การเรียนต่อโดยเฉพาะในต่างประเทศล้วนตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่แพงจนบางคนอาจกลุ้มใจ
แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าหากว่าคุณมีการเตรียมความพร้อมที่ดี มีการคำนวนค่าใช้จ่ายเบื้องต้นแล้ว มันอาจไม่ใช่เรื่องยาก ที่จะวางแผนเดินทางตามความฝัน
มาดูกันว่า ในการเรียนต่อต่างประเทศต้องเตรียมงบประมาณอะไรบ้าง เพื่อให้คุณมองหาช่องทางการเก็บเงินเพื่อออกเดินทาง
อยากแรกที่คุณต้องรู้
ค่าเล่าเรียนในหลายประเทศมีค่าใช้จ่ายที่ทั้งถูกและแพงแตกต่างกันออกไป ทั้งเงื่อนไขในด้านหลักสูตร หรือแม้แต่ค่าครองชีพ อย่างไรก็ตาม ในหลายสถาบันชั้นนำของโลกมีทุนการศึกษาที่สนับสนุนนักเรียนต่างชาติ ทั้งยังมีข้อกำหนดอนุญาตให้ทำงานได้อย่างถูกต้องตามชั่วโมงที่กฎหมายระบุไว้ ดังนั้น การหาทุนเสริมเพื่อเรียนเมืองนอกในยุคสมัยนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินเอื้อม
นี่คือลิสต์รายจ่ายที่คุณควรตระเตรียมเพื่อการเรียนต่อยังต่างแดน
1. ค่าเล่าเรียน
สิ่งสำคัญที่สุดจนอาจเรียกได้ว่าเป็นรายจ่ายหลักสำหรับการเดินทางมาเพื่อเรียนต่อเลยก็ว่าได้ ค่าเล่าเรียนจะแตกต่างกันไปในแต่ละหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่คุณเลือกและค่าครองชีพ ตัวอย่างเช่น
ประเทศสหรัฐอเมริกา
– ค่าเล่าเรียนจะอยู่ที่ประมาณ 6,000 – 40,000 เหรียญ (ประมาณ 199,700 – 1.3ล้านบาท)
– ค่าครองชีพจะอยู่ที่ 10,000 – 15,000 เหรียญ (ประมาณ 332,900 – 499,000 บาท)
สหราชอาณาจักร
– ค่าเล่าเรียนจะอยู่ที่ประมาณ 4,000 – 21,000 ปอนด์ (ประมาณ 176,800 – 928,000 บาท)
– ค่าครองชีพจะอยู่ที่ประมาณ 9,000 – 12,000 ปอนด์ (ประมาณ 397,800 – 530,000 บาท)
ออสเตรเลีย
– ค่าเล่าเรียนจะอยู่ที่ประมาณ 9,000 – 18,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 222,000 – 445,600 บาท)
– ค่าครองชีพจะอยู่ที่ 18,000 – 20,000 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 445,600 – 495,000 บาท)
นิวซีแลนด์
– ค่าเล่าเรียนจะอยู่ที่ 14,000 – 21,000 เหรียญ (ประมาณ 466,000 – 699,000 บาท)
– ค่าครองชีพจะอยู่ที่ 12,000 – 15,000 เหรียญ (ประมาณ 399,500 – 499,000 บาท)
แคนาดา
– ค่าเล่าเรียนจะอยู่ที่ 2,000 – 16,000 ดอลล่าร์แคนาดา (ประมาณ 50,600 – 400,000 บาท)
– ค่าครองชีพจะอยู่ที่ 15,000 – 20,000 ดอลล่าร์แคนาดา (ประมาณ 380,000 – 500,000 บาท)
2. ค่าที่อยู่อาศัย
เมื่ออยู่ต่างแดน แน่นอนคุณต้องเช่าบ้านหรือห้องพักสำหรับการอยู่อาศัย บางมหาวิทยาลัยมีหอพักสำหรับนักศึกษาต่างชาติ หรือคุณอาจใช้วิธีเช่าโฮมสเตย์เพื่อให้ได้ที่พักราคาประหยัด และได้เรียนรู้วัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณต้องศึกษาบ้านที่จะไปพักให้ดีก่อนตัดสินใจ
3. ค่าเดินทาง
อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่คุณต้องตระเตรียมคือค่าเดินทางตั้งแต่ค่าตั๋วเครื่องบิน ไปจนถึงการขนส่งในประเทศที่คุณจะไปเรียนต่อ โชคดีที่ในหลายประเทศมีระบบขนส่งที่สะดวกและราคาถูกทำให้คุณสามารถคำนวนค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้โดยง่าย
4. ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน
ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไหร่ โดยเฉพาะเมื่อคุณอยู่ในต่างแดนที่การขอความช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก ยิ่งใช้ภาษาที่ต่างกันด้วยแล้ว การเตรียมเงินฉุกเฉินเป็นเรื่องที่จำเป็น ทั้งสำหรับในกรณีเกิดอุบัติเหตุ การแพทย์ หรือการโจรกรรม
การเตรียมความพร้อมถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องไปใช้ชีวิตตัวคนเดียวในที่ที่ห่างไกล เรื่องเงินเป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องวางแผนให้รอบครอบ
บางที คุณอาจเพิ่มการมองหาโอกาสที่จะถูกจ้างงานจากเมือง หรือมหาวิทยาลัยที่คุณวางแผนจะเดินทางไปเพื่อให้มีรายได้มากพอจะใช้ชีวิตกับประสบการณ์ใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่