เพื่อนๆเคยประสบพบเจอกับตัวเองไหมครับ อาการที่เรียกว่า “ผีอำ” !? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นผีจริงๆที่กำลังอำเรา!? วันนี้ Scholarship.in.th มีคำตอบของอาหารผีอำในมุมมองของวิทยาศาสตร์มาฝากเพื่อนๆกันครับ
นายแพทย์ เทอดศักดิ์ เดชคง ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาบริการสุขภาพจิต สำนักพัฒนาบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข ได้ให้คำตอบว่า “ผีอำเป็นปัญหาในการนอน เป็นความผิดปกติในการนอน คือการนอนมีหลายประเภท เช่น นอนปกติ นอนแล้วฝัน ฝันร้าย หรืออยู่ดีๆ ก็ร้องขึ้นมา ซึ่งเราจะเจอในเด็ก ส่วนฝันร้ายเจอได้ทุกอายุ
ผีอำนั้นเป็นสภาวะที่คล้าย ๆ กับการฝัน เพราะขณะที่ถูกผีอำคนคนนั้นจะอยู่ในสภาวะที่ขยับตัวไม่ได้ ต้องเข้าใจนิดนึงงนะครับว่า มันจะมีสภาวะการหลับที่เราเรียกว่า non-REM ซึ่งช่วงนั้นเวลานอนตาเราไม่ได้กลอก เพราะฉะนั้นเรายังพอมีกำลังขยับตัวได้ พลิกตัวได้ ช่วงเวลานั้นถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เราจะลุกขึ้นมาได้
แต่ในภาวะหลับตาแบบตากระตุก ( REM sleep ) จะมีการฝัน กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะผ่อนคลายหมด ขยับตัวไม่ได้ยกเว้นต้องตื่น คำว่าตื่น หมายถึงต้องมีการเขย่าตัวรุนแรง แล้วในช่วงเวลานั้นถ้ามีสิ่งเร้าอะไรที่มาทำให้เราไม่สบาย เช่น อาจจะมีหมอนข้างมาวางอยู่บนตัวหรือขา หรืออาจจะนอนในท่าที่ไม่สบายนักก็จะมีการแปลภาวะนั้นเป็นความไม่สบาย แล้วบางทีก็ไปผูกเรื่องกับความฝัน ทำให้เขาอยากจะออกจากสถานการณ์นั้น แต่ว่าทำไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อมันคลายไปหมดแล้ว
เพราะฉะนั้นในภาวะอย่างนั้น ก็จะเป็นสภาวะที่เขาจะรู้สึกเหมือนกับว่าใครมากดทับเขา มันเป็นสภาวะที่หลีกหนีไปไม่ได้ แต่สักพักนึงเขาจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง คนถูกผีอำ ยังไงก็ตามไม่ตายหรอก ! ต้องฟื้นมาแน่ แต่สิ่งที่เขาจะกลัวก็คือ เป็นแล้วอาจจะเป็นอีก ซึ่งเราเจอได้บ่อย ๆ”
ส่วนด้านการรักษาอาการผีอำ คุณหมอได้ให้ความเห็นว่า “วิธีการง่าย ๆ คือการผ่อนคลายความเครียด นั้นคือก่อนนอนสัก ๑- ๒ ชั่งโมง อย่าไปทำอะไรที่มันตื่นเต้น ( เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกมส์ ) ก่อนนอนอาจจะอาบน้ำอุ่น หรือดื่มนมอุ่น ๆโดยเฉพาะนมถั่งเหลือง จะทำให้หลับสบายขึ้น หรืออาจจะใช้วิธีสะกดจิตเข้าช่วยดดยการโปรแกรมจิตใหม่ก็จะช่วยได้
กรณีที่มีอาการมาก ๆ เราก็มียาให้เหมือนกัน เป้นพวกยาคลายเครียด หรือยาต้านเศร้า ซึ่งจะทำให้เขาหลับสนิทข็นโดยไม่ฝันมากนัก คือคนที่ผีอำจะฝันปนอยู่ด้วย เราก็ทำความฝันนั้นให้น้อยลง อาการผีอำก็จะลดลงเหมือนกัน หลักง่าย ๆ เวลาโดนผีอำให้นอนเฉย ๆ สักพักอาการจะหายไปเอง ”
และความเชื่อที่ว่าการนอนเวลาโพล้เพล้นั้นจะทำให้ผีอำ คุณหมอก็ให้ความเห็นว่า “เวลาเย็น ๆ หรือเวลา โพล้เพล้ มันเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสง คือธรรมชาติของคนในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสงนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาในการนอน คือถ้าเรานอนตอนกลางคืน หรือกลางวันไปเลยจะไม่ค่อยมีปัญหา สิ่งที่ผู้ใหญ่พูดเป้นสิ่งที่ถูกต้องนะ เพราะไม่ใช่เรื่องผีอำย่างเดียวหรอกอาจจะนอนฝันร้ายก็ได้ เพราะว่าหลับไม่สบาย หลับไม่สนิท”
ทีนี้รู้แล้วนะครับว่า อาการผีอำเกิดขึ้นมาจากอะไร ดังนั้นก่อนนอนก็ควรทำใจให้สบายอย่าไปคิดกังวอะไรมากครับ
วันนี้ขอลากันไปเพียงเท่านี้ แล้วกลับมาพบกับวาไรตี้ดีๆอัพเดททุกวันกับ Scholarship.in.th กันนะครับ
ที่มา: mthai