Anton Brejestovsk อาจารย์และนักภาษาศาสตร์อธิบาย “เทคนิค 90 วินาที” เพื่อหวังเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ซึ่งสำหรับตัวเขาเองใช้วิธีนี้ และเรียนรู้ไปแล้วมากกว่า 10 ภาษา
“ผมใช้วิธีนี้มาโดยตลอด และมันก็ได้ผลทุกครั้ง บางครั้งมันราวกับเวทมนตร์เลยล่ะ คุณสามารถเรียนรู้คำไหนก็ได้ และคงความรู้ไว้ในความทรงจำได้ตลอดไป เพียงใช้เวลาแค่ 90 วินาทีเท่านั้น”
กลยุทธ์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพของ “เทคนิค 90 วินาที”
70+10+10 = 90 วินาที
-เมื่อเจอคำใหม่ๆ ควรจดลงในสมุดโน๊ต แต่ไม่ใช่เพียงคำศัพท์และความหมายเท่านั้น ควรยกตัวอย่างมาเป็นประโยค ด้วยวิธีนี้คุณจะได้รับรายละเอียดที่เป็นประโยชน์มากกว่า และใช้วิธีขีดเส้นใต้ หรือไฮไลท์คำศัพท์ใหม่ๆ หรือคำที่ไม่รู้
-เป็นเวลา 7 วันที่คุณควรอ่านออกเสียงประโยคนั้นสัก 1-2 ครั้งทุกวัน โดยการอ่านประโยคสั้นๆ นี้จะใช้เวลาประมาณ 10 วินาที ที่สำคัญควรมีสมาธิ และเข้าใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่กำลังเอ่ยออกมา
-หลังจาก 7 วันของการอ่านซ้ำๆ ควรหยุดพักสักหนึ่งสัปดาห์ หลังจากสิ้นสุดการพักแล้วให้อ่านออกเสียงประโยคนั้น 3 รอบ ใน 10 วินาที โดยต้องมีอารมณ์ร่วม และมีความชัดเจน ที่สำคัญต้องโฟกัส และมีสมาธิเต็มที่
-2 สัปดาห์ต่อมา ให้อ่านออกเสียงประโยคนั้นอีกครั้ง กล่าวคือให้อ่าน 3 รอบภายใน 10 วินาที ซึ่งกลยุทธ์นี้ช่วยให้เราคงรูปประโยค สามารถจำคำศัพท์ได้ขึ้นใจ
ตัวอย่างบันทึกการอ่านโดยใช้เทคนิค 90 วินาที
เหตุใดถึงได้ผล
หน่วยความจำของเรามีคุณลักษณะที่น่าสนใจมาก เราจดจำข้อมูลได้ดีขึ้นถ้าเราเห็นหรือได้ยินใน 7-9 รูปการณ์ต่างๆ
จากภาพคือจำนวนครั้งที่เซลล์ประสาทในสมองต้องสร้างความเชื่อมโยงแก่กันและกัน หากมีการย้ำซ้ำๆ น้อยลง การเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทก็ไม่แข็งแรงพอ และทำให้เราหลงลืมข้อมูล
ในขณะที่อ่านทวนประโยคซ้ำๆ มี 2 สิ่งที่ควรทำ
มีความตั้งใจจดจ่อ
ในช่วง 10 วินาทีของการพูดซ้ำ ควรมีสมาธิอย่างเต็มที่กับประโยคใหม่ที่เรียนรู้ ซึ่งคุณต้องรู้จริงๆ ว่ามันหมายถึงอะไร
มีอารมณ์ร่วม
เมื่อคุณกำลังพูดซ้ำประโยคให้จินตนาการว่ากำลังสนทนากับ Queen Elizabeth หรือกำลังจีบ George Clooney อยู่ หรืออาจจะกำลังเถียงกับ Harry Potter ซึ่งอารมณ์เป็นตัวเร่งที่มีประสิทธิภาพในการท่องจำ
ที่มา: brightside