เรื่องราวและทัศนคติบางอย่าง ไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตัวเอง แต่หากการรับฟังความคิดของคนหลายๆคนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแต่ละคนก็มีมุมมองประสบการณ์ในบางเรื่องที่เหนือกว่าเรา ดังเช่นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกคนนี้นั่นเองค่ะ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”
ในห้องเรียนวันหนึ่ง ไอสไตน์ถามนักเรียนว่า
” มีคนซ่อมปล่องไฟสองคน กําลังซ่อมปล่องไฟเก่า
พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟ
ปรากฏว่า คนหนึ่งตัวสะอาด
อีกคนตัวเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า
ขอถามหน่อยว่า คนไหนจะไปอาบน้ำก่อน “
นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า
” ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ “
ไอสไตน์ พูดว่า
” งั้นเหรอ คุณลองคิดดูให้ดีนะ
คนที่ตัวสะอาด เห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควัน
เขาก็ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจากปล่องไปเก่าเหมือนกัน
ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆเลย
ส่วนอีกคน เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่า
ตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน
ตอนนี้ ผมขอถามพวกคุณอีกครั้งว่า
ใครที่จะไปอาบน้ำก่อนกันแน่ “
นักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นว่า
” อ้อ ! ผมรู้แล้ว พอคนตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรก
ก็นึกว่าตัวเองต้องสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก
เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตัวเองไม่สกปรกเลย
ดังนั้นคนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่เลย
….. ถูกไหมครับ….”
ไอสไตน์มองไปที่นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคนต่างเห็นด้วยกับคําตอบนี้
ไอสไตน์ ค่อยๆพูดขึ้นอย่างมีหลักการและเหตุผล
“คําตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน
จะเป็นไปได้ไงที่คนหนึ่งสะอาด อีกคนหนึ่งจะสกปรก
นี่แหละที่เขาเรียกว่า ตรรกะ ”
เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนําจนสะดุด
ก็จะไม่สามารถแยกแยะและหาเหตุผล
แห่งเรื่องราวที่แท้จริงออกมาได้ นั่นคือ ” ตรรกะ ”
จะหาตรรกะได้ก็ต้อง กระโดดออกมาจาก
” พันธนาการของความเคยชิน “
หลบเลี่ยงจาก
” กับดักทางความคิด “
หลีกหนีจาก
” สิ่งที่ทําให้หลงทางจากความรู้จริง “
ขจัด
” ทิฐิแห่งกมลสันดาน “
จะหา ตรรกะ ได้ก็ต่อเมื่อ คุณสลัดหมากทั้งหมด ที่คนเขาจัดฉาก วางล่อคุณไว้
ที่มา: campus-star