แพทย์ผิวหนังชาวอังกฤษได้เคยทำการทดลองเกี่ยวกับผมหงอก และได้ผลลัพธ์สรุปออกมาพบว่า ผู้หญิงในวัย 50 ปี กว่า 50% ของประชากรโลก มีผมหงอกอย่างน้อย 50% ซึ่งการเกิดผมหงอกมักจะมีความสัมพันธ์กับสีผิว กล่าวคือคนที่มีผิวขาว จะเริ่มมีผมหงอกหลังจากอายุ 30 ปี
ส่วนผมคนเอเชียนั้นจะเกิดการหงอกเฉลี่ยที่อายุ 40 ปี และในคนผิวสีเข้มจะมีผมหงอกช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามบางคนอาจมีผมหงอกเกิดก่อนได้ในช่วงอายุ 20 หรือ 30 ปี ซึ่งจะมีสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ ในร่างกายเกี่ยวข้องด้วย
สาเหตุการเกิดผมหงอก
1. สาเหตุทางพันธุกรรม ซึ่งหากสมาชิกในครอบครัวมีผมหงอกตั้งแต่อายุยังน้อย คุณก็อาจจะเกิดได้เช่นกัน
2. ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ เนื่องจากฮอร์โมนบางชนิดที่ถูกสร้างด้วยต่อมไทรอยด์และเป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมไขมันซึ่งมีอยู่ทุกรูขุมขนทำงานผิดปกติ จึงมีผลต่อการเกิดผมหงอกได้
3. การขาดวิตามิน B และธาตุเหล็กในเลือด
4. การกินยาบางชนิดติดต่อกันก็อาจส่งผลต่อการเกิดผมหงอกได้
5. การขาดสารอาหารเช่น การขาดวิตามิน B12 ก็จะทำให้เกิดผมหงอก และหากขาดวิตามิน B5 ก็จะทำให้สีผมจางได้เช่นกัน
6. ความเครียด
7. เกิดจากการดื่มเหล้า และสูบบุหรี่เป็นประจำ
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผมหงอก
- หากถอนผมหงอกเป็นประจำจะทำลายผิวบริเวณรูขุมขน และอาจจะเกิดผมคุด และทำให้ผมบางลงได้
2. การถอนผมหงอกเป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราว เพราะหลังจากที่ดึงผมขาวออกแล้ว วงจรของรากผมจะรีเซ็ทตัวเอง และเส้นผมเส้นใหม่ก็จะขึ้นมาแทนที่ในตำแหน่งเดิม และก็ยังคงเป็นผมหงอกเช่นเดิม
3. จริงๆ แล้วผมหงอกไม่ได้มีสีเทาซะทีเดียว เนื่องจากเม็ดสีที่ลดลงบ้างก็จะโปร่งใส หรือมีสีออกเหลือง การเห็นเป็นสีเทานั้นเกิดจากภาพลวงตา ที่ได้รับผลกระทบจากแสงนั่นเอง
วิธีชะลอผมหงอกให้เกิดช้าลง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยเน้นกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน B12 B9 ทองแดง และเหล็ก
2. ตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่มีผลต่อการเกิดผมหงอกเช่น โรคไทรอยด์
3. นวดศีรษะเป็นประจำจะช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดี และทำให้เส้นผมมีสุขภาพดี
4. การตัดผมสั้น จะช่วยให้ดูแลเส้นผมได้ง่าย และทั่วถึงมากกว่าไว้ผมยาว
ที่มา: brightside