การผลักดันตัวเองไปเรียนต่อต่างประเทศคือความฝันขั้นสูงของใครหลายคน แต่กว่าจะไปได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยบ้านเรา
แต่ถ้าผ่านหลายด่านจนได้รับการยอมรับจากสถาบันในต่างประเทศแล้ว และตอนนี้ก็เป็นเรื่องของการเตรียมตัวเดินทาง จัดการเรื่องการเงิน ซึ่งมีมากมายหลายสิ่งจนไม่รู้จะเตรียมอย่างไรดี วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน
1. ไปทำพาสปอร์ตและวีซ่า
เรื่องสำคัญอันดับหนึ่งของการเรียนต่อต่างประเทศคือต้องมีหนังสือเดินทางที่ถูกต้อง หากมีไว้ครอบครองอยู่แล้วก็อย่าลืมตรวจสอบเรื่องวันหมดอายุด้วยล่ะ และจะไม่หมดอายุภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ตั้งใจจะกลับมายังประเทศบ้านเกิด
สำหรับใครที่เดินทางไปต่างประเทศในช่วงหน้าร้อนหรืออยู่ไม่เกิน 3 เดือน อาจไม่ต้องใช้วีซ่า สำหรับบางประเทศ ประเทศส่วนใหญ่จะอนุญาตให้นักเรียนเข้าประเทศได้ถึง 90 วันโดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดนี้ใช้ไม่ได้กับทุกประเทศดังนั้นจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างละเอียด
2. พบแพทย์
ไปพบแพทย์ตรวจสภาพร่ากายก่อนไปเรียนต่อต่างประเทศเพื่อให้ชัวร์ว่ามีสุขภาพที่ดี และนำสำเนาบันทึกทางการแพทย์ติดตัวไปด้วยเผื่อกรณีฉุกเฉินในต่างประเทศ
นอกจากนี้ ต้องทราบข้อกำหนดเรื่องโรคหรือภูมิคุ้มกันพร้อมฉีดวัคซีนก่อนเดินทางตามระเบียบประเทศนั้นๆ และหากคุณมีอาการทางการแพทย์ที่ต้องใช้ยาตามใบสั่งแพทย์คุณอาจต้องการนำเอกสารนี้ติดตัวไปด้วย
3. ประกันการเดินทาง
จำเป็นต้องมีประกันอุบัติเหตุที่น่าเชื่อถือในขณะที่กำลังเรียนอยู่ที่ต่างประเทศ ซึ่งประกันสุขภาพบางเจ้าอาจครอบคลุมทั้งประกันการเดินทางด้วย
4. ซื้อตั๋วเครื่องบิน
ปัจจุบันการหาตั๋วเครื่องบินราคาถูกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ซึ่งมีทั้งแหล่งข้อมูลเว็บไซต์มากมายให้เลือกสรร ส่วนค่าโดยสารก็จะขึ้นอยู่กับวันเวลาในการบินและจุดหมายปลายทางที่เลือก
ตัวเลือกที่น่าสนใจเช่น Kayak คือเว็บไซต์ที่แสดงให้คุณเห็นการเปรียบเทียบเที่ยวบินสำหรับวันที่คุณต้องการบิน
นอกจากนี้เอเจนซี่ท่องเที่ยวสำหรับนักเรียนเช่น STA Travel และ Student Universe ยังสามารถจัดตั๋วที่มีความยืดหยุ่นและราคาไม่แพงมากสำหรับนักเรียนที่เดินทางไปต่างประเทศด้วย
5. สำรวจวัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้คนของประเทศที่จะไป
ใช้เวลาทำความรู้จักกับข้อมูลประเทศนั้นๆ ซึ่งคุณจะต้องใช้เวลาในการศึกษาอยู่ที่นั่นหลายเดือน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจรายละเอียดเพื่อประสบการณ์ที่ถึงใจกว่าเดิม
ลองไปพูดคุยกับคนในพื้นที่ ดูหนัง หรืออ่านข้อมูล นอกจากนี้ การรู้ข้อมูลคร่าวๆ ยังเป็นการระวังตัวจากบุคคลไม่พึงประสงค์เมื่ออยู่ต่างถิ่นด้วย
6. รีเฟรชทักษะภาษา
อย่างความรู้พื้นฐานเรื่องวลีในภาษาท้องถิ่นจะทำให้ภาษาที่เคยรู้มาแตกต่างดูอย่างสิ้นเชิงกับความจริงที่ได้เผชิญ ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ต้องปรับตัวให้ได้
หรือจะเลือกฝึกฝนด้วยการดาวน์โหลดแอฟพลิเคชัน Duolingo เพื่อช่วยในการฝึกทักษะภาษาต่างๆ ก็เป็นต้วเลือกที่ให้ความสนุกไม่เบื่อหน่าย
7. เงิน
บัญชีออนไลน์: หากคุณยังไม่มีบัญชีธนาคารออนไลน์ให้ตั้งค่าบัญชีไว้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดการเงินของคุณในต่างประเทศ นักเดินทางต่างชาติส่วนใหญ่ใช้บัตร ATM เดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อรับเงินสดเป็นสกุลเงินท้องถิ่น
แจ้งกับธนาคารว่าจะไปอยู่ต่างประเทศ: คุณจำเป็นต้องแจ้งบัญชีธนาคารและบัตรเครดิตปัจจุบันของคุณเกี่ยวกับแผนการเดินทางไปต่างประเทศ มิเช่นนั้นคุณอาจเสี่ยงต่อการถูกล็อกออกจากบัญชีของคุณขณะอยู่ต่างประเทศ
8. เริ่มเก็บของ
แพ็คของให้เบาเข้าไว้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตรวจสอบกับสายการบินของคุณอีกครั้งเพื่อเรียนรู้ค่าสัมภาระเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เมื่อเก็บสัมภาระใส่กระเป๋าแล้วอย่าลืมชั่งน้ำหนักตรวจสอบเพื่อความชัวร์
-เก็บอุปกรณ์อาบน้ำขนาดพกพานำติดตัวไปเพื่อให้ได้ไจนตลอด 2 สัปดาห์
-วางแผนซื้อผ้าเช็ดตัวหรือผ้าปูที่นอนราคาถูก
-เอารองเท้า 3-4 คู่ไปด้วย
-เอาอะแดปเตอร์ไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
-หากคุณใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์โปรดนำคู่พิเศษมาด้วย
9. โทรศัพท์มือถือ
โทรศัพท์มือถือหรือแล็ปท็อปคืออุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่นักเรียนส่วนใหญ่นำติดตัวไป หรือบางคนอาจมองหาซิมโทรศัพท์ท้องถิ่นเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตเอื้อต่อความสะดวกให้เรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแชทหรือวิดีโอคอล
ที่มา www.gooverseas.com