เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา นิตยสาร National Geographic ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่บีบคั้นหัวใจบนหน้าเฟซบุ๊ค ซึ่งเป็นภาพหมีขั้วโลกตัวผอมแห้งจนเห็นซี่โครงกำลังคุ้ยหาอาหารประทังชีวิต
ภาพนี้ได้รับการบันทึกโดยช่างภาพ Paul Nicklen ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร SeaLegacy ซึ่งเขาและทีมงานเป็นผู้พบหมีขั้วโลกที่ผอมแห้งดังกล่าว ที่บริเวณเกาะแบฟฟิน ประเทศแคนาดา และหลังจากนั้นภาพและคลิปก็แพร่กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ตกลายเป็นประเด็นในเวลาต่อมา
ในขณะที่คลิปดังกล่าวนำไปสู่หัวข้อสนทาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวลงเรื่อยๆ ซึ่งอีกหนึ่งกระแสที่ชาวเน็ตต่างพูดถึงไม่แพ้กัน คือทำไมทีมงานเหล่านั้นถึงไม่ทำอะไรเลยเพื่อช่วยหมีขั้วโลกที่น่าสงสาร??
โดยผู้ใช้เฟสบุ๊ค Brandi Nicole คอมเม้นว่า “ถูกต้องหรือไม่ ถ้าแหล่งอาหารของหมีขั้วโลกถูกมนุษย์เราทำลาย ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของเราในการมีแหล่งอาหารมาทดแทนให้มัน แค่ให้อาหารหมีนั่นซะ!!”
โดยทาง National Grographic ออกมาโต้ตอบด้วยการเผยแพร่บทความที่เขียนโดย Cristina Mittermeier ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร SeaLegacy ซึ่งได้กล่าวถึงประสบการณ์และความยากลำบากในการถ่ายทำว่า
“ไม่มีอะไรเลวร้ายสำหรับคนที่รักสัตว์ป่าและธรรมชาติมากกว่าการเป็นพยานที่ได้เห็นถึงความทุกข์ทรมานของสัตว์ นั่นคือเหตุผลที่เราถ่ายภาพความทุกข์ยากของหมีขั้วโลกนี้ และไม่สามารถให้ความช่วยเหลืออะไรได้เลย มันยากมากจริงๆ… ”
“… บางคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเราไม่ได้ทำอะไรเพื่อช่วยเหลือหมีตัวนั้น นั่นเป็นเพราะว่าเราอยู่ไกลจากหมู่บ้านอื่นๆ เพื่อขอความช่วยเหลือ และการเข้าใกล้นักล่าที่หิวโหยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราไม่มีอาวุธติดตัว มันดูจะเป็นความคิดที่ไม่เข้าท่าเท่าไหร่นัก”
“ในตอนท้ายฉันจึงทำสิ่งเดียวที่ฉันสามารถทำได้ นั่นคือใช้กล้องบันทึกเพื่อสามารถแบ่งปันเรื่องเศร้าสลดนี้แก่คนทั้งโลกได้ …
แม้ฉันจะไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า หมีตัวนี้หิวโหยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าหมีขั้วโลกพึ่งพาแผ่นน้ำแข็งทะเลในการหาอาหาร ซึ่งที่อาร์กติกก็ร้อนเร็วขึ้นนั่นหมายความว่าในแต่ละปีทะเลน้ำแข็งจะหายไปเป็นเวลานาน”
“นั่นหมายความว่า หมีขั้วโลกจำนวนมากจะต้องติดอยู่บนบกและไม่สามารถทำการล่าเหยื่อได้ ซึ่งอาหารของมันมีทั้งแมวน้ำ วอลรัส และวาฬ ดังนั้นพวกหมีขั้วโลกจนค่อยๆ หิวโซและตายลงในที่สุด”
ซึ่งเราในฐานะชาวโลกก็ไม่ควรปล่อยให้วิกฤติของสภาพแวดล้อมเป็นเรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะเราต่างยืนอยู่บนดาวเคราะห์ดวงเดียวกันมีส่วนต้องร่วมกันรับผิดชอบ และติดตามความเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ที่มา designtaxi.com