ในยุคปัจจุบัน การจะก้าวไปข้างหน้า ย่อมต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่ล้ำกว่า จึงนำไปสู่คำถามที่ว่า “การเรียนในมหาวิทยาลัย สามารถช่วยปูทางให้นักศึกษา สามารถก้าวไปสู่นวัตกรรมในอนาคตได้อย่างไร?”
ตามที่ผู้นำทางวิชาการของทั้งสองมหาวิทยาลัยในยุโรปและเอเชีย คำตอบที่น่าคาดหวัง อยู่ในคำว่า “ล้มเหลว”
ทำไมความล้มเหลวถึงจะสามารถทำให้ผู้คนประสบความสำเร็จได้มากขึ้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม?
“เพราะในทุกๆ ความสำเร็จ มีน้อยสิ่งนักที่คุณจะสามารถเรียนรู้ได้ แต่จากความล้มเหลว คุณจะได้เรียนรู้จากมันอย่างมากมาย”
Lino Guzzella ประธาน ETH Zurich กล่าวใน Times Higher Education ระหว่างการประชุมสุดยอดวิชาการระดับโลกทางด้านการศึกษาในสิงคโปร์
Guzzella ยังเน้นย้ำถึงนโยบายการขับเคลื่อนล่าสุดที่ ETH Zurich นั่นคือ “การขับเคลื่อนด้วยแนวทางความล้มเหลวที่สร้างสรรค์”
“เราพยายามที่จะทำให้กระบวนการนี้ เป็นรูปเป็นร่างและมั่นคง โดยนำนักเรียนในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร หรือนักเรียนอยู่จุดที่พวกเขารูปสึกปลอดภัย ไปสู่จุดที่พวกเขาล้มเหลว และเราจะสร้างสภาพแวดล้อมที่พวกเขาสามารถเรียนรู้จากความล้มเหลว ทั้งยังสามารถเติบโตขึ้นได้อีกมาก” Guzzella กล่าวเสริม
องค์ประกอบสหวิทยาการสนับสนุนการศึกษาระดับปริญญาที่มีต่อความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
“ในการตั้งระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์กับกลุ่มคน 20 คน พวกเขามีการพัฒนาความคิดที่หลากหลาย และไม่ว่าจะเป็นความคิดที่มีประโยชน์ หรือสามารถเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ นั่นไม่สำคัญ ประเด็นก็คือพวกเขาเรียนรู้วิธีการโต้ตอบในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย พวกเขาเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่มีทางออกที่เป็นรูปธรรม … ถ้าคุณสอนนักเรียนให้สามารถแก้ปัญหาการวิจัยที่ไม่มีคำตอบได้ นั่นหมายถึงคุณสอรให้พวกเขารู้จักวิธีที่จะแก้ปัญหาทั่วไปของโลกได้” Guzzella กล่าว
มุมมองนี้ ถูกใช้เช่นกันกับ Eng Chye Tan อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
“เราอาจได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับความสำเร็จมามากเกินพอ แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่นักเรียนจะสามารถเรียนรู้ได้มากที่สุด มาจากความล้มเหลว” เขากล่าว
Tan ได้แบ่งปันตัวอย่างของนักเรียนที่ไปต่างประเทศเพื่อฝึกงานกับ บริษัทซึ่งกำลังเผชิญวิกฤตในขณะที่เขากำลังฝึกงานอยู่ที่นั่น
“ถ้าคุณเป็นคนที่ทำงานในบริษัทนั้น แล้วบริษัทกำลังจะยุบตัวลง คุณจะต้องตกงานและลำบากมากแน่ๆ แต่ในกรณีที่คุณเป็นนักศึกษาฝึกงาน คุณจะประสบกับความยากลำบากทั้งในด้านของความสำเร็จและความล้มเหลว และนั่นเป็นสิ่งที่มีค่ามาก “Tan กล่าวสรุป
แม้ว่าหลักการนี้ จะถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นในด้านการศึกษา แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ความจริงก็คือ Innovating Pedagogy 2016 ในรายงานประจำปีฉบับที่ 5 จาก Open University แนะนำว่ามหาวิทยาลัยควรใช้วิธีการ “ล้มเหลวในการผลิต” เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ที่จะ “กล้าเผชิญความท้าทายและความไม่แน่นอน” เพื่อที่จะรู้จัก “การสร้างสรรค์และความยืดหยุ่น” ในอนาคต
ที่มา: masterstudies