุ่มและมีส่วนร่วมในการสนทนา เริ่มสร้างเครือข่ายและแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่คุณมีประสบการณ์หรือความรู้ นี่เป็นวิธีหนึ่งในการแสดงความรู้ของคุณให้กับผู้ที่อาจสนใจค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณ
#6 ใช้คำคีย์เวิร์ดที่สำคัญและเหมาะสมบน LinkedIn
ใช้คำที่เหมาะสม ในฐานะผู้หางาน สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าประสบการณ์ของคุณคืออะไรและจะนำเสนออย่างไรโดยใช้คำหลักที่นายจ้างเข้าใจ และต้องรู้ว่าตำแหน่งที่ต้องการนั้นควรใช้คีย์เวิร์ดอย่างไร
#7 ขอคำแนะนำ และหาทางให้ตัวเองถูกแนะนำ
เพราะกุญแจสำคัญของ LinkedIn คือการมีเครือข่าย เพราะฉะนั้นหากคุณมีนายจ้างหรืออาจารย์สายวิชาการของคุณเป็นเครือข่ายก็สามารถขอคำแนะนำจากพวกเขาได้ คล้ายกับมีบุคคลอ้างอิงที่สร้างความมั่นใจให้คุณว่ามีโอกาสได้งานในอนาคต
หากทำตามทั้ง 7 ข้อนี้ให้ดีและหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาด LinkedIn ถือเป็นตัวช่วยชั้นเยี่ยมที่อาจช่วยให้คุณได้งานตามที่ตั้งใจ : )
ที่มา: careergeekblog