โลกยุคนี้เต็มไปด้วยความสะดวกสบายและความว่องไวชนิดไม่คาดฝัน แต่สิ่งที่มากับความไวนั้นบางครั้งก็กลายเป็นเรื่องไม่น่าไว้ใจ “เรื่องการแพร่ระบาดของข่าวปลอม” อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ของคนในยุคนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการเตรียมรับมือและวิธีการป้องกันที่ผู้ใหญ่ในสังคมมอบให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ของตัวเอง
ในประเทศสหรัฐอเมริกา การระบาดของข่าวปลอมเกิดขึ้นได้ทุกวัน ดังนั้นรัฐบาลจึงได้เริ่มออกนโยบายเรื่องการสอนให้เด็กๆ รับมือและรู้เท่าทันข่าวปลอมเหล่านั้น
เด็กๆ จะได้เรียนรู้ที่จะคิด วิเคราะห์ และแยกแยะข่าวต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาตามสื่อสาธารณะ เพื่อให้พวกเขามีภูมิคุ้มกันข่าวลวงพวกนี้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความเข้าใจผิดๆ หรือแม้กระทั่งบิดเบือนความจริง โดยเจ้าข่าวปลอมเหล่านี้ถูกเหมารวมว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครืองมือทางสงครามที่เรียกว่า Hybrid war เลยทีเดียว
สืบเนื่องจากจำนวนข่าวปลอมในโลกออนไลน์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างน่าตกใจ และมีจำนวนสูงที่สุดในปี 2018 ทำให้มาตรการนี้เริ่มเเพร่หลายไปตามโรงเรียนต่างๆ
ในปี 2015 ได้มีการทดลองนำตัวอย่างอาสาสมัครกลุ่มเด็กจำนวน 170 คนมาร่วมรับรู้การรับสารทางอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นก็ได้มีการตั้งคำถามง่ายๆ เช่นว่า ภาพที่ได้เห็นคิดว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ หากข่าวสารที่ได้รับมาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือมีไอดีแปลกๆ เช่นว่า “pleasegoogleShakerAamerpleasegoogleDavidKelly” ซึ่งในการทดสอบนี้ได้อนุญาตให้เด็กๆ หาข้อมูลออนไลน์เพิ่มเติมได้เพื่อให้รู้ความจริง
จากการทดสอบในครั้งนั้น มีเด็กกกว่า 40% จากจำนวนทั้งหมดเชื่อว่าภาพ “ดอกเดซี่ที่ฟุกุชิม่า” ซึ่งถูกใช้เป็นตัวอย่างการทดสอบคือเรื่องจริง
โดยตามความจริงแล้ว ยังไม่มีผลการรับรองใดอธิบายว่า ปฏิกิริยาของกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าที่ฟุกุชิม่าทำให้ดอกเดซี่ไกล้โรงไฟฟ้าฟุกุชิม่ากลายพันธุ์ และ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่จะเกิดการกลายพันธุ์จากการแผ่รังสี
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ผู้ใหญ่รู้ว่าเด็กๆ โดยเฉพาะที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ยังมีทักษะการแยกแยะข้อเท็จจริงที่ไม่เพียงพอ แม้ว่าจะมีความคลุมเครือของข้อมูลหรือแหล่งที่มาก็ตาม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความคลุมเครือเหล่านั้นทำให้การตัดสินใจของเด็กพลาดได้ง่าย
นักวิจัยจากสถาบันชั้นนำในสหรัฐฯ จึงได้มีการคิดค้นแนวทางการต่อต้านการเสพข่าวปลอม และเกิดเป็นการอบรมผ่านสื่อสารสอนในระดับมัธยมศึกษา เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ สามารถแยกแยะข้อมูลข่าวสารที่จริงและเท็จออกจากกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้ได้กลายเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่น่าสนใจจากหลายประเทศทั่วโลก เมื่อห้องเรียนได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสอนให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะแยกจ้อเท็จจริงจากสื่อออนไลน์ที่พวกเขาได้พบเห็นในแต่ละวัน ทั้งจากสื่อบันเทิง ภาพยนตร์ เกมออนไลน์ หรือโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ และสิ่งนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญของการช่วยเหลือให้สังคมสามารถเท่าทันสื่อเท็จได้
ที่มา: qz.com