เรื่องการฉีดวัคซีนเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนานในโลกตะวันตก เนื่องจากในบางครอบครัวรู้สึกไม่สบายใจหากลูกๆ ของพวกเขาต้องอยู่ร่วมกับเด็กๆ ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ในขณะที่บางครอบครัว การฉีดวัคซีนคือการกระทำที่ขัดต่อความเชื่อ จึงกลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานาน
ล่าสุด อิตาลีประกาศกฎหมาย Lorenzin อันใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคหัดและอัตราการลดลงของเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีน มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศในวันอังคารที่ผ่านมา
ภายใต้นโยบายใหม่ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี สามารถถูกไล่ออกจากโรงเรียนอนุบาลได้หากพวกเขาไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อทั่วไป ได้แก่ โรคอีสุกอีใสโปลิโอหัดหัดคางทูมและหัดเยอรมัน
ส่วนเด็กที่มีอายุ 6 – 16 ปี จะไม่ถูกแบนจากทางโรงเรียน แต่ผู้ปกครองชาวอิตาลี อาจต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก ราว 500 ยูโร (ประมาณ 17,800 บาท) และต้องยอมรับว่าลูกๆ ของพวกเขาจะถูกแบนจากโรงเรียน หากพวกเขาไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเด็กๆ ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างถูกต้อง
ตามที่ BBC รายงาน พวกเขาระบุว่าหน่วยงานท้องถิ่นใน Bologna ได้ส่งจดหมายขอระงับผู้ปกครองของเด็ก 300 คน (ยอดรวมของเด็กทั้งหมด 5,000 คน) ที่ไม่มีเอกสารวัคซีนที่ระบุเวลาเป็นปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข Giulia Grillo ได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์ La Repubblica ว่า “ทุกคนมีเวลาที่จะทำตามข้อกำหนดนี้”
แม้ว่าอดีตหมอ Andrew Wakefield จะชี้แจงด้วยการเชื่อมโยงระหว่างการฉีดวัคซีน MMR ซึ่งนำไปสู่ภาวพออทิสติกในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ทว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพในอิตาลียังคงพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อการฉีดวัคซีน
ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยว่า อิตาลีไม่สามารถปฏิบัติตามอัตราการฉีดวัคซีนได้ถึง 95% ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ
ตามรายงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหภาพยุโรป มีรายงานผู้ป่วย 165 รายในเดือนมกราคม ในเดือนธันวาคม 2018 มีรายงานผู้ป่วยโรคที่สามารถป้องกันได้เพียง 76 ราย
เมื่อเดือนที่แล้ว มีผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งอายุ 8 ขวบไม่สามารถเข้าเรียนในกรุงโรมได้เนื่องจากต้องเผชิญกับความเสี่ยงของเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งอาจส่งผลกับระบบภูมิคุ้มกันของเขา
แม้ว่าจะมีการตรากฎหมายอย่างเข้มงวดในเรื่องนี้ ทว่ามันอาจเป็นเรื่องยากที่จะจุงใจคนที่ไม่เชื่อถือให้หันมาฉีดวัคซีนอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์นี้มันอาจช่วยปกป้องเด็กๆ จากโรคภัยได้ในระดับหนึ่ง
ที่มา: thisisinsider