เมื่อไม่นานมานี้ ทั่วโลกต่างฮือฮากับความสำเร็จหลังมีการปรากฎภาพถ่ายของ “หลุมดำ” ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งภาพถ่ายดังกล่าวนี้ ได้เปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ในด้านอวกาศและพิสูจน์ทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์คนดังหลายคนได้กล่าวไว้
Katie Bouman นักวิทยาศาสตร์สาวจากสถาบัน MIT วัย 29 ปี ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ เธอสร้างอัลกอริทึมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมจากกล้องโทรทรรศน์ที่เชื่อมโยงกันแปดแห่ง นั่นทำให้เราได้เห็นศูนย์กลางของกาแลคซี่ M87
ภาพของหลุมดำได้แสดงวงแหวนแสงรอบๆ ซึ่งนับว่าเป็นงานที่น่าพึงพอใจ หลังจากที่ทีมวิทยาศาสตร์และ Bouman ต้องทำงานอย่างหนักเป็นเวลาสามปีเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้
ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว สมัยที่ Bouman ยังเป็นนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ที่สถาบัน MIT เธอได้สร้างโค้ดขึ้นมา 3 โค้ด เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ Event Horizon มารวมกัน จนได้ภาพที่ทั่วโลกได้เห็นไปเมื่อไม่นานมานี้
ถ้าถามว่า Bouman มีบทบาทสำคัญมากแค่ไหน เธอคือคนที่ทำการถอดรหัสและสร้างภาพจำลองที่เหมือนจริงนี้ขึ้นมา โดยหลุมดำที่ถูกถ่ายได้นี้ มาจากใจกลางกาแลคซี่ M87 ซึ่งหากจากโลกของเราประมาณ 55 ล้านปีแสง
เนื่องจากเทคโนโลยีในยุคนี้ยังไม่สามารถสร้างภาพที่คมชัดได้เท่าที่ควร ทำให้ต้องใช้กระบวนการคำนวณที่แม่นยำมากขึ้นเพื่อให้สามารถสร้างภาพใหม่ที่ชัดเจนกว่านี้ได้
Katie Bouman เคยได้รับเกียรติให้ขึ้นกล่าวบนเวที TedTalk 2016 และในเวลานั้น เธอได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายคนอย่างมากมาย
เชื่อได้เลยว่าชื่อของเธอจะต้องถูกจารึกเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์วงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจมีนักศึกษาได้เรียนเรื่องราวเกี่ยวกับเธอ และได้รับแรงบันดาลใจจนสามารถสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันได้ต่อไป
ที่มา: noonecares