ฟินแลนด์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก และเป็นตัวอย่างที่ดีในหลายๆ ด้านสำหรับประเทศอื่นๆ เช่น การจัดการกับปัญหาในท้องที่
ปัญหาการบูลลี่หรือการกลั่นแกล้งในโรงเรียนเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกต้องเผชิญ ไม่เว้นแม้แต่ในฟินแลนด์เองก็ตาม แต่วิธีการรับมือของพวกเขานั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
ฟินแลนด์สร้าง KiVa โปรแกรมต่อต้านการรังแกที่ใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งจากข้อมูลที่ออกโดย UIS พบว่าเด็กวัยรุ่น 1 ใน 3 ทั่วโลก จะต้องพบกับประสบการณ์ การถูกรังเเก และโปรแกรมนี้ของฟินแลนด์ ได้กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่ง
KiVa ประกอบด้วยโปรแกรมต่อต้านการรังแกที่สร้างขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศฟินแลนด์ โดยคำว่า KiVa เป็นตัวย่อของ “Kiusaamista Vastaan” ซึ่งแปลว่า “การต่อต้านการกลั่นแกล้ง” ในภาษาฟินแลนด์
มันถูกสร้างขึ้นในปี 2007 และในปีเดียวกันนั้น อัตราการกลั่นแกล้งในดรงเรียนของฟินแลนด์ได้ลดลงถึง 40% และส่งผลให้ในปัจจุบัน การกลั่นแกล้งนี้ลดลงถึง 90%
เป้าหมายของ KiVa คือการทำให้นักเรียนตระหนักถึงอันตรายของการกลั่นแกล้งผู้อื่น และช่วยให้พวกเขากลายเป็นผู้ปกป้องของผู้ที่ถูกรังแก
เด็กๆ จะเรียนรู้วิธีรับมือหากพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับคนพาลด้วยกัน และการเปลี่ยนแปลงความคิด จะทำให้พวกเขาไม่รังแกเด็กๆ คนอื่นอีกเลย
วิธีการการทำงานของ KiVa ก็คือ
– พวกเขาสร้างกล่องจดหมาย สำหรับให้ร้องเรียนการโดนรังแกโดยไม่ระบุชื่อ
– จากนั้นจะมีคุณครูที่สามารถเชื่อใจได้ เข้ามาคอยรับฟัง ดูแล และเข้าใจ ซึ่งในขณะนั้น คุณครูจะสังเกตพฤติกรรมของพวกเขาไปด้วย
– พวกเขาจะจัดตั้งทีมสนับสนุนนักเรียนที่ถูกกลั่นแกล้ง จะมีครูผู้เชี่ยวชาญ 3 คนที่รับผิดชอบดูแลเด็กที่ถูกรังแก และเจรจากับเด็กเกเรจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข
– พวกเขาจะทำงานโดยเข้าใจเงื่อไขทางอารมณ์และวัย เด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีบ่งบอกอารมณ์ของคนรอบข้างผ่านภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากคำพูด และรู้จักเอาใจใส่รวมถึงเคารพคนอื่นๆ
– นักเรียนที่เข้าร่วมในโปรแกรมนี้มีอยู่ประมาณ 20 ชั้น โดยเเบ่งเป็นช่วงอายุ 7 , 10 และ 13 ปี ด้วยวิธีนี้ ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถออกแบบการแก้ไขปัญหาตามช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม
https://www.facebook.com/elpais/videos/10153315237116570/?t=0
หลังจากที่วิธีนี้ประสบความสำเร็จในประเทศฟินแลนด์ ทำให้ประเทศอื่นๆ นำวิธีนี้ไปใช้
ในปี 2015 โปรแกรม KiVa นั้นได้รับการยอมรับในประเทศแถบละตินอเมริกา ได้แก่ อาร์เจนตินา โคลัมเบีย สเปน เม็กซิโก และชิลี
ในเวลานั้นเนื้อหาดังกล่าวมีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น จึงเริ่มมีการนำไปใช้ในโรงเรียนสองภาษา ในประเทศอื่นๆ เช่นเนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, เบลเยียม, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, เอสโตเนีย, สวีเดน, นิวซีแลนด์และฮังการีก็เริ่มใช้วิธีนี้ในโรงเรียนของพวกเขาด้วยเช่นกัน
เรียกได้ว่าเป็นวิธีการรับมือที่ต้องอาศัยความใส่ใจ และความเข้าใจเป็นอย่างมาก ในบ้านเราหากมีโรงเรียนไหนทดลองนำไปใช้ คงจะช่วยแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งให้ลดน้อยลงบ้างเช่นกัน :)
ที่มา: brightside