เมื่อพูดถึงนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ หลายคนอาจคิดว่าทั้งสองอาชีพนี้คืออาชีพเดียวกัน
แม้ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถทำงานร่วมกันในทีมบำบัดเพื่อให้ความช่วยเหลือเหล่าคนไข้ได้ แต่ทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ก็มีความแตกต่างในสายงานอาชีพอยู่เล็กน้อย
วันนี้ เราจะชวนคุณมาเพิ่มเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยอ้างอิงจากความแตกต่างของจิตแพทน์และนักจิตวิทยาในสหรัฐอเมริกา เลื่อนลงไปดูกันเลย!
1. นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ : เรื่องของวุฒิการศึกษา
จิตแพทย์จะต้องจบจากมหาวิทยาลัยในคณะแพทยศาสตร์ (หรือที่เกี่ยวข้อง) ต้องได้รับการฝึกอบรมมาจนเชี่ยวชาญ และมีคำว่า “MD” ต่อท้ายหลังชื่อของพวกเขา
ในขณะที่นักจิตวิทยาสามารถจบการศึกษาด้านปรัชญา (PhD) หรือทางด้านจิตวิทยา (PsyD)ได้
ความแตกต่างอย่างหนึ่งคือจิตแพทย์ทุกคนสามารถสั่งจ่ายยาได้ ในขณะที่นักจิตวิทยาจะสามารถทำได้ ก็ต่อเมื่อในพื้นที่นั้นมีกฎหมายที่ระบุครอบคลุมถึงเรื่องนี้เท่านั้น
2. ระบบการทำงานของนักจิตวิทยา และจิตแพทย์
หนึ่งในความแตกต่างของสายงานของพวกเขาก็คือ จิตแพทย์มักมุ่งเน้นการรักษาไปที่คุณสมบัติทางกายภาพของสมอง หรือการใช้ยาเพื่อช่วยปรับสมดุลเคมีของสมอง
ในขณะที่นักจิตวิทยาจะช่วยในการบำบัดเพื่อให้คุณเข้าใจถึงอารมณ์ ความนึกคิดของตัวเอง ทั้งยังช่วยให้คุณสามารถจัดการหรือรับมือกับปัญหาทางอารมณ์ของตัวเองได้
3. แนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน
ทั้ง 2 สาขา ต่างวินิจฉัยและรักษาความเจ็บป่วยทางจิต ทว่าความแตกต่างที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนก็คือ จิตแพทย์มักจะใช้ยาเป็นแนวทางในการรักษาหลัก ขณะที่นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการพูดคุยบำบัด
บ่อยครั้งที่นักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะทำงานร่วมกันเพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยวิธี เช่น นักจิตวิทยาที่ดำเนินการบำบัดและนักจิตแพทย์สั่งยาหากจำเป็น
4. นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ คุณควรเลือกไปหาหมอคนไหน?
หากอาการของคุณค่อนข้างรุนแรง มีแนวโน้มที่จะรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย การใช้สารเสพติด หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก คุณควรที่จะเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ เพื่อรับยาที่สามารถแก้ปัญหาของคุณได้ ซึ่งอาจนอกเหนือไปจากการพูดคุยกับนักจิตวิทยา
ส่วนในกรณีที่คุณมีความวิตกกังวล แต่ยังไม่ร้ายแรงขนาดที่ใช้ชีวิตอย่างปกติสุขไม่ได้ การพบกับนักจิตวิทยาจะช่วยให้คุณสามารถมองหาทางออกได้โดยไม่ต้องพึ่งยา
แต่ในกรณีที่ร้ายแรงกว่านั้น อาจต้องใช้ทีมบำบัดที่มีทั้งนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ทำงานร่วมกัน
5. เครื่องมือการใช้ที่เหมือนกัน
ทั้ง 2 สาขาต่างพึ่งพาคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต (DSM-5) จากสมาคมจิตแพทย์อเมริกันเช่นเดียวกัน
นอกจากคู่มือนี้ พวกเขาอาจใช้การทดสอบอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อให้วินิจฉันและทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง
6. ภาคปฏิบัติ
จากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychiatric Services พบว่า จิตแพทย์ส่วนใหญ่จะพบกับผู้ป่วยในช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 10 ถึง 30 นาที ในการพบปะเหล่านี้ จะรวมถึงการจัดยา และสามารถเว้นระยะห่างกันได้ 1 – 3 เดือน
ปัญหาหนึ่งนอกจากระยะเวลาที่ไม่มากพอก็คือ คนป่วยส่วนใหญ่มักมีปัญหาด้านการเงิน ทำให้ภาระเหล่านี้ถูกผลักไปให้นักจิตวิทยา ซึ่งโดยปกติจะมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่า
ในส่วนของนักจิตวิทยา พวกเขามักจะมีเวลาในการพูดคุยกับผู้ป่วยประมาณ 45 นาที สัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง การรักษาอาจใช้เวลาประมาณ 6 ถึง 12 ครั้ง หรือนานกว่านั้นถ้าจำเป็น
การรับการรักษา ควรเริ่มจากการพิจารณาระดับความร้ายแรงในตัวเองเพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้บริการผู้เชี่ยวชาญได้อย่างถูกต้อง และท้ายที่สุดแล้ว การเข้ารับคำปรึกษา จะช่วยให้คุณผ่านพ้นความเจ็บป่วยนี้ไปได้ :)
ที่มา: rd.com