วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008 ไม่เพียงแต่เป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งสำคัญที่สุดในโลก แต่ยังส่งผลให้ในยุคปัจจุบัน ขอบเขตการเรียนและวงการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว QZ เพิ่งรายงานผลการวิเคราะห์ของนักประวัติศาสตร์ Benjamin Schmidt จากมหาวิทยาลัย Northeastern ที่เคยพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เขาพบว่าสาขาวิชา ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วรรณคดีอังกฤษ และศาสนา จะเติบโตขึ้นจนถึงปี 2008 ปี ก่อนจะดิ่งลงอย่างฉับพลัน
ตั้งแต่ปี 1998 – 2007 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีเพียง 2% ที่จบจากสาขาประวัติศาสตร์ ในขณะที่ปี 2017 มีเพียง 1% เท่านั้น
จากบทความล่าสุดที่ Schmidt เขียนลงใน The Atlantic ได้เผยว่า มีการลดลงของความนิยมแทบทุกสาขาของภาควิชามนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สังคมที่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากความไม่เสถียรจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และดูเหมือนว่า ในหมู่นักเรียนเองก็จะมีความสนใจใหม่ๆ ที่สะท้อนให้เห็นว่า ความสำคัญของสิ่งที่นักเรียนโฟกัสนั้น ได้เปลี่ยนไปแล้ว
เพราะแทนที่จะเลือกลงทะเบียนเรียนในสาขามนุษยศาสตร์ เหล่านักศึกษาได้เปลี่ยนไปเลือกสาขาที่มองเห็นอาชีพการงานที่ชัดเจนได้มากกว่า
ในปี 2017 กว่า 20 สาขารวมทั้ง วิทยาศาสตร์การกีฬา การพยาบาล การแพทย์อื่นๆ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีผู้สำเร็จการศึกษากว่า 25,000 คน
Schmidt แนะนำว่า การมุ่งเป้าหมายไปยังสาขาที่มองเห็นช่องทางอาชีพ อาจเกิดจากควันหลงของวิกฤตการเงิน ซึ่งจากจำนวนประชากรของนักศึกษา พวกเขาอาจมองว่านี่เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
แนวโน้มนี้นับว่าเป็นความเสี่ยง เนื่องจากนักเรียนรุ่นใหม่มองว่าสาขามนุษยศาสตร์เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเท่ากับการศึกษาเพื่อทำงานด้านการเงิน หรือคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม Schmidt ยังยืนยันว่า สาขามนุษยศาสตร์จะไม่มีวันหายไป แม้จะลดความนิยมลงอย่างมากก็ตาม เขากล่าวว่า
“แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤติ แต่ไม่ได้หมายความว่าสาขาวิชานี้จะถูกถอดถอนออกจากหลักสูตร พวกเขาอาจมีการปรับเปลี่ยน หรือลดจำนวนเนื้อหาลง แต่จะไม่มีการถอดถอน เนื่องจากยังเป็นสาขาที่มีความสำคัญย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแขงวารสารศาสตร์ ห้องสมุด และอื่นๆ ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงอาจต้องมีการตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ให้กับสาขาวิชานี้ต่อไปในอนาคต”
ที่มา: masterstudies