ในช่วงวัยเรียนหรือวัยทำงานนอกจากจะมีการบ้านหรืองานที่ต้องปั่นส่งอาจารย์และหัวหน้าแล้ว การนำเสนองาน (Presentation) ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้งานของเราดูสมบูรณ์แบบมากขึ้น
โดยเราเชื่อว่าส่วนมากเพื่อนๆคงทำ Presentation จาก โปรแกรม Powerpoint ซึ่งวันนี้เรามีเทคนิคการทำ Powerpoint ในการนำเสนอข้อมูลไม่ให้น่าเบื่อ ดูน่าสนใจ เข้าใจง่าย และดู Professional มากขึ้น….
1. “Flat Design” เรียบง่าย สดใส และชัดเจน
“Flat Design” คือ การออกแบบทุกอย่างให้ดูแบนราบ ลดการใช้องค์ประกอบทุกอย่างที่มีมิติ ไม่ว่าจะเป็น การให้แสงและเงา การใส่พื้นผิวให้กับวัตถุ การไล่สี รวมไปถึงสิ่งอื่น ๆ ที่จะทำให้วัตถุนั้นลอยออกมา เพราะต้องการเน้นไปที่ “Content” มากกว่าสิ่งอื่นใด
ดังนั้นหน้าตาของ Flat Design จึงเป็นอะไรที่เรียบง่าย แต่มีจุดเด่นที่สีสันสดใสและฉูดฉาดมากยิ่งขึ้น จากเดิมอาจใช้แค่ 2-3 สี แต่ Flat Design จะใช้ 6-8 สี เลยทีเดียว เพราะเมื่อทุกอย่างในงานพรีเซนเทชั่นของเราต้องดูราบเรียบ จึงต้องใช้สีเข้ามาช่วยเพื่อให้ผู้ชมจดจำได้มากขึ้น
เทคนิค
1). ภาพนิ่งของเราควรจะเรียบง่าย และชัดเจน
2). กำจัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อความไม่ยุ่งเหยิง อย่าใช้บุลเล็ต และข้อความตัวอักษรที่เยอะเต็มหน้า สไลด์
3). หลีกเลี่ยงการใช้เอฟเฟคมากจนเกินไป เพราะจุดมุ่งหมายของเราอยู่ที่การสื่อสาร ไม่ได้เพื่อที่จะได้รางวัลออสการ์เรื่องเทคนิคพิเศษแต่อย่างใด
4). ใช้ภาพเคลื่อนไหวเท่าที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ข้อความบินได้ หรือข้อความกระพิบสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้จริง แต่ควรใช้กับเฉพาะข้อความที่เป็นหัวข้อ (Topic) เท่านั้น
5). เสียงเอฟเฟคที่มาพร้อมกับภาพเคลื่อนไหว หลีกเลี่ยงได้จะดีที่สุด
2. “Mix and Match” ตัวอักษร
ตัวอักษร (Fonts) ถือเป็นจุดดึงดูดใจแรก ๆ ในงานพรีเซนเทชั่น การเลือกใช้ตัวอักษรที่ไม่ซ้ำซากจำเจเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับในงานPowerPoint ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอของเราให้ดูดีเป็นที่จดจำมากขึ้น ด้วยการผสมและจับคู่ตัวอักษร 2-3 แบบในงานพรีเซนเทชั่น และนิยมใช้ตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ จะทำให้งานเราดูแตกต่างจากคนอื่นอีกด้วย
เทคนิค
1). ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ที่ง่ายต่อการอ่าน (อย่างน้อย 24-point)
2). อย่าใช้ตัวอักษรที่เป็นตัวหนาทั้งหมด ควรใช้เน้นเฉพาะคำสำคัญ หรือ วันที่
3). เลือกตัวอักษรสีเข้ม บนพื้นหลังสีสว่าง ยกตัวอย่างเช่น พื้นหลังสีขาว และสีเหลือง ควรเลือกใช้ตัวอักษรสีดำ หรือสีน้ำเงินเข้ม ถ้าพื้นสีเข้มก็ควรเลือกใช้ตัวอักษรสีอ่อน แต่สำหรับเทรนของ Flat Design จะนิยมใช้เป็นตัวอักษรสีขาว บนพื้นหลังสีเข้ม หรือพื้นหลังที่เป็นรูปภาพ นั่นเอง
4). อย่าลืมกฎ “7×7” คือ อย่าให้เกิน 7 คำต่อ 1 บรรทัด และอย่าให้เกิน 7 บรรทัด ต่อหนึ่งสไลด์
5). หลีกเลี่ยงความจำเจจากการใช้ตัวอักษรแบบเดิม ๆ ไม่ว่าจะเป็น Angsana, Cordia และ Times New Roman ลองหาฟอนต์ใหม่ ๆ ให้เข้ากับงาน โดยสามารถเลือกดาวน์โหลดได้ฟรีจาก www.f0nt.com และฟอนต์ภาษาอังกฤษสวย ๆ จาก www.fontsquirrel.com ดีและฟรีอีกเช่นเดียวกัน
3. เลือกสีดี..มีชัยไปกว่าครึ่ง
สีสามารถกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึก การเลือกสีที่เหมาะสมจะสามารถโน้มน้าวและสร้างแรงจูงใจ เทคนิคง่าย ๆ ที่คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีสี เพียงแค่จำไว้ว่า สีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สีโทนเย็น (Cool colors) เช่น สีฟ้า และสีเขียว และสีโทนอบอุ่น (Warm colors) เช่น สีส้ม และสีแดง โดยสีโทนเย็น จะเหมาะสำหรับทำเป็นพื้นหลัง (Background) และสีโทนอบอุ่น ไว้สำหรับเป็นสีของข้อความ (Text) สีตัวอย่างพื้นหลังที่อยากแนะนำให้ลองไปปรับใช้กับงานพรีเซนเทชั่นของคุณ หรือจะเข้าไปครีเอทสีสวย ๆ ได้ที่เว็บไซต์ color.adobe.com
4. ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดนับพันคำ
ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดดี ๆ ได้นับร้อยนับพันคำ สามารถดึงดูดใจและสร้างแรงบันดาลใจไปยังผู้ชมให้ได้รับรู้ถึงเป้าหมายและประเด็นที่คุณต้องการนำเสนอ
การเลือกภาพมาใช้ปัจจุบันต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะมีกฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพถ่ายกล่าวไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีอีกหลายเว็บไซต์ที่สามารถดาวน์โหลดรูปภาพและภาพถ่ายมาใช้ได้ฟรี ไม่มีลิขสิทธิ์และค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
5. Infographics
การนำเสนอแบบอินโฟกราฟฟิก คือการนำเสนอโดยใช้รูปภาพช่วยดึงดูดความสนใจ
โดยต้องพยายามนำเสนออินโฟกราฟฟิกในรูปแบบใหม่ ๆ จะช่วยให้น่าสนใจมากกว่า กราฟแผนภูมิแท่ง หรือแบบวงกลมแบบทั่วๆไป แต่ถ้าคิดว่าการทำอินโฟกราฟฟิกใช้เองเป็นเรื่องที่ยากเกินไป เ
รามี 10 Free Infographic Templates in PowerPoint แม่แบบอินโฟกราฟฟิกที่สามารถเข้าไปดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี!!! และสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องเพียงแค่เข้าไปสมัครใช้งานที่เว็บไซต์ง่ายนิดเดียว
Source:manager
4 Comments
Comments are closed.
[…] + ดูรายละเอียดที่นี่ […]
[…] + ดูรายละเอียดที่นี่ […]
[…] Read More […]
3accomplishing