โลกของเราในทุกวันนี้ต่างประสบปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก และส่วนใหญ่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เนื่องจากพลาสติกรีไซเคิลของโลกมีเพียงประมาณ 9% เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โลกของเราต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะจากพลาสติกอย่างรวดเร็ว
แต่อย่างน้อยก็ยังมีเรื่องที่น่าชื่นใจ เมื่อหลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับปัญหานี้ และกำลังร่วมมือกันแก้ไข ล่าสุด นักวิจัยจาก Berkeley Lab ได้ค้นพบวัสดุบางอย่างที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้นี้
ทีมวิจัยนี้นำโดย Brett Helmes ซึ่งได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับพลาสติกชนิดใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่สิ้นสุดและยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
“พลาสติกส่วนใหญ่ไม่เคยถูกนำมารีไซเคิล แต่เราได้ค้นพบวิธีใหม่ในการประกอบพลาสติกที่คำนึงถึงการรีไซเคิลจากมุมมองของโมเลกุล”
ปัญหาหลักของพลาสติกในปัจจุบันที่เรามี คือสารเคมีที่ถูกเติมลงในพลาสติกเพื่อให้มีความยืดหยุ่นหรือแข็งตัว แม้หลังจากนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปแล้วที่โรงงานรีไซเคิล แต่โมโนเมอร์พลาสติก PDK ที่พวกเขาสร้างขึ้นย่อยสลายได้ เพียงแค่จุ่มวัสดุในสารละลายที่มีความเป็นกรดสูง
จากศูนย์ข่าว Berkeley Lab เมื่อพลาสติก PDK ถูกเทลงในสารละลายที่เป็นกรด มันจะสลายไปสู่การสร้างโมเลกุล – โมโนเมอร์ กรดจะช่วยแบ่งพันธะระหว่างโมโนเมอร์ และแยกพวกมันออกจากสารเคมีที่ทำให้พลาสติกมีลักษณะตามที่ถูกออกแบบสร้างไว้
ทางทีมวิจัยหวังว่า การค้นพบนี้จะสร้างอนาคตที่พลาสติกถูกนำกลับมารีไซเคิลได้ เพื่อหยุดยั้งพลาสติกจากการเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ครั้งเดียว ซึ่งแนวคิดนี้ได้กลายเป็นความสนใจสำหรับนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายคนที่มุ่งมั่นที่จะลดขยะแบบใช้ครั้งเดียวซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะทั้งต่อแผ่นดินและผืนสมุทร
แม้ว่าจะยังเป็นพลาสติกต้นแบบ แต่ในอนาคตเราน่าจะได้เห็นผลิตภัณฑ์วัสดุจากพลาสติกรีไซเคิลได้ 100% เพิ่มมากขึ้น และอาจเพิ่มความหวังให้กับอนาคตสีเขียวได้
ที่มา: boredpanda