“ช่วงนี้อ้วนขึ้นหรือเปล่า?” คำทักทายแสลงหูที่ถึงแม้จะสนิทกันเพียงใดก็ไม่อยากได้ยินคำว่า ‘อ้วนขึ้น’ โดยเฉพาะกับสาวๆ ที่เป็นกังวลเรื่องน้ำหนักตัวและไม่ต้องการให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นแม้แต่น้อย
แต่กระนั้นชีวิตมันก็มักจะมีอยู่บางช่วงที่เรากินแบบโนสนโนแคร์ ซึ่งอาจเป็นเพราะความเครียด หน้าที่ทางสังคมที่ต้องร่วมงานสังสรรค์ หรือเหตุผลอื่นๆ แต่หากเราปล่อยตัวปล่อยใจให้กินต่อไปเรื่อยๆ แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบต่อน้ำหนักและรูปร่างของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้
มาดูกันดีกว่าว่านักวิทยาศาสตร์อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายมนุษย์ไว้อย่างไรหากว่าเราอวบขึ้น?
1. การรับรสชาติ
ดูเหมือนว่าที่เราน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นก็ว่าเพราะอาหารมันอร่อยมาก แต่นั่นก็ไม่จริงเสมอไป เพราะการศึกษาพิสูจน์ให้เห็นว่าความอ้วนท้วนทำให้การรับรู้รสชาติของเราลดลง 25% ซึ่งนั่นเป็นเหตุให้ผู้คนบริโภคอาหารมากขึ้นเนื่องจากพวกเขาต้องการสัมผัสรสชาติอาหารที่หลากหลายเหมือนที่เคยลิ้มลองจากอาหารจานโปรด
2. ไมเกรนมาเยือนบ่อย
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มโอกาสในการปวดหัวอย่างกะทันหัน จากรายงานของ American Migraine Foundation เผยว่าคนที่เป็นโรคอ้วนมักมีอาการไมเกรนเรื้อรังมากกว่าคนทั่วไป
แต่โรคอ้วนนั้นไม่ได้ทำให้เกิดไมเกรน เพียงแต่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือหมายความว่าโรคอ้วนทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรนนั่นเอง
3. คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
ร่างกายต้องการคลอเรสเตอรอลเพื่อสร้างเซลล์ที่แข็งแรง แต่การมีคอเลสเตอรอลในระดับที่สูงขึ้นจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และทำให้คอเลสตอเรอรอลในร่างกายสูงตามไปด้วย ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีไขมันสะสมในหลอดเลือดของคุณอีกด้วย
4. คุณอาจรู้สึกหดหู่มากขึ้นทุกวัน
จากการวิจัยพบว่ามันมีความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างภาวะซึมเศร้าและภาวะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เพราะมีผลกระทบทางจิตวิทยา และทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะในเพศหญิง
5. คุณอาจมีปัญหาในการตั้งครรภ์
หนึ่งในผลกระทบที่อันตรายที่สุดของน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสำหรับผู้หญิงคือความเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก โดยเนื้อเยื่อไขมันส่วนเกินจะนำไปสู่ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และมีผลต่อรอบเดือนรวมทั้งประสิทธิภาพของไข่
6. ปวดกล้ามเนื้อ
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การขาดวิตามินดีซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก ช่วยรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคมะเร็ง อาการปวดเรื้อรัง และต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า ดังนั้น คนที่ขาดวิตามินดีจึงมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลายแห่ง
7. เริ่มนอนกรนเสียงดัง
หลายคนคิดว่าความอ้วนคงกระจุกอยู่เพียงบางส่วนของร่างกาย ซึ่งจริงๆ แล้วมันกระจายไปทั่วทั้งร่าง รวมทั้งปรากฏอยู่ที่บริเวณคอหอยและลำคอ ทำให้ช่องทางอากาศแคบลง เป็นผลทำให้เริ่มนอนกรนเสียงดัง
8. นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง DNA
แม้ว่ายีนส์ของเราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในตลอดทั้งชีวิตนี้ แต่ด้วยไลฟ์สไตล์สามารถมีผลกระทบต่อยีนส์ได้ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสามารถเปลี่ยน DNA ของเรา และอาจมีผลกระทบที่เป็นอันตรายมากกว่าที่เห็น โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2
9. มีปัญหากับปัสสาวะบ่อย
นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคไต และมีสาเหตุมาจากภาวะน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
10. มีปัญหาเรื่องการหายใจ
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นสามารถเป็นต้นเหตุของการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ หรือเรียกว่าการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
11. บางครั้งเซลล์ก็กลายเป็นมะเร็งได้
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นการฟันธงว่าจะคุณเป็นมะเร็ง เพียงแต่ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นเอง การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้เช่นกัน
12. ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
สิ่งนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือสมองเสื่อม นอกจากนี้น้ำหนักส่วนเกินยังทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานด้วย
13. รู้สึกกังวลมากกว่าเดิม
หลายสิ่งหลายอย่างมีผลทำให้เกิดความวิตกกังวล แต่จากการศึกษาใหม่พบว่าโอกาสในการพัฒนาความกังวลอาจเพิ่มขึ้นตามปริมาณไขมันส่วนเกินในร่างกาย
ซึ่งนักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมีความวิตกกังวลมากกว่าเพื่อนที่ตัวผอม แต่เมื่อพวกเธอลดน้ำหนักอาการของความวิตกกังวลก็ลดตามไปด้วย ผู้หญิงก็เริ่มรู้สึกดีขึ้น ซึ่งการลดน้ำหนักนี้สามารถไปเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดการผลิตเซโรโทนินหรือที่เรียกว่า ‘ฮอร์โมนแห่งความสุข’ ออกมา
ถึงแม้ว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมีปัจจัยที่เห็นได้ชัดจากการบริโภคที่มากเกินไป และไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย แต่ทั้งนี้ยาบางชนิดที่กินเข้าไป ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และปัญหาต่อมไทรอยด์ ก็เป็นเหตุทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
ที่มา: brightside