วันนี้ ScholarShip.in.th ก็มีเทคนิคการเรียนที่ค่อนข้างจะเป็นวิชามาร มาฝากเพื่อนๆ กันแหละ ถึงจะไม่สวยงามอะไรมากมายนัก แต่แน่นอนจะช่วยฉุดเกรดเพื่อนๆ ขึ้นได้อย่างมากเลยล่ะ
มีคำกล่าวว่า การทำข้อสอบช้อยส์ ไม่สามารถวัดอะไรได้มากมายนัก อันนี้คือเรื่องจริงในระดับหนึ่ง เพราะว่าการออกข้อสอบช้อยส์ มีจุดที่ทำให้ผู้สอบ สามารถหาวิธีที่ทำให้ได้คะแนนมากขึ้นทั้งที่อาจจะไม่ได้รู้มากกว่านั่นเอง ><
กฎพื้นฐานเลย คือ อาจารย์ส่วนมาก จะพยายามเกลี่ยคำตอบให้เท่ากัน ในกรณีนี้จะสมมติว่ามีข้อสอบ 20 ข้อ นั่นก็คือจะมีคำตอบ ก ข ค ง อย่างละ 5 ข้อ แต่แน่ล่ะ ถ้าเจออาจารย์อินดี้กันเข้าให้ก็งอกกันเลยงานนี้
อันดับแรกนั้นเพื่อนๆ ควรทำข้อสอบไปตามปกติ อันไหนที่ทำแล้วมั่นใจว่าถูกต้อง ชัวร์ 100% ให้เลือกคำตอบนั้นไปเลย เพราะเรามีความรู้ตรงนี้พอดีและเกิดความมั่นใจ อย่าลังเล กามันลงไปหนักๆ เลยจ้า
ทีนี้ถ้าเจอข้อสอบที่ทำไม่ได้ก็ให้เว้นเอาไว้ ตัดช้อยส์ที่เป็นไปไม่ได้ออกไปให้มากที่สุด แบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ โซนแดง โซนส้ม และโซนเหลือ กล่าวคือ โซนแดงเราไม่รู้อะไรเลยในข้อนี้ ไม่มีความรู้ โอกาสมั่วถูกคือ 25% โซนส้ม รู้ว่ามีช้อยส์หลอก 1 ข้อ โอกาสมั่วถูก 33% และ โซนเหลือง ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อไหนระหว่าง 2 ข้อ โอกาสมั่วถูก 50%
พอได้ข้อที่จะมัวรวมถึงเปอร์เซ็นต์การมั่วถูกแล้ว ก็ต้องมาลองคำนวนคะแนนดู ว่าสถานการณ์เป็นใจพอที่จะมั่วหรือไม่ สมมติมีข้อสอบ 20 ข้อ อย่างถ้าอาจารย์ตัดเกรดตกที่ 60% (ต้องถูก 12ข้อ) ถ้าเรามีชัวร์ๆ แล้ว 10 ข้อ อีก 10 ข้อที่เหลือถ้าเราไม่รู้เรื่องเลย โอกาสถูกก็จะราวๆ 25% ก็จะได้คะแนนมาราวๆ 2 – 3 ข้อ อย่างนี้ก็เกิน 12 งั้นก็จัดไปหนักๆ เลยจ้า
ทีนี้พอคะนวนคะแนนกันเสร็จสรรพแล้ว ลองมานับช้อยส์ในแต่ละตัวว่า ก ข ค ง นั้นแต่ละตัวตอบไปแล้วเท่าไหร่ ลองเกลี่ยๆ กันดู จะพบว่าข้อไหนถูกตอบไปน้อยกว่า มั่วใน 2 ตัวอักษรที่กาไปน้อยที่สุด ก็จะมีโอกาสได้คะแนนมากขึ้นนะจ๊ะ (กรณีที่ไม่รู้อะไรเลย -*-)
แต่ก็แน่ล่ะ นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่าง 20 ข้อเท่านั้น ถ้า 100 ข้อขึ้นมาล่ะจะเห้นความแตกต่างเยอะมาก การตัดช้อยส์แบบนี้ใช้ไม่ได้กับข้อสอบระดับมหาวิทยาลัยที่บางแห่งที่มีการ Random คำตอบในกระดาษด้วยคอมพิวเตอร์นะจ๊ะ
และกลุ่มอาจารย์อาร์ทๆ ที่ออกข้อสอบตอบข้อ ก. อย่างเดียวสัก 50 ข้อจาก 100 ข้อ เจอแบบนั้นไปก็ตัวใครตัวมันล่ะจ้า ><
เอาเป็นว่านี่เป้นเพียงหลักการเบื้องต้นเท่านั้นนะจ๊ะ ทางที่ดีตั้งใจเรียน เรียนให้เข้าใจ ก็จะง่ายกว่าจ้าอิอิ
ที่มา: ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว