“อินเดีย” เป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มหันมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและน่าชื่นชม จากการรายงานว่าดลกของเรากำลังเผชิญกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากกว่าที่มีมาในอดีต ทำให้เรื่องราวที่เรากำลังจะเล่าให้คุณนี้คืออีกหนึ่งความน่าประทับใจ
Akshar เป็นโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ไม่ใช่โรงเรียนสอนศาสนาในประเทศอินเดีย หนึ่งในสิ่งที่ทำให้โรงเรียนนี้โดดเด่น คือการประกาศให้นักเรียนพกถุงพลาสติกมาทุกวัน เพื่อเก็บขยะระหว่างเดินทางไปโรงเรียน
Mazin และ Parmita คู่รักผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียน เล่าว่า พวกเขาคิดไอเดียนี้ร่วมกัน หลังจากที่ได้พบกัน ณ เมืองนิวยอร์ก เมื่อปี 2013
“เราทั้งคู่ต่างก็ใฝ่ฝันที่จะเริ่มต้นใหม่ โรงเรียนของเราถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเด็กที่ยากจน เราก่อตั้ง Akshar ในปีที่เราได้พบกัน ก่อนจะตั้งชื่อว่า Akshar Forum ในปี 2016”
แรกเริ่ม เมื่อทางโรงเรียนจัดทำศูนย์รีไซเคิล เหล่าผู้ปกครองไม่ได้ให้ความร่วมมือเท่าที่พวกเขาคาดหวังไว้ จึงเกิดเป็นไอเดีย “เปลี่ยนพลาสติกให้เป็นค่าเทอม” เพื่อบังคับให้ผู้ปกครองต้องใช้วัสดุรีไซเคิล
ก่อนหน้านี้ โรงเรียนนี้เปิดสอนให้ฟรีเป็นเวลาหลายปีก่อนจะออกมาตรการบังคับ ซึ่งความจริงแล้ว ดูเหมือนจะเป็นการบ้านที่เด็กๆ ต้องทำ มากกว่าจะเป็นค่าเล่าเรียน สิ่งนี้จะทำให้ผู้ปกครองตระหนักได้ว่า แม้ทางโรงเรียนจะไม่ได้คิดค่าใช้จ่าย แต่อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ คือช่วยเหลือโรงเรียนและช่วยเหลือตัวเองจากการใช้พลาสติกรีไซเคิลเหล่านั้น
เด็กส่วนใหญ่เคยเป็นคนงานในเหมือนหินใกล้ๆ กันนี้ ก่อนที่โรงเรียนจะก่อตั้งขึ้น โดยได้รับค่าจ้างเพียงวันละ 2.50 เหรียญฯเท่านั้น (ประมาณ 80 บาท)
เนื่องจากทางโรงเรียนไม่มีงบประมาณที่จะลงทุนเพื่อเด็กๆ พวกเขาจึงใช้วิธีให้เด็กโตสอนเด็กเล็ก
โรงเรียนยังสอนนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับอันตรายของพลาสติกด้วย จากข้อมูลของ Parmita พ่อแม่หลายคนเคยเผาพลาสติกเพื่อให้ความอบอุ่นภายในบ้าน เมื่อทางโรงเรียนเริ่มให้การศึกษาแก่ชุมชน พวกเขาตกใจที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายที่พวกเขาทำต่อหน้าลูกๆ
ไม่เพียงเท่านี้ พวกเขายังสอนให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะหารายได้ โดยการจ้างให้พวกเขาเป็นติวเตอร์ เป็นนักสังคมสงเคราะห์และอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเด็กเล็กจะได้รับการดูแลจากพี่ๆ อย่างเอาใจใส่ ส่วนเด็กโตจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ
พวกนักเรียนจะได้รับรายได้ตามทักษะที่พวกเขามี และจะถูกปรับหากมีพฤติกรรมที่ไม่ดี ซึ่งนั่นเป็นแรงจูงใจที่ดีมาก ที่ทำให้เด็กกระตือรือร้นที่จะเป็นเด็กดีและพัฒนาตัวเอง
“การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นพลาสติกจะสอนให้พวกเขารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หากทุกโรงเรียนทำแบบนี้ มันจะช่วยเปลี่ยนผลกระทบแง่ลบของธรรมชาติให้ดีขึ้น นักเรียนสามารถเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาที่ทำให้ชุมชนของพวกเขาประสบปัญหา และพวกเขาสามารถพัฒนาเครื่องจักรและสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของพวกเขาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้”
จากเเรกเริ่มที่พวกเขาตั้งโรงเรียนด้วยนักเรียนเพียง 20 คน ในวันนี้พวกเขามีนักเรียกถึง 110 คนเเล้ว นักเรียนทุกคนจะนำขยะพลาสติกมาประมาณ 25 ชิ้นต่อสัปดาห์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือชุมชน
“ในตอนแรกเด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ของเราเป็นคนงานตกงานและแรงงานเด็ก ตอนนี้พวกเขาได้รับเงินจากโรงเรียนโดยการสอนในเวลาทำการ และทำงานที่ศูนย์รีไซเคิลของเราหลังเลิกเรียน”
พวกเขาจะนำขยะเหล่านั้นมาบรรจุลงขวดเพื่อสร้าง Eco-Bricks และนำไปสร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
Mazin และ Parmita ผู้ที่สร้างโรงเรียนที่เต็มไปด้วยความฝันและความน่าทึ่งนี้ปรารถนาที่จะสร้างโรงเรียน 100 แห่งเช่นนี้ทั่วอินเดียในอนาคต ซึ่งนั่นอาจนำมาซึ่งการแก้ปัญหาที่จะช่วยทั้งเยาวชนและโลกของเราก็ได้
ที่มา: boredpanda