การแข่งขันด้านการศึกษามีอยู่ในทุกที่ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงการวิจัย แน่นอนว่าคุณอาจต้องการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ แต่การแข่งขันจะเกิดขึ้นเมื่อคุณต้องแย่งชิงการตีพิมพ์ การรับทุน หรือแม้แต่การเผยแพร่ผลงานที่มีชื่อของคุณไปในวงกว้าง
ในสาขาวิทยาศาสตร์ การครองความเป็นที่หนึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งพวกเขาได้ลองวิเคราะห์แบบคร่าวๆ แตกประเด็นออกมาได้ดังนี้
ข้อดี
1. คุณจะไปได้ไกลกว่าเดิม
การแข่งขันเป็นแรงกระตุ้นชั้นยอดให้ผู้คนเกิดแรงผลักดันตัวเองให้ออกวิ่งเพื่อคว้าชัยชนะ การแข่งขันยังเป็นช่องทางเพิ่มโอกาสให้คุณได้แสดงศักยภาพและต่อยอดไปสู่เส้นทางที่หลากหลายได้มากยิ่งกว่า
2. การแข่งขันกระตุ้นให้วิทยาศาสตร์เติบโต
ในสาขาวิทยาศาสตร์มีการแข่งขันสูงกว่าที่เคย การเข้าถึงทรัพยากรและการระดมทุนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับงานด้านวิชาการที่น่าสนใจ
ในบทความบรรณาธิการเมษายนปี 2015 ว่าด้วยเรื่องของวารสารการติดเชื้อ และภูมิคุ้มกัน ผู้เขียนอ้างเรียงความของ Robert K. Merton ปี 1957 ซึ่งเขาระบุว่า “การแข่งขันเป็นแรงผลักดันในการค้นคว้าวิจัย ตั้งแต่ Newton และ Leibniz ไปจนถึง Darwin และ Russell การแข่งขันสามารถกระตุ้นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ให้ไปได้ไกลและเร็วยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
ข้อเสีย
1. การแข่งขันทำให้เกิดความเร่งรีบที่อาจนำมาซึ่งความผิดพลาด
ใช่แล้ว เมื่อมีการแข่งขันมาเป็นตัวกำหนด ก็อาจทำให้มีแนวโน้มที่การตัดสินใจจะขาดความรอบครอบมากยิ่งขึ้น
ผลของการตัดสินใจที่เร่งรีบเหล่านี้บางครั้งก็ดี แต่หลายครั้งมีนก็นำมาซึ่งเหตุร้ายแรงในภายหลัง เช่น การรีบทำงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงานเพื่อให้ได้เป็นคนแรกที่คิดค้นเรื่องราวใหม่ๆ ได้ อาจทำให้คุณมองข้ามข้อผิดพลาด และเผลอปล่อยข้อมูลที่ไม่เป็นจริงสู่สาธารณะชน
2. มันอาจสร้างพฤติกรรมที่ไม่ดีให้กับคุณ
มนุษย์ทุกคนมีด้านมืด โดยเฉพาะเมื่อถูกกระตุ้นด้วยการแข่งขัน ทำให้คุณอาจเผยพฤติกรรมที่ไม่ดี ซึ่งตัวคุณเองก็อาจไม่อยากเป็น เช่น การกลายเป็นคนขี้โมโห เอาแต่ใจ หรือชอบเอาชนะและแพ้ไม่เป็น ทั้งหมดนี้อาจนำมาซึ่งความเสียใจในภายหลังได้
การใช้การแข่งขันเป็นแรงผลักดันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือความภาคภูมิใจในทุกสิ่งที่คุณทำ แม้ว่าจะไม่ได้ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ก็ตาม
ที่มา: masterstudies