อินเดีย นับเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและสหรัฐอเมริกา
ในดินแดนภารตะแห่งนี้ได้มีการสร้างมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 20,000 แห่ง ระหว่างปี 2000 – 2010 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษากว่า 8 ล้านคนในช่วงเวลานั้น
ระบบการศึกษา
ที่นี่ใช้ระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับระบบที่ใช้ในอังกฤษ โดยจะแบ่งการศึกษาออกเป็นปริญญาตรี และปริญญาโท มีวุฒิ “ศิลปะศาสตร์” และ “วิทยาศาสตร์” นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสำหรับผู้เรียนที่จบหลักสูตรปริญญาโทที่กำหนดไว้ในสาขาการศึกษาของตน
สาขายอดนิยม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสาขาที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากรัฐบาลในระดับวิทยาลัย (หรือมหาวิทยาลัย) ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีหลากหลายแห่ง เช่นสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดียและสถาบันการจัดการอินเดียที่ได้รับการยกย่องจากองค์กรการศึกษาทั่วโลก
อีกทั้ง สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ของอินเดียในนิวเดลี ถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการวิจัยชั้นนำสำหรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิธีการรักษาสมัยใหม่
การเข้าเรียน
การรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยจะขึ้นอยู่กับคะแนนของแต่ละคนในขณะที่ศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงความสามารถในการแข่งขันเพื่อสอบเข้าสาขาที่มีชื่อเสียงเช่น แพทยศาสตร์ ซึ่งในแต่ละปี จะมีการทดสอบ Pre-Med ของ All India โดยสถิติระบุเอาไว้ว่า จากผู้สมัคร 200,000 คน จะมีเพียง 2,000 คนเท่านั้นที่ได้เข้าเรียน
สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ต้องการศึกษาต่อในอินเดีย จะต้องมีหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาอย่างน้อย 12 ปีในระดับมัธยมศึกษาจากประเทศบ้านเกิด
ทั้งยังต้องผ่านการสอบและยื่นผลคะแนนต่อกระทรวงการต่างประเทศในนิวเดลี โดยจะไม่มีสิทธิ์สอบเข้าในสาขาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมโดยตรง จนกว่าจะผ่านการพิจารณาผลการศึกษาที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม หลักสูตรอื่นๆ ในบางสาขาอาจไม่มีการสอบเข้า โดยจะใช้คะแนนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น ACT หรือ SAT ยื่นเพื่อให้มีสิทธิ์เข้าเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถาบันเหล่านั้น และ นักศึกษาต่างชาติยังไม่สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐของอินเดียได้
ค่าเล่าเรียนในอินเดีย
ค่าเล่าเรียนในอินเดียจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน โดยมหาวิทยาลัยรัฐจะได้มีค่าเล่าเรยนที่ถูกกว่าเอกชนเนื่องจากได้รับการสนับสนุน
พลเมืองอินเดียจะต้องจ่ายค่าเล่าเรียนต่อปีสูงสุด 100 เหรียญ (ประมาณ 3,200 บาท) เพื่อเาเรียนต่อในมหาวิทยาลัยรัญ ในขณะที่วิทยาลัยเอกชนอาจมีค่าเล่าเรียนสูงถึง 400 – 25,000 เหรียญต่อปี (ประมาณ 13,000 – 817,000 บาท) ขึ้นอยู่กับสถาบันและหลักสูตรที่เลือกเรียน
นักศึกษาต่างชาติที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชนมักได้รับความพึงพอใจเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากความพร้อม ความทันสมัย และหลักสูตรที่เป็นสากล ในขณะที่นักเรียนอินเดียต้องรอสวัสดิการการศึกษาจากรัฐ แต่นักเรียนต่างชาติที่มีกำลังจ่ายเงินค่าเรียนจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางกว่า
อย่างไรก็ตาม ที่แห่งนี้นับเป็นแล่งความรู้ชั้นยอดสำหรับผู้ที่สนใจในด้านเทคโนดลยีและสถาปัตยกรรมตะวันออก รวมถึงสาขาคอมพิวเตอร์และ IT
ที่มา: masterstudies