การศึกษาในสมัยก่อนนั้น ก็ต้องอาศัยจากเหล่าหนังสือนี่แหละ เพราะไม่มีอินเตอร์เน็ต และตั้งแต่การเข้ามาของเครื่องพิมพ์ ก็ทำให้หนังสือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และแน่นอนห้องสมุดก็ตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย (ถึงก่อนหน้านั้นจะมีมาก่อนแล้วก็ตาม)
แต่ย้อนกลับไปตอนที่ “โยฮันน์ กูเทนแบร์ก” (Gutenberg) นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ยังไม่ได้พัฒนาและสร้างเครื่องพิมพ์ หนังสือแต่ละเล่มในยุคนั้นจะมีความสำคัญ มีคุณค่ามากๆ เพราะทุกเล่มถูกเขียนขึ้นมาด้วยมือ และการทำหนังสือแต่ละเล่มนั้นก็ต้องใช้เวลานาน อีกทั้งยังไม่มีการตีพิมพ์ซ้ำ หนังสือทรงคุณค่าหลายๆ เล่ม ส่วนมากจะถูกเก็บไว้ในโบสถ์ วิหาร เพราะหนังสือส่วนมากมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
ต่อมาในยุคกลาง เมื่อห้องสมุดได้พัฒนาและเปิดให้ประชาชนได้เข้าใช้-เข้าชม จึงมีมาตราการรักษาความปลอดภัยหนังสือทุกเล่ม โดยการทำโซ่ล่ามเอาไว้ เพื่อป้องกันการสูญหาย หรือถูกขโมยนั่นเอง บุคคลเดียวที่จะสามารถปลดล็อคโซ่หนังสือได้ก็คือ คนที่เป็นบรรณารักษ์เท่านั้น และเมื่อเวลาเราจะอ่านหนังสือสักเล่มก็ต้องนั่งอ่านอยู่ตรงนั้นเพราะหนังสือถูกล่ามโซ่เอาไว้ อื้อหืออออ
ถึงแม้จะหายห่วงเรื่องการลักขโมยหนังสือ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือเวลาที่เราต้องการหาหนังสืออ่านสักเล่มจะต้องใช้เวลาหานานพอสมควร เพราะการเก็บหนังสือนั้นจะหันสันปกเข้าทางด้านใน ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นชื่อหนังสือได้ และยิ่งสมัยก่อนยังไม่มีระบบตัวเลขแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เอาล่ะสิ หามันทั้งวันกันไปเลยจะเป็นไร -*-
แต่หลังจากที่เครื่องพิมพ์นั้นถูกสร้างและพัฒนาขึ้น ราคาของหนังสือก็ตกลงมาก หนังสือแต่ละเล่มถูกนำมาตีพิมพ์ซ้ำได้ง่าย เมื่อผ่านไปหลายทศวรรษเข้าการล่ามโซ่หนังสือก็ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป เพราะหนังสือส่วนใหญ่ในห้องสมุดถูกนำมาตีพิมพ์เผยแพร่แทบจะทั้งหมดแล้ว จนมาสิ้นสุดในศตวรรษที่ 19 แต่ห้องสมุดในยุโรปบางที่ก็ยังคงล่ามโซ่หนังสือเพื่อคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ ว่าครั้งหนึ่งหนังสือเหล่านี้มีความสำคัญมากแค่ไหน
ภาพของห้องสมุดในสถานที่ต่างๆ
Church of Wimborne Minister, วินบอร์น มินสเตอร์, สหราชอาณาจักร
The Hereford Cathedral Library, เมืองเฮริฟอร์ด, สหราชอาณาจักร ห้องสมุดล่ามโซ่ที่ใหญ่ที่สุด
The Chained Library of Zutphen, เกลเดอแลนด์, เนเธอแลนด์
.
Royal Grammar School Chained Library, กิลด์ฟอร์ด, สหราชอาณาจักร
Biblioteca Malatestiana, เชเซนา, อิตาลี
The Francis Trigge Chained Library, เดรนเธ่, สหราชอาณาจักร
สำหรับในส่วนของผู้ที่ทำให้การพิพ์หนังสือเฟื่องฟู ก็คือ โยฮันน์ กูเทนแบร์ก (Johannes Gensfleisch zur Laden zum Gutenberg) เป็นช่างเหล็กและนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น
เพราะว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้น ในยุโรป ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น และเมื่อนำมารวมส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้ว เขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็นไปได้ และทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป นับว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศิลปะวิทยาการในยุโรปก็ว่าได้
เป็นยังไงกันบ้างล่ะจ๊ะ สำหรับข้อมูลน่าสนใจวันนี้ที่เรานำมาเสนอ ไว้เรามาพบกันใหม่ได้กับข้อมูลดีๆ แบบนี้ที่ ScholarShip.in.th นะจ๊ะ
Source: TeenMthai