หนึ่งในปัญหาหลักของการเดินทางข้ามโซนเวลาคืออาการ Jet lag หรืออาการเมาเวลา นักประสาทวิทยา Tara Swart เผยว่า
“ร่างกายกำลังพยายามปรับตัวให้เข้ากับช่วงเวลามืดและสว่างภายในสมองของเรา อาการ jet lag ทำให้เกิดการหยุดชะงักภายในกลุ่มของเซลล์ประสาทที่ควบคุมความฝันของการปิดตาหลับอย่างรวดเร็ว
ยากที่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฏจักรใหม่และกลายเป็นซิงค์กับเซลล์ประสาทอื่นๆ ในสมองที่เกี่ยวข้องกับการหลับลึก ส่วนอาการอื่นๆ ได้แก่ ความเมื่อยล้า การนอนไม่หลับ และคลื่นไส้”
ต่อไปนี้เป็นวิธีการจัดการกับอาการ Jet lag ลองมาศึกษาแล้วนำไปปรับใช้กันเลยค่ะ…
1. เมลโทนิน (Melatonin)
การใช้เมลโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมไพเนียล เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับโซนเวลาใหม่ได้
นาฬิกาชีวิตของร่างกายเกี่ยวข้องโดยตรงกับการควบมุมของเมลาโทนิน ระดับเมลาโทนินเพิ่มขึ้นด้วยการเริ่มต้นของความมืดและการลดลงของแสง
ยาเม็ดเมลาโทนินสามารถหาจากร้านขายยาส่วนใหญ่ ซึ่งควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเพื่อตัดสินใจว่าวิธีนี้เหมาะกับคุณหรือไม่
2. การอดอาหาร
อาหารมีความสำคัญเท่าๆ กับการปรับตัวของร่างกาย การอดอาหารสามารถช่วยให้นักเดินทางมีความพร้อมและกระตือรือร้น แต่หากใครที่กังวัลเรื่องอดอาหารจะส่งผลต่อร่างกายแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
3. พื้นดิน
การเดินบนพื้นดินเป็นวิธีที่ฟังดูดีเลย เช่น การเดินเท้าเปล่าบนดินเพื่อผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
Dude กล่าวว่า “ประโยชน์ที่ค้นพบในงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นดินสามารถช่วยรีเซ็ตนาฬิกาชีวภาพได้โดยการควบคุมจังหวะของร่างกายในชีวิตประจำวัน เช่น การหลั่งของคอร์ติซอล”
สิ่งที่คุณต้องทำคือถอดรองเท้าและเดินบนหญ้าหลังจากที่คุณมาถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
4. วัตสุ (Watsu)
Watsu คือการบำบัดด้วยน้ำ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการนวดชิอัตสุ (Shiatsu) ของญี่ปุ่น มักใช้รักษาอาการซึมเศร้า อาการไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรืออาการปวดกล้ามเนื้อ
โดย Fivelements Hong Kong ที่นี่เป็นการพักผ่อนเพื่อสุขภาพแบบบาหลีที่มีจัดไว้บริการ
5. Restricted Environmental Stimulation Therapy
การบำบัดด้วยการกระตุ้นด้วยสิ่งแวดล้อมในที่จำกัด (Restricted Environment Stimulation Therapy หรือ REST) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่าถังแยก หรือบำบัดด้วยการลอยอยู่ในน้ำ สามารถปรับเทียบนาฬิกาภายในของคุณใหม่ได้
6. ออนเซ็น (บ่อน้ำพุร้อน)
ประเพณีโบราณของแดนปลาดิบมีการใช้ออนเซ็นหรือบ่อน้ำพุร้อน มาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการรักษาและบำรุงผิวพรรณ
โรงแรม Marriott ที่เพิ่งเปิดใหม่ในญี่ปุ่นทั้ง 5 แห่ง ซึ่งแต่ละที่มีการผสมผสานออนเซ็นและห้องอาบน้ำไว้บริการ
7. IV infusions
สำหรับวิธีการนี้มีสงวนไว้สำหรับโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์เท่านั้น การฉีดยาเข้าไปในเส้นเลือกดำนอกเหนือจากการเพิ่มความชุ่มชื้น เพิ่มภูมิคุ้มกันและพลังงานแล้ว การฉีด IV ยังสามารถแก้ปัญหาอาการ jet lag ได้ด้วย
8. การรักษาด้วยเสียง
การบำบัดด้วยเสียงเป็นเหมือนกับการนวดหูในระดับเซลล์ การบำบัดด้วยเสียงมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับความถี่ของพลังงานในร่างกายใหม่โดยการควบคุมพลังคลื่นความถี่วิทยุ
Dude กล่าว “ความถี่ในการสั่นสะเทือนที่ 528 ชั่วโมง แสดงให้เห็นถึงการรักษาดีเอ็นเอของร่างกาย ตลอดจนปรับปรุงอารมณ์การนอนหลับและสุขภาพโดยรวม”
9. อาบธรรมชาติ (Forest bathing)
คล้ายคลึงกับการสัมผัสพื้นดินในข้อด้านบน การอาบธรรมชาติเป็นวิธีการทำสมาธิแบบโบราณ เกิดขึ้นในปี 1980 ที่ญี่ปุ่นหรือรู้จักกันในชื่อ Shinrin-yoku
โดยมีการศึกษาชี้ให้เห็นว่าต้นไม้มีการปล่อยสารอินทรีย์ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิต ปรับปรุงการนอนหลับ
“การใช้เวลาไปกับธรรมชาติ ทำให้ผ่อนคลายจะช่วยให้ร่างกายได้รับการซ่อมแซมและฟื้นตัว” Dude กล่าว
ที่มา CNN